บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.5K
2 นาที
27 พฤศจิกายน 2560
8 ต้นทุนที่มองไม่เห็น! แต่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้
 

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่าในช่วงต้นปี 2560 มีการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ทั่วประเทศกว่า 5,751 ราย เพิ่มจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2559 จำนวน 153 ราย แต่ในส่วนตัวเลขของผู้ที่ยกเลิกการจดทะเบียนนั้นก็มีเช่นกันตัวเลขอยู่ที่ 657 รายมูลค่าภาพรวมของธุรกิจที่ตั้งใหม่ในไตรมาสแรกของปี 2560จึงอยู่ที่ 26,989 ล้านบาท
 
แต่สิ่งที่ www.ThaiFranchiseCenter.com มองถึงคือการเลิกกิจการของผู้ประกอบการบางรายที่บางครั้งไม่ได้เกิดจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดีแต่บางทีธุรกิจก็มีต้นทุนที่ผู้ประกอบการบางรายมองไม่เห็นเป็นผลทำให้ธุรกิจนั้นไปไม่รอดลองมาดู8ต้นทุนที่ว่านี้กัน
 
1.ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงินลงทุน
 

เป็นเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องมีการกู้ยืมเงินยิ่งธุรกิจใหญ่วงเงินก็ยิ่งสูง ผู้ประกอบการบางรายอาจขาดสภาพคล่องในการบริหารจัดการเรื่องนี้ ยิ่งเป็นผู้ลงทุนใหม่ที่ไม่มีการจัดทำระบบบัญชีอย่างมีคุณภาพ หรือบางทีผู้ประกอบการอาจมีเครดิตไม่ดีพอดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้จะสูงกว่าปกติ เมื่อดอกเบี้ยสูง รายจ่ายในการเริ่มต้นก็สูง เป็นภาวะเสี่ยงต่อการเลิกกิจการได้
 
2.เงินเดือนพนักงาน 
 

 
จากงานวิจัยของ Joseph G. Hadzima Jr. of the MIT Sloan School of Management ต้นทุนเงินเดือนของพนักงานหนึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 1.25 ถึง 1.4 เท่า ของที่บริษัทต้องจ่าย ซึ่งส่วนที่เพิ่มมานั้นมาจาก ภาษี ผลตอบแทนชดเชย ค่าประกัน วันหยุด วันลา รวมไปถึง โบนัส สมมุติถ้าบริษัทมีพนักงานเงินเดือน 20,000 บาท 3 คน ต้นทุนหนึ่งปีคำนวณได้ 20,000 x 3 x 12 = 720,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายจริงๆ จะมากกว่านั้น 1.2 เท่า จะเท่ากับ 864,000 บาท ซึ่งมากกว่าที่คุณคำนวณตอนแรกถึง 142,000 บาท 
 
3.สินค้าที่หายไป


เป็นปัญหาของการค้าปลีกที่เสี่ยงต่อสินค้าหายได้ตลอดเวลา และทุกชิ้นที่หายก็หมายถึงต้นทุนที่เราต้องแบกรับ ในสหรัฐฯ มีการคาดการณ์ว่ามีของหายแล้วจับไม่ได้ถึง 6% หรือคิดเป็น 45,000 ล้านเหรียญในสหรัฐฯ ทุกๆ ปี การที่ธุรกิจจะหาทางจัดการกับเรื่องนี้ก็เป็นความสำคัญที่จำเป็นเช่นกัน
 
4.ต้นทุนจากประกันด้านต่างๆ
 

ธุรกิจที่ดีต้องวางแผนเผื่อเรื่องนี้ให้ครอบคลุมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจเราอาจไม่ต้องเสียค่าประกันมากมายแต่เมื่อธุรกิจเริ่มมีชื่อเสียง รายได้มากขึ้น การประกันด้านต่างๆ ก็จำเป็นไม่ว่าจะเป็นประกันธุรกิจ ประกันหนี้สิน ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันทรัพย์สิน แต่ทุกการประกันก็คือรายจ่ายของธุรกิจหากวางแผนเรื่องนี้ไม่ดีงานนี้ก็มีจุกได้เหมือนกัน

5.ข้อพิพาททางธุรกิจ

 
การเกิดปัญหาระหว่างการทำธุรกิจเป็นรายจ่ายที่ไม่มีใครอยากเสียเพราะการจ้างทนายแต่ละครั้ง การขึ้นศาลตัดสินคดีความ รวมถึงการเดินเรื่อง นั้นหมายถึงต้นทุนจำนวนมาก บางครั้งการยอมจบหรือไกล่เกลี่ยจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่โดยไม่จำเป็น 
 
6.ภาษีภาคธุรกิจ
 

ใครที่ก้าวมาเป็นนายตัวเองจะรู้ว่าแต่ละเดือนภาษีภาคธุรกิจนั้นไม่ธรรมดา บางทีถึงกับเรียกว่ายุ่งยากได้ทีเดียวทางที่ดีควรจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีมาจัดการในเรื่องนี้ ยิ่งธุรกิจโต ภาษียิ่งมาก หนทางที่ดีที่สุดคือต้องลดหย่อนภาษีจะช่วยได้มาก

7.ค่าธรรมเนียม และใบอนุญาต 

 
ในการทำธุรกิจให้ถูกต้องมีกฎหมายมารองรับมากมายและต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานในแต่ละสาขาและหากทำผิดไปจากกฏหมายระบุก็หมายถึงการโดนปรับที่ทำให้เสียเงินจำนวนมากเช่น มีร้านอาหารแต่ทำคราฟต์เบียโดยไม่แจ้ง ซึ่งเขาก็มีกฏข้อห้ามในเรื่องปริมาณและการบรรจุ ที่อาจทำให้โดนได้ทั้งโทษปรับและจำคุก ซึ่งเป็นปัญหาของธุรกิจที่อาจไม่เคยรู้

8.ค่าอุปกรณ์สำนักงาน


แม้จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการมองว่าเป็นต้นทุนเล็กน้อยแต่พอรวมๆกันก็ไม่น้อยนักกับอุปกรณ์ทั้ง  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ เครื่องเขียน ทิชชู่ น้ำดื่ม ซึ่งรวมๆ แล้วก็อาจเป็นหลักพัน หลักหมื่นได้เหมือนกัน ยังไม่รวมกับค่าเสื่อมสภาพและการปรับปรุงให้ทันยุคสมัยซึ่งหากไม่มีการวางแผนการใช้เงินส่วนนี้รับรองว่ามีปัญหาเหมือนกัน
 
ต้นทุนที่เหมือนกับเป็นการล่องหนเหล่านี้อาจจะไม่ได้ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่ามีผลกระทบกับธุรกิจอย่างไรยิ่งในธุรกิจที่โตวันโตคืนมีรายได้ดีเรื่องพวกนี้แทบไม่อยู่ในหัวแต่วันใดก็ตามที่ธุรกิจมีปัญหาก็มักจะมองย้อนลงมาและเจอรอยรั่วต่างๆที่ว่านี้ ทางที่ดีกันไว้จะได้ไม่ต้องตามแก้เพราะบางทีแก้ไขมันก็ไม่ทันแล้ว
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณข้อมูลจาก goo.gl/HfgND4
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด