บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
7.6K
2 นาที
19 กรกฎาคม 2554

วิถีผู้นำแห่งเอเชีย

ไม่กี่วันผ่านมา มีโอกาสรับเชิญจากบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป ให้เข้าไปร่วมรับฟังสัมมนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่เมืองออร์ลันโด มลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกางานมีชื่อว่า "ASTD 2011 International Conference & Exposition"

ส่วนหัวข้อที่ผมมีโอกาสไปนั่งฟังคือ "Leading an Asian Way" ซึ่งมี "อริญญา เถลิงศรี" และ "เจมส์ อี. เอ็นเกล" สองผู้บริหารระดับสูงของเอพีเอ็ม กรุ๊ป เป็นผู้บรรยาย งานสัมมนา ASTD 2011 เป็นงานสัมมนาที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่สหรัฐอเมริกา แต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามมลรัฐต่างๆ

กล่าวกันว่า ASTD เป็นคำย่อที่มาจากคำว่า American Society for Training & Development ที่เริ่มต้นจากองค์กรเล็กๆ ทำงานเพียงไม่กี่คน แต่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการขยายองค์ความรู้จากสิ่งที่ตัวเองมี แล้วนำไปขยายต่อให้กับเหล่าบรรดาเพื่อนสมาชิก สมาชิกจะมาจากองค์กรต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ธุรกิจการเงินการธนาคาร ธุรกิจรถยนต์ ธุรกิจยา รวมๆ แล้วกว่า 100 องค์กรที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา

ทั้งสมาชิกของ ASTD ยังส่งผู้บริหารระดับสูงมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้กับเหล่าบรรดาเพื่อนสมาชิกด้วย ทั้งนั้นเพราะ ASTD มุ่งส่งเสริมให้บุคลากรของประเทศอุดมไปด้วยองค์ความรู้

เพราะเมื่อมีองค์ความรู้ นอกจากจะช่วยพัฒนาองค์กรของตัวเอง หากยังช่วยพัฒนาประเทศในอีกทางหนึ่งด้วย ผลเช่นนี้ จึงทำให้ ASTD เริ่มมีชื่อเสียงในทวีปยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งในทวีปเอเชีย จนมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหลายประเทศทั่วโลก

ฉะนั้น ต่อบทบาทของ ASTD เช่นนี้เอง จึงทำให้งานสัมมนาครั้งนี้จึงต่างเต็มไปด้วยผู้เข้าร่วมรับฟังกว่า 10,000 คนทั่วโลก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาจากเอเชียมากที่สุดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ยุโรป 20 เปอร์เฃ็นต์ และจากมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาอีกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

เฉพาะต่อฟอรั่มเรื่อง "Leading an Asian Way" มีผู้เข้าร่วมรับฟังพอสมควร ทั้งนั้นเพราะผู้คนจากโลกฝั่งตะวันตก เริ่มตระหนักแล้วว่าทฤษฎีการบริหารจากฝั่งตะวันตก เริ่มมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เพราะมัวแต่สนใจเรื่องของกระบวนการสร้างภาวะผู้นำ ขณะเดียวกัน ก็มัวแต่สนใจแต่เรื่องของกระบวนการสร้างทักษะ และความสามารถ และกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์แบบสุดโต่งจนเกินไป

ขณะที่โลกจากฝั่งตะวันออก ผู้นำกลับสนใจเรื่องของคุณธรรมน้ำมิตร เรื่องของใจ และการให้โอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน

"อริญญา" บอกว่า มูลเหตุต่างๆ เหล่านี้ เมื่อทำการสำรวจ และเก็บข้อมูลจากผู้บริหารในประเทศ และต่างประเทศที่ทำงานอยู่ในเอเชีย พบว่ามีความท้าทายเกิดขึ้น 6 ประการต่อผู้บริหารจากฝั่งตะวันตกที่จะเข้ามาบริหาร หรือทำงานในเอเชีย

  1. การสร้างความรู้จักกัน และสัมพันธ์อันดี
  2. การสร้างความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง
  3. การเข้าใจความสลับซับซ้อนอย่างลงลึก
  4. ความแตกต่างระหว่างการสื่อสารที่อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน
  5. ระบบตรวจสอบ และติดตามในการทำกลยุทธ์
  6. ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงเร็ว

เฉพาะเรื่องของการสร้างความรู้จักกัน และสัมพันธ์อันดี "อริญญา" อธิบายเพิ่มเติมให้ฟังว่า เพราะผู้นำจากหลายๆ ประเทศต่างตระหนักว่าการที่จะนำองค์กรในเอเชีย จะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนที่จะนำ หรือเพื่อนร่วมงานเสียก่อน

"เพราะบางชาติชอบรับประทานอาหารไป คุยธุรกิจไป ขณะที่บางชาติในเอเชียชอบดื่มไป คุยไป ดังนั้น เราในฐานะผู้นำจึงต้องทำการบ้านให้ดี และต้องเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และจากที่ดิฉันเก็บข้อมูลจากผู้บริหารหลายแห่งที่ทำธุรกิจในเอเชีย พบว่า องค์กรเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีก่อนคุยเรื่องธุรกิจ"

ส่วนเรื่องการสร้างความไว้วางใจอย่างต่อเนื่อง "อริญญา" อธิบายว่า การสร้างความไว้วางใจ ไม่ใช่เราไปสร้างความสัมพันธ์เพียงครั้งเดียว แล้วจะแปลว่าเกิดความไว้วางใจ เพราะการไว้ใจหัวหน้างาน และลูกน้อง ต้องใช้เวลา

"ดังนั้น การที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดี พบปะร่วมโต๊ะกันหลายครั้ง ไม่ได้แปลว่าทั้ง 2 ฝ่ายเกิดความไว้ใจกัน เพราะความไว้ใจต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเชื่อถือระหว่างกัน รับฟังความคิดเห็นกัน เปิดโอกาสให้โต้แย้ง และตัดสินใจด้วยตัวเอง ที่สำคัญจะต้องไม่ทำให้ลูกน้อง หรือเจ้านายเสียหน้า"

ขณะที่เรื่องการเข้าใจความสลับซับซ้อนอย่างลงลึก "อริญญา" บอกว่า องค์กรจากฝั่งตะวันตกเคยชินกับการใช้มุมมองแบบเดิมๆ ที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต แต่ในเอเชียมีอะไรมากกว่านั้น

"เพราะองค์กรไม่สามารถมองอะไรแค่ด้านเดียว ดังนั้น วิธีการทำงาน วิธีการเข้าหาลูกค้า กระบวนการ ระเบียบ โครงสร้าง จึงต้องใช้การมองแบบองค์รวม หรือ systemic approach"

นอกจากนั้น ในเรื่องของความแตกต่างระหว่างการสื่อสารที่อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน "อริญญา" มองว่า ผู้บริหารต้องพยายามเข้าใจมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน และต้องมองลึกลงไปถึงสิ่งที่ไม่ได้พูดออกมา

"ดังนั้น การสื่อสารจึงต้องอาศัยการสังเกต และต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดี และไว้ใจกันและกัน ตรงนี้ผู้นำ หรือหัวหน้างานต้องเป็นคนใจกว้าง เปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้ลูกน้องเกิดความกล้าที่จะสื่อสารอย่างเต็มเปี่ยม"

ส่วนเรื่องระบบตรวจสอบ และติดตามในการทำกลยุทธ์ "อริญญา" มองว่า คนเอเชียเป็นบุคลากรชั้นเยี่ยมในการปฏิบัติกลยุทธ์ที่หลายชาติยอมรับ แต่จะต้องทำให้เกิดความเชื่อก่อน

"เพราะถ้าไม่เห็นด้วย ไม่ได้เชื่อจริงๆ ว่ากลยุทธ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ หรือไม่สามารถทำกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้กลยุทธ์จะดีแค่ไหน ก็ต้องมีระบบตรวจสอบ และติดตามผลที่ดีควบคู่ไปด้วย"

ขณะที่เรื่องทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงเร็ว "อริญญา" มองว่า เรื่องของเจเนอเรชั่นในเอเชียเป็นประเด็นสำคัญ และมีผลมาก เช่น เรื่อง Generation Y ที่เข้ามา จนทำให้หลายๆ อย่างในเอเชียมีความซับซ้อนมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น"

"เพราะทุกอย่างมาเร็ว และไปเร็ว ผู้นำจึงต้องปรับตัว และทบทวนแผนกลยุทธ์บ่อยๆ ว่าสิ่งที่เคยทำได้ดีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไปแล้ว เราต้องตระหนักว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็ว และต้องเข้าใจจริงๆ ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น และจะต้องปรับตัวไปทางไหน ทั้งยังจะต้องคำนึงถึงด้วยว่าจะนำเสนออะไรให้กับลูกค้า"

ถึงจะทำให้การเข้ามาของผู้นำจากฝั่งตะวันตกสัมฤทธิ์ผล หาไม่เช่นนั้นอาจตกม้าตายได้

ฉะนั้น ต่อประเด็นวิถีแห่งผู้นำเอเชีย จึงมีความท้าทายอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ผู้นำจากฝั่งตะวันตกเข้าใจ เพราะอย่างที่ทราบผู้นำจากฝั่งตะวันออกมองเรื่องภายในสำคัญกว่าภายนอก

ดังนั้น หากผู้นำจากฝั่งตะวันตกจะเข้ามาในฝั่งตะวันออก จึงต้องทำการบ้านมาอย่างดี และพกพาคุณธรรมน้ำมิตรมามากๆ ด้วย เท่านั้นทุกอย่างจะสัมฤทธิ์ผลทันที?

อ้างอิงจาก  เส้นทางเศรษฐี

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด