บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    การวางแผนธุรกิจ
4.8K
2 นาที
20 กุมภาพันธ์ 2561
5 เหตุผล ทำไมควรเขียนแผนธุรกิจ
 

 
แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่ง สำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุป หรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจ ที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการ ออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่า 
 
แผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอน ในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาด การแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อน และข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะเล่าถึงเหตุผล ว่าทำไม เราควรเขียนแผนธุรกิจ แผนธุรกิจมีความสำคัญอย่างไร และประโยชน์ของแผนธุรกิจมีอะไรบ้าง อย่ารอช้ามาฟังเหตุผล ที่ต้องเขียนแผนธุรกิจกันเลยครับ

1.เตรียมความพร้อมเริ่มต้นธุรกิจ 
 

การเขียนแผนธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการได้พิจารณารายละเอียด ที่เกี่ยวกับการลงทุน ประมาณการรายได้จากการทำธุรกิจ  ประมาณการต้นทุน และค่าใช้จ่ายของธุรกิจ เพื่อดูว่าธุรกิจมีผลกำไรจากการดำเนินงานหรือไม่ หากเห็นว่ามีผลกำไร คุ้มค่า ผู้ประกอบการก็จะได้เริ่มต้นดำเนินการได้ทันที เช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ บางครั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องเขียนแผน 
 
2.การบริหารจัดการ 

การวางแผนธุรกิจเป็นการจัดวางระบบ หรือวางโครงสร้างในการดำเนินงาน ทั้งการวางโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารธุรกิจ เช่น จัดทำแผนธุรกิจ แผนกลยุทธ์ แผนการตลาด และแผนปฏิบัติการ

3.ระดมทุน
 

การจัดทำแผนการตลาด สามารถทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงการขอสินเชื่อได้ง่าย เช่น การขอกู้เงินจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ จะพิจารณาอนุมัติจากแผนธุรกิจของผู้ประกอบการเป็นหลัก

4.เพื่อการแข่งขัน

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูง การเขียนแผนธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการตลาด ต้องมีวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงธุรกิจให้ก้าวทันคู่แข่งขันได้
 
5.เพื่อวิเคราะห์อนาคตของธุรกิจ
 

อาจฟังดูเป็นเรื่องยาก ที่จะคาดเดาว่า ในอนาคตธุรกิจของคุณจะเป็นอย่างไร จะไปได้สวย หรือไปไม่รอด การเขียนแผนธุรกิจ จะเป็นแนวทางในการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องการวิจัยตลาด แนวโน้มตลาด และการวิเคราะห์การแข่งขัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นทิศทางของธุรกิจในอนาคตได้ และเป็นตัวช่วยสำคัญในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ

แผนธุรกิจที่ดี ต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เพื่อให้ผู้บริหารได้รู้และเข้าใจภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจหรือโครงการ
  2. โครงสร้างอุตสาหกรรมของบริษัท (Industry Analysis) เพื่อให้ทราบถึงภาพรวมโดยย่อของอุตสาหกรรม ทั้งโครงการ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ
  3. การวิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจอย่างละเอียด ทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ผู้บริโภค หรือผลตอบแทนล่วงหน้า
  4. แผนการตลาด (Marketing Plan) เป็นการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
  5. แผนการพัฒนาในอนาคต (Improvement Plan) โดยเป็นการวางแผลการพัฒนาสินค้าและบริการในอนาคต
  6. แผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan) เป็นการกำหนดการดำเนินงานเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง รวมถึงแผนการดำเนินงาน
  7. โครงสร้างองค์กร (Organization Plan) หมายถึง แผนผังหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
  8. ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ (Business Profit) เป็นการวิเคราะห์ทางการเงิน เกี่ยวกับกำไรขาดทุน
  9. แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart) เป็นกำหนดการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาต่างๆ
  10.  แผนการควบคุม (Controlling Plan) หมายถึงแผนการควบคุมการดำเนินงานทั้งหมดให้เป็นไปตามที่กำหนด
  11. แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan) เป็นแนวทางการรับมือหรือวิธีการแก้ปัญหา ถ้าหากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนการที่กำหนด
ประโยชน์ของแผนธุรกิจ
 
  1. เป็นการเปลี่ยนความคิดที่เป็นนามธรรมมาเป็นรูปธรรม ทำให้สามารถมาองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนมากขึ้น
  2. ทำให้ผู้ประกอบการได้คิดอย่างรอบคอบ มองเห็นข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินการได้
  3. ทำให้ทรายว่า ควรจะลงมือดำเนินธุรกิจในเรื่องใดก่อน-หลัง ทำให้ง่ายต่อการลงมือปฏิบัติ
  4. สามารถหาทางป้องกัน แก้ปัญหา หรือข้อบกพร่อง ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงทีก่อนลงมือปฏิบัติ
  5. นำไปเสนอต่อผู้ให้กู้หรือสถาบันทางการเงินต่างๆ เพื่อเข้าไปขอยืมเงินมาลงทุนประกอบธุรกิจ
สรุปก็คือ เหตุผลที่เราควรเขียนแผนธุรกิจ เพราะมีข้อดี สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจได้ ทั้งระยะสั้น 1-3 ปี หรือในระยะยาว 3-5 ปี หรือตามกำหนดระยะเวลา ที่ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนด

อีกทั้ง ยังทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นภาพรวมในการดำเนินธุรกิจ และสามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญถ้าในธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าผู้ซื้อแปฟรนไชส์แบรนด์ดังๆ เป็นที่นิยม ก็จะต้องเขียนแผนธุรกิจส่งให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ได้พิจารณาด้วย

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์  www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์เริ่มต้นธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 

SMEs Tip
  1. เตรียมความพร้อมเริ่มต้นธุรกิจ 
  2. การบริหารจัดการ 
  3. ระดมทุน 
  4. เพื่อการแข่งขัน 
  5. เพื่อวิเคราะห์อนาคตของธุรกิจ
ขอบคุณรูปภาพจาก  https://pixabay.com/


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด