บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.4K
2 นาที
12 กรกฎาคม 2560
วิธีการทำธุรกิจ Co-Working Space ให้มีรายได้งามๆ ทั้งเจ้าของและลูกค้า 

 
ภาพร้านกาแฟที่เต็มไปด้วยนักเรียนนักศึกษานั่งทำ Project หนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่นั่งทำงานหน้าโน้ตบุ๊ก และกลุ่มคนทำงานที่มานั่งประชุมย่อย ดูจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน นี่ไม่ใช่แค่ภาพสะท้อนไลฟ์สไตล์คนทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังสะท้อน Demand ความต้องการในธุรกิจออฟฟิศคอนเซ็ปต์ใหม่ ที่หลายคนคุ้นหูกับชื่อ Co-Working Space
 
เรียกว่าเป็นเทรนด์ของเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการทำงานอิสระ หลายคนจึงออกจากงานประจำไปเป็น “Freelance” รับทำงานตามโปรเจกต์หรือชิ้นงาน และอีกจำนวนไม่น้อยมองหาลู่ทางเพื่อสร้างธุรกิจตัวเอง บวกกับเทคโนโลยีสื่อสารที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ คนทำงานอิสระเหล่านี้จึงมักไปแฝงตัวอยู่ตามร้านกาแฟ 
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขออิงกระแสการสนับสนุนส่งเสริม Start Up ของรัฐบาล พาท่านผู้อ่านไปดูว่า วิธีการทำธุรกิจ Co-Working Space สถานที่นั่งทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ให้ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้งามๆ ให้กับผู้ลงทุน ทำกันอย่างไรบ้าง ที่สำคัญธุรกิจ Co working space จะได้การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี จากรัฐบาลอีกด้วย 
 
1. ทำเลดี ตกแต่งสวยงาม สิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน

 
การที่ Co-working Space ตั้งอยู่บนทำเลที่ดี เดินทางง่าย เช่น ใกล้รถไฟฟ้า อยู่กลางใจเมือง มีที่จอดรถ รวมทั้งสถานที่กว้างขวางไม่อุดอู้ ตกแต่งสวยงาม บรรยากาศช่วยน่านั่งทำงาน รวมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะเก้าอี้ที่นั่งสบาย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แม้ต้นทุนจะสูงสักหน่อย และการคืนทุนและได้กำไรต้องใช้เวลาหลายปี 
 
แต่ปัจจัยเหล่านี้ก็ทำให้ฟรีแลนซ์ และ Startup แห่กันมาใช้บริการ มาสร้างคอนเนคชั่น และนั่งทำงานกันไม่ขาดสาย ทางที่ดี เจ้าของ Co-working Space ก็อย่าลืมที่จะหารายได้ทางอื่นด้วย เช่น เป็นเจ้าของ Startup อะไรเพิ่ม เพราะนอกจากจะได้รายได้จาก Co-working Space แล้ว ยังได้โอกาสหาคอนเนคชั่นคนมาช่วยทำงานอีกด้วย
 
2. Concept โดน ชัดเจน ตรงกลุ่มเป้าหมาย 

 
Co-working Space ควรมีคอนเซ็ปต์ชัดเจน ตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ออกแบบเพื่อสาย Workshop สาย Design หรือสาย Fintech คอนเซ็ปต์จะเป็นสิ่งที่ช่วยตีการออกแบบและตกแต่งสถานที่ เช่น การออกแบบแนว Loft จะเหมาะกับผู้ใช้บริการที่อยู่ในสาย Design หรือออกแบบให้มีห้องประชุมและอุปกรณ์ทันสมัย 
 
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สำหรับ Startup สาย Fintech เพราะการชัดเจนในคอนเซ็ปต์สำหรับผู้ใช้บริการ จะเป็นการสร้าง Royalty ให้กับผู้ใช้บริการได้ดี เมื่อเขารู้ว่ามาที่นี่แล้วเหมาะกับตนเอง ก็จะมาสมัครและใช้บริการรายปี
 
3. ค่าบริการ โปรโมชั่น สมเหตุสมผล มีกิจกรรมสร้าง Connection ต่อเนื่อง

 
สำหรับฟรีแลนซ์ และ Startup ที่มาใช้บริการ Co-working Space มักจะหาข้อมูลเปรียบเทียบหลายๆ ที่ ทั้งในเรื่องคอนเซ็ปต์ของสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก การเดินทาง และที่สำคัญ “ค่าบริการ” ที่ควรมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งแบบ 1 Day เพื่อการทดลอง หรือระยะยาวแบบ 3-12 เดือน พร้อมส่วนลดที่น่าพอใจ 
 
อีกทั้งยังมีกิจกรรมสร้าง Connection และความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายมากมาย เช่น Workshop สำหรับ Designer หรือ Programmer และไม่ลืมที่จะใช้การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดีย ความครบครันแบบนี้ รับรองว่า ชาวฟรีแลนซ์ และ Startup ก็จะพร้อมใจกันมาใช้บริการและบอกต่อ กด Invite เพื่อนแน่นอน
 
4. ให้บริการ ต้อนรับ รองรับ ลูกค้าที่ประทับใจ 

 
Co-working Space หลายเจ้าที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่มักจะไกลแหล่งอาหารการกิน ซึ่งแตกต่างจากออฟฟิศโดยทั่วไป ที่ร้านค้าร้านอาหารมักจะรู้ว่าแถวนั้น มีพนักงานออฟฟิศ จึงเลือกจะมาเปิดร้านกันมากมาย อีกสิ่งหนึ่งที่ Co-working Space จะเพิ่มบริการมาเติมช่องโหว่ตรงนี้ได้ คือ บริการรับสั่งอาหาร อาจจะเก็บค่าบริการเพิ่มคนละ 10-20 บาท คล้ายๆ บริการ Delivery ส่งอาหารนั่นเอง 
 
หรืออาจจะปรับเพิ่มให้มีอาหารง่ายๆ เช่น แซนด์วิช รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟต่างๆ เพราะสิ่งที่ขาดไม่ได้ของฟรีแลนซ์ และ Startup ก็คือ กาแฟนั่นเอง เพิ่มรายได้ให้เจ้าของ Co-working Space และไม่ขัดจังหวะการทำงานของผู้ใช้บริการ สร้างสรรค์งาน สร้างรายได้ สร้างคอนเนคชั่นได้ไม่ติดขัด
 
ทั้งหมดเป็นวิธีการทำธุรกิจ Co-working Space ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งเจ้าของธุรกิจและลูกค้าที่เป็น Start Up และบรรดาฟรีแลนซ์ต่างๆ ก็จะได้รับความพึงพอใจ มีการบอกต่อเพื่อนๆ ให้มาใช้พื้นที่ทำงาน

ยิ่งปัจจุบันรัฐบาลให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ Co working space ด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี การทำธุรกิจนี้ก็นับว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย แม้ว่ารายได้อาจไม่สูงเหมือนการทำธุรกิจอื่นๆ แต่ถ้าสร้างเครือข่าย บอกต่อคนในสังคมได้มากทีเดียว 
 
อ่านบทความ SMEs goo.gl/R8cBXp
 

Tips
  1. ทำเลดี ตกแต่งสวยงาม สิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน
  2. Concept โดน ชัดเจน ตรงกลุ่มเป้าหมาย 
  3. ค่าบริการ โปรโมชั่น สมเหตุสมผล มีกิจกรรมสร้าง Connection ต่อเนื่อง
  4. ให้บริการ ต้อนรับ รองรับ ลูกค้าที่ประทับใจ 
อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/NEzFU6
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,702
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,322
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
522
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
521
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
465
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด