บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
6.5K
4 นาที
31 พฤษภาคม 2560
มวยถูกคู่ บิ๊กซี Vs เทสโก้ โลตัส 
 
 
 
ภาพจาก  goo.gl/SM26qk , goo.gl/1GM1RB

ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) ในยุคนี้ ต้องนอมรับว่าเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ "บิ๊กซี" และ "เทสโก้ โลตัส" ซึ่งต่างงัดสารพัดแคมเปญออกมาเกทับบลัฟแหลกแบบไม่มีใครยอมใคร รวมถึงการเปิดตัวค้าปลีกโมเดลใหม่ และบริการใหม่ ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็มักใจตรงกันบ่อยครั้ง
 
ไม่ว่าจะเป็นร้าน “เอ็กซ์ตร้า” ซึ่งบิ๊กซีชิงเปิดตัวตัดหน้าโลตัสที่อยู่ระหว่างปรับปรุงร้านในฝั่งตรงข้าม ในสาขาพระราม 4 หรือ “ออนไลน์ ช็อปปิ้ง” อีกโมเดลที่เทสโก้มีแผนที่จะเปิดตัว หลังเห็นความสำเร็จของบริษัทแม่ที่อังกฤษ และเกาหลี แต่ก็ยังช้ากว่า "บิ๊กซี" ซึ่งชิงตัดหน้าเปิดตัวออนไลน์ ช็อปปิ้ง บนแพลตฟอร์มต่างๆ
 
แต่หากย้อนกลับไป เราก็จะพบว่าเกมการแข่งขันและต่อสู้กันสะบั้นหั่นแหลกที่ถือเรื่องใหญ่ ถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลที่ดูท่าจะเป็นหนังม้วนยาว กรณีคำตัดสินของศาลแพ่งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ให้เทสโก้ โลตัส ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่บิ๊กซีเกือบ 4 ล้านบาท จากคดีที่บิ๊กซียื่นฟ้องโลตัส กรณีนำสัญลักษณ์ เครื่องมือ และกลไกทางการตลาดของบิ๊กซีและคาร์ฟูร์ ไปใช้จัดทำโฆษณาและแคมเปญส่งเสริมการขายโดยมิชอบเพื่อสร้างรายได้และฐานลูกค้า
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ของมวยถูกคู่ แห่งวงการค้าปลีกสมัยใหม่ของไทย ระหว่าง บิ๊กซี และ เทศโก้ โลตัส จะถึงพริกถึงขิงมากแค่ไหน เชิญดูพร้อมๆ กันเลยครับ 

กลยุทธ์ธุรกิจบิ๊กซี 

 
ภาพจาก goo.gl/NHbgXo

“บิ๊กซี” ถือเป็นแบรนด์ค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรดในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต ที่คุ้นเคยกับคนไทยมาเป็นระยะเวลา 24 ปีแล้ว จุดเริ่มต้นของการเข้ามาก็เมื่อปี 2536 โดยมีกลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ต่อมาในปี 2537 ทำการเปิดสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ หากใครจำได้ช่วงนั้นบริเวณแจ้งวัฒนะและใกล้เคียง มีการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดจำนวนมาก 
 
ทั้งบิ๊กซี โลตัส บิ๊กคิงส์ในตอนนั้น มีของที่จำหน่ายในเซ็นทรัลเข้าไปจำหน่ายในบิ๊กซีด้วย แต่ต่อมาจนกระทั่งถึงปี 2540 ซึ่งเกิดวิกฤติขึ้นกับหลายผู้ประกอบการในไทย ส่งผลให้บริษัท Casino Guichard-Perrachon ผู้ประกอบการค้าปลีกจากฝรั่งเศส ได้เข้ามาเพิ่มทุนและก็กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน พ.ศ.2542
 
 
ภาพจาก goo.gl/5AhgMS
 
หลังจากนั้นจุดเปลี่ยนของบิ๊กซีก็เกิดขึ้นอีกครั้ง จากการที่บริษัท Casino Guichard-Perrachon ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดให้กับ บริษัท ทีซีซี กรุ๊ป จำกัด ของ “นายเจริญ สิริวัฒนภักดี” หรือคนไทยมักเรียกกันว่าเสี่ยเจริญเจ้าของเบียร์ช้าง 
 
หนึ่งในเศรษฐีลำดับต้นๆ ของเมืองไทย ผู้มีศักยภาพทางการเงินมากเพียงพอจะซื้อหุ้นของบิ๊กซีในครั้งนี้ เบียดกลุ่มเซ็นทรัลที่อาจมีกำลังเงินมากไม่แตกต่างกันนัก แต่กระนั้นเสี่ยเจริญจะไม่ยอมพลาดเหมือนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อคาร์ฟูร์และแมคโคร ตั้งใจไว้ว่าดีลนี้ยังไงก็ต้องสำเร็จ
 
ปฏิเสธไม่ได้ว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของบิ๊กซี มาจากการเข้าซื้อกิจการจากคาสิโน กรุ๊ป มาเป็น ทีซีซี คอร์เปอเรชั่น ในเครือ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” ซึ่งมีอาณาจักรธุรกิจคลุมอยู่ทั้งการผลิตสินค้าอุปโภค อาหาร เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ รวมถึงค้าปลีกอาทิ พันธ์ทิพย์ พลาซ่า ศูนย์การค้าเกตเวย์เอกมัย ดิจิทัลเกตเวย์ เอเชียทีค ฯลฯ ค้าส่ง เอ็ม เอ็ม เมก้า จ.หนองคาย
 
จากฐานธุรกิจที่กว้างขวางทำให้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนบิ๊กซี ถูกวางให้มุ่งไปในเชิงการซินเนอร์ยี่ (Synergy) ทั้งในแง่ของการเป็นช่องทางการจำหน่ายหลักของสินค้าในเครือ ซึ่งจะทำให้เปรียบในแง่ของต้นทุนการวางจำหน่าย รวมถึงการนำบิ๊กซี เข้าไปอยู่ในพื้นที่ค้าปลีกอื่นๆ อาทิ การเข้าไปเปิดสาขาในพันธ์ทิพย์ เชียงใหม่
 
 
ภาพจาก goo.gl/GzSvvJ
 
ในส่วนของบริษัทในเครืออย่างบีเจซี อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายเฉพาะในบิ๊กซี เริ่มจากการสั่งผลิตกระดาษชำระ “บิ๊กซี” รวมถึงการทดลองจำหน่ายไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟบางสาขาในมินิบิ๊กซีและวางแผนนำแคทิกอรี่อื่นๆ ทยอยตามมา อาทิ น้ำยาล้างจานโยเกิร์ต เพื่อสร้างความได้เปรียบตามนโยบายการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
 
จากกลยุทธ์ผนึกกำลังบิ๊กซี จึงเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าของธุรกิจในเครือได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบในด้านต้นทุนการกระจายสินค้าได้ดี ส่วนผู้บริโภคจะมีผลพลอยได้ในแง่ของการซื้อสินค้าราคาต่ำลงหรือไม่นั้นยังไม่ชัดเจน
 
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของบิ๊กซี ในปี 2560 มีแผนที่จะใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อการลงทุนเปิดห้างบิ๊กซีฯ สาขาใหม่ โดยในส่วนของฟอร์แมต ที่จะเน้นการขยายสาขาใหม่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในปี 2560 ยังคงเป็นในส่วนของร้านมินิบิ๊กซี เจาะเข้าถึงกลุ่มชุมชนต่างๆ เนื่องจากใช้พื้นที่ไม่มากเมื่อเทียบกับประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยปี 2560 มีแผนขยายสาขาใหญ่ 9-10 สาขา สาขากลางไม่ถึง 10 สาขาและเล็ก 200-400 สาขา 
 
กลยุทธ์ธุรกิจเทสโก้ โลตัส 

 
ภาพจาก goo.gl/Hpk0ob

บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (Ek-Chai Distribution System Co., Ltd.) เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2537 เพื่อดำเนินธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hypermarket) โดยใช้ชื่อว่า “ห้างโลตัส” (Lotus Supercenter) เปิดให้บริการสาขาแรกที่ศูนย์การค้าซีคอนแสควร์ บนถนนศรีนครินทร์
 
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541-2543 เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในภูมิภาคเอเชีย จนกลายเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ทำให้ร้านค้าปลีกในประเทศไทยประสบปัญหาทางการเงิน และมียอดขายลดลงประมาณร้อยละ 20 ถึง 30
 
จากสถานการณ์ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2541 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มเทสโก้จากสหราชอาณาจักร อันนำไปสู่การสร้างธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่ภายหลังการเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ จากจุดเริ่มต้นนี้เองที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จนกลายเป็น “เทสโก้ โลตัส” จวบจนปัจจุบัน
 

 
ภาพจาก goo.gl/zXq5AU
 
ปีพ.ศ. 2554 เทสโก้ โลตัส เปิดตัวสาขารูปแบบใหม่ “เอ็กซ์ตร้า” บนถนนพระราม 4 ในเดือนกรกฎาคม เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชีย ด้วยเงินลงทุนกว่า 300 ล้านบาท สิ่งที่บ่งบอกความเป็น เอ็กซ์ตร้า ได้ชัดเจนคือ การเพิ่มร้านค้า เพิ่มสินค้าใหม่ และยกระดับการบริการ ทั้งหมดนี้ในราคาเทสโก้ โลตัส 
 
โดยได้ทำการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง แล้วนำมาพัฒนาให้เป็นสาขารูปแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเก่า พร้อมทั้งเชิญชวนลูกค้าใหม่ได้ในเวลาเดียวกัน
 
ปีพ.ศ. 2556 เปิดตัวบริการ “เทสโก้ โลตัส ช็อป ออนไลน์” เพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ด้วยบริการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์พร้อมบริการส่งสินค้าถึงบ้านตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ 
 
เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.tescolotus.com เมนู ช็อปออนไลน์ เพื่อลงทะเบียน โดยมีสินค้ามากกว่า 20,000 รายการ ซึ่งครอบคลุมทั้งสินค้าทั่วไปและสินค้าประเภทอาหารซึ่งรวมทั้งอาหารแห้ง อาหารสด อาหารแช่เย็น และอาหารแช่แข็ง
 
ที่ผ่านมากลยุทธ์การเพิ่มสาขาของเทสโก้ โลตัส ถือเป็นไฟล์บังคับในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตามทิศทางการขยายตัวของเมืองและชุมชน แต่ด้วยการรุกเข้าของมินิซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อซึ่งแทรกตัวเข้าสู่ชุมชน
 
ทำให้การซื้อสินค้านั้นง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องเดินทางและสามารถซื้อสินค้าน้อยชิ้นเท่าที่จำเป็นได้และซื้อได้บ่อย รวมถึงช่องทางอี-คอมเมิร์ซที่กำลังได้รับการตอบรับมากขึ้นทุกขณะ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการลดความถี่ในการเข้าไปซื้อสินค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเทสโก้ โลตัส เองมองเห็นและตั้งการ์ดรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้มาตามลำดับ 
 
เช่น การปรับแนวคิดด้านการบริหารจัดการพื้นที่ขายใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะวางตำแหน่งธุรกิจให้สะท้อนการเป็นไลฟ์สไตล์ มอลล์ มากขึ้น ผ่านการสร้างสมดุลระหว่างบริการด้านไลฟ์สไตล์ อาทิ ร้านอาหาร สินค้าแฟชั่น โรงภาพยนตร์ ฯลฯ กับพื้นที่ไฮเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้เทสโก้ โลตัส เป็นมากกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ต
 
 
ภาพจาก goo.gl/A1WrpF
 
การสร้างความแตกต่างของเทสโก้ โลตัส ครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มแรงดึงดูดในการเข้ามาใช้บริการ  ทำให้ลูกค้าใช้เวลาในพื้นที่มากขึ้น  ที่สำคัญเป็นโอกาสในการสร้างรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรายได้ที่สำคัญที่มีความแน่นอน ใช้เงินทุนลงทุนน้อยกว่า แต่ได้กำไรมากกว่ารายได้จากการซื้อมา-ขายไป
 
อีกด้านหนึ่งคือเทสโก้ โลตัส ได้พยายามสร้างจุดขายที่สำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจในมิติของการเป็นส่วนหนึ่งสังคมเกษตรของไทยอย่างจริงจัง ภายใต้แนวคิดสร้างความยั่งยืนทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งเกษตรกรและแบรนด์เทสโก้ โลตัส
 
ด้วยศักยภาพและโอกาสธุรกิจของไทย เทสโก้ โลตัส ผู้บริหารเทสโก้ โลตัสเชื่อว่าจะยังสามารถขยายสาขาในระดับไม่ต่ำกว่า 100 สาขาต่อปี ต่อเนื่อง 3-5 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ เทสโก้ โลตัส เปิดสาขาใหม่เฉลี่ย 100 แห่งต่อปี ภายใต้งบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นช่วง 3-5 ปี จะมีสาขาเปิดใหม่ของเทสโก้ โลตัส 300-500 สาขาทั่วประเทศ 
 
ปัจจุบันเทสโก้ โลตัส มีเครือข่ายสาขากว่า 1,947 แห่ง ใน 73 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งเป้าสิ้นปี 2560 มีจำนวนสาขา 2,000 แห่ง การขยายสาขาส่วนใหญ่เน้นในเขตภาคกลางและอีสาน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงจากการขยายโครงการคมนาคมของภาครัฐ เน้นเตรียมเปิดร้านค้าปลีกขนาดใหญ่รูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต 11 แห่ง และอีก 90 สาขา เป็นร้านค้าปลีกขนาดกลางและเล็ก เน้นรูปแบบ ตลาดโลตัส และเอ็กซ์เพรส นอกจากนี้มีแผนปรับปรุง 18 สาขาเก่า 
 
ในอดีตที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าหัวใจการอยู่รอดของไฮเปอร์มาร์เก็ตอยู่ที่ ”ราคาต่ำ” ซึ่งเคยใช้มัดใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามสภาพสังคมและเทคโนโลยี ประกอบกับบริบทของตลาดค้าปลีกที่มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ
 
ดังนั้น การตอบโจทย์ของไฮเปอร์มาร์เก็ต ณ ขณะนี้จึงต้องมากกว่า “ราคา” แต่มองไกลทะลุให้ถึงไลฟ์สไตล์ ความสะดวกสบาย รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์เหล่านี้ นับว่าเป็นปัจจัยที่ทั้งเทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี กำลังวางเกมขับเคี่ยวอย่างหนักเพื่อชิงความได้เปรียบในเกมค้าปลีกที่กำลังร้อนแรงครับ

ตารางเปรียบเทียบมวยถูกคู่ บิ๊กซี Vs เทสโก้ โลตัส

 
บิ๊กซี
เทสโก้ โลตัส
ปีที่ก่อตั้ง
2536 
2537  
ผู้บริหารงาน
กลุ่มเสี่ยเจริญ (เบียร์ช้าง)
บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เครือซีพี)
จำนวนสาขา
761 สาขา
 1,947  สาขา
งบลงทุนต่อปี
10,000 ล้านบาท
7,000 ล้านบาท
รูปแบบขยายสาขา
มินิบิ๊กซี
โลตัส เอ็กซ์เพรส
 
อ่านบทความเกี่ยวกับแฟรนไชส์ goo.gl/BbyxUk 
อ่านบทความธุรกิจ SMEs goo.gl/PJQQvG
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/323Te9
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
749
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด