บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
2.3K
2 นาที
26 มกราคม 2561
10 กลยุทธ์ธุรกิจ ฝ่าวิกฤตต้นทุนค่าแรงสูง 
 
 

หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้มีมติเห็นชอบประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในอัตรา 5-22 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป 

โจทย์หลักใหญ่ๆ ที่ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคและเป็นปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจ SME นั่นคือเรื่องของ “ต้นทุน” ยิ่งธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ แต่ภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอ 10 กลยุทธ์บริหารธุรกิจ SME ให้อยู่รอดและเติบโต หลังจากที่รัฐบาลมีมติเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 5-22 บาท ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มาดูกันว่าธุรกิจจะฝ่าวิกฤติต้นทุนสูงไปได้อย่างไรครับ

1.ปรับขนาดขององค์กรให้เหมาะสม 


แนวคิดในปัจจุบัน เมื่อธุรกิจประสบกับปัญหาก็จะลดขนาดขององค์กร เพื่อลดต้นทุน ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นหนทางกู้สถานการณ์ทางการเงินให้กลับมาดีขึ้นได้รวดเร็ว แต่การลดขนาดมีข้อควรระวัง ทั้งในเรื่องขวัญกำลังใจ ความสามัคคีในองค์กร และการสูญเสียคนเก่ง การเปลี่ยนแปลงที่ดี ควรเอาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเป็นตัวตั้ง แล้วปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจรวมถึงการลดขนาดขององค์กรด้วย

2.บริหารต้นทุนด้านแรงงาน 


ต้นทุนทางด้านแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการขึ้นค่าแรงงาน โดยต้องกลับมาทบทวนในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน หรือคนงาน บางครั้งจำเป็นต้องมีการปลดพนักงานออก

หากพนักงานกลุ่มนั้นเป็นแรงงานที่ไม่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพคนงาน เพื่อลดค่าแรงต่อการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้นให้น้อยลงด้วย หากไม่มีงบประมาณเพียงพอ ควรใช้บริการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จัดฝึกอบรมเป็นการภายใน (In-house Training)

3.ลงทุนน้อย ให้ได้กำไรมาก


การลงทุนน้อยๆ ให้ได้กำไรมากๆ นั้นเป็นศิลปะของการทำธุรกิจยุคต้นสูง วิธีการเหล่านี้มีมานานตั้งแต่อดีต สมัยโบราณมาแล้ว เวลาที่สองเมืองรบพุ่งกันวิธีการที่จะชนะ โดยเสียเสบียงไพร่พลให้น้อยที่สุด จะถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด มาถึงยุคปัจจุบันการทำตลาดด้วยการลงทุนน้อยๆ แต่ให้ได้ผลมากๆ 

เช่น การทำตลาดออนไลน์ เพราะปัจจุบันลูกค้าหันมาใช้โทรศัพท์มือถือ Smart phone เริ่มมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การทำตลาดต้นทุนสูงในระบบเดิม อาจจะหมดไปในอนาคต ถ้าหากผู้ประกอบการทำได้ถูกจุด-ถูกทาง ก็จะเกิดแรงกระเพื่อมมหาศาล และทำให้สามารถเพิ่มยอดสินค้า-บริการของเราได้ แม้ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคือง

4.ปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ


ในยามที่เศรษฐกิจดี เจริญรุ่งเรือง ผู้ประกอบการอาจต้องใช้เวลาแทบจะทั้งหมด ไปกับการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของลูกค้า แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ต้นทุนสูง เวลาที่ใช้ในการผลิตลดลง ก็จะเปิดอีกโอกาสหนึ่งให้ผู้ประกอบการได้หันมาพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพสินค้า ปรับปรุงระบบการผลิตให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

แทนที่ผู้ประกอบการจะเครียดกับยอดขายตก ต้นทุนเพิ่ม ควรใช้เวลาหันมาปรับปรุงสินค้า-บริการของตัวเองให้ดีอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาดีดังเดิม ผู้ประกอบการที่พร้อมกว่าจึงจะได้รับชัยชนะ  

5.ขายให้ถูกช่วงเวลา


ในยามเศรษฐกิจไม่ดี ยอดขายตก ต้นทุนเพิ่มบางครั้งการขายสินค้าที่ไม่เหมาะกับกาลเวลา ไม่เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นสาเหตุทำให้ธุรกิจของคุณสะดุดเอาง่ายๆ หากเกิดภาวะที่ฝืดเคือง

ผู้ประกอบการอาจจะหันมาทำสินค้าประเภทประหยัดเงินในกระเป๋าของลูกค้ามากขึ้น และลดสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยลง เพื่อให้เข้ากับภาวะโดยภาพรวม และหากเศรษฐกิจกลับมาดี ยอดขายเพิ่มอีกครั้ง ผู้ประกอบการก็สามารถปรับเปลี่ยนในทิศทางที่เหมาะกับช่วงเวลาได้

6.นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว


กลยุทธ์นี้มีมานานแล้ว เมื่อเกิดสภาวะที่ไม่ดีตลาดฝืดเคือง การขยับขยายอะไรเกินตัว ก็อาจทำให้กิจการถึงขั้นหายนะได้ บางทีการอยู่นิ่งๆ เพื่อให้พายุผ่านไปก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี ในสมัยโบราณแม่ทัพที่ถอดใจไปก่อนจะสำเร็จการใหญ่ ก็มีให้เห็นมากมาย ความอดทน หรือ การนั่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี และไม่ควรมองข้ามยามจำเป็นนะครับ

7.สะสมกำลังเสบียงให้พร้อม


ผู้ประกอบการอาจไม่รู้ว่า เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อไหร่ อีกทั้งต้นด้านแรงงงานยังเพิ่มขึ้น แต่การเตรียมพร้อม เก็บเสบียงคลังไว้ใช้ยามฉุกเฉินนั้น จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เสบียงคลังดังกล่าว ได้แก่ กำไรสะสม เครดิตการค้า แม้แต่ทรัพยากรมนุษย์ กำลังพลก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมให้พร้อมเช่นกันครับ

8.การวิจัย และพัฒนา


ธุรกิจใดที่หยุดนิ่ง เท่ากับธุรกิจนั้นเริ่มนับถอยหลัง การวิจัยและพัฒนา จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงเวลาปกติ และช่วงเวลาที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้บริโภคไม่ค่อยซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ดีไม่ควรหยุดนิ่ง ควรหมั่นทำการวิจัย และพัฒนาสินค้า และบริการให้ดีอย่างสม่ำเสมอครับ

9.กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า


ยิ่งเกิดภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ประกอบการยิ่งต้องใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น แม้ในยามที่ลูกค้าอาจไม่มีกำลังจับจ่ายสินค้าของคุณ แต่หากคุณดูแล หมั่นกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อใดที่เศรษฐกิจกลับมาดี ลูกค้าก็จะกลับมาหาคุณ นึกถึงคุณก่อนคู่แข่งอย่างแน่นอน

10.เตรียมตัวให้พร้อมทุกสถานการณ์


กลยุทธ์สุดท้าย คือ การรวมเอาทุกกลยุทธ์ข้างต้นเข้าด้วยกัน ทั้งการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า การเตรียมเสบียงให้พร้อม การวิจัย และพัฒนา การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นไปของเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความพร้อม สามารถเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ ไม่พลาดพลั้งยามเกิดวิกฤต และสามารถคว้าโอกาสได้ยามที่ทุกอย่างกลับมาดีดังเดิมอีกครั้ง 

ทั้งหมดเป็น 10 กลยุทธ์ธุรกิจฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ท่ามกลางที่ต้นทุนการทำธุรกิจกำลังจะสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-22 บาท ทั่วประเทศของรัฐบาล เชื่อว่า 10 กลยุทธ์ธุรกิจข้างต้น น่าช่วยผู้ประกอบการได้ไม่มากก็น้อยแน่นอนครับ 

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด