บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
5.6K
2 นาที
18 เมษายน 2561
7 กลยุทธ์เริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวเล็กๆนับจากศูนย์
 

ยุคนี้งานเลือกคนไม่ใช่คนที่จะเป็นฝ่ายเลือกงาน ดูได้จากอัตราการว่างงานของคนระดับปริญญาตรีที่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้การันตีว่าจะมีงานทำเสมอไป ดังนั้นอย่าแปลกใจที่แนวคิดเรื่องการเป็นนายตัวเอง การมีธุรกิจตัวเองจะถูกพูดถึงมากขึ้น แต่ความจริงกับความฝันบางทีมันก็สวนทางกันเสมอ การเริ่มต้นทำธุรกิจดูเหมือนจะไม่ยากแต่ก็มีตัวอย่างของคนที่ล้มเหลวมากมายให้เราดู

www.ThaiFranchiseCenter.com อยากให้คนที่มีความคิดอยากสร้างธุรกิจตัวเองมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นจึงนำความรู้เรื่อง 7 กลยุท์การเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวเล็กๆนับจากศูนย์ มาฝากกัน
 
เราจะไม่ขอพูดถึงวิธีการสร้างไอเดีย การวางแผนการตลาดและการเงิน รวมถึงเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจเพราะคิดว่าพื้นฐานเหล่านี้มันควรจะอยู่ในหัวของคนที่อยากทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเราเริ่มต้นและอยู่รอดได้คือ
 
1.พยายามทำต้นทุนให้ต่ำที่สุด
 

เงินคือสิ่งสำคัญของการทำธุรกิจ (Cash is King) สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ รักษาเงินสดไว้ใช้ในยามวิกฤตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และวิธีที่เหมาะสม คือ การทำให้ต้นทุนต่ำเข้าไว้

เช่น ถ้าเริ่มทำธุรกิจโดยมีพนักงานแค่ 5 คนก็ไม่จำเป็นต้องเช่าสำนักงานขนาด 20 คนหรือหากเลือกเปิดหน้าร้าน ก็คงไม่ใช่การซื้อขาดไปเลย แต่ควรจะลองเช่าดูก่อนซัก 3 เดือนเพื่อดูว่าธุรกิจของเราเป็นอย่างไร พอไปไหวหรือเปล่า นั้นคือเราต้องพยายามรักษาเงินสดของเราไว้ในช่วงเริ่มต้นทำทุกวิถีทางที่จะควบคุมรายจ่ายทั้งหมดเอาไว้ให้น้อยที่สุด
 
2.จ้างงานแบบ Outsource 
 

แม้แต่อดีตประธานาธิบดีของอเมริกาอย่าง Lyndon B. Johnson ยังเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “เรามีส่วนที่เราถนัด งานที่เราไม่ถนัดก็ต้องให้คนอื่นช่วยจะดีกว่า”  ซึ่งหากเราเริ่มทำธุรกิจแบบมือใหม่เราไม่ควรรวมงานทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง ควรกระจายงานที่เราไม่ถนัดด้วยการจ้าง Outsource จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้ดีกว่า

เช่น หากเป็นธุรกิจเปิดใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาทำบัญชี หรือจ้างนักกฎหมายมาดูสัญญาการซื้อขาย สิ่งที่ควรทำควรจ้าง Outsource พนักงานบัญชีที่ค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000-50,000 บาท/ปี

ดีกว่าการจ้างพนักงานบัญชีประจำที่เฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาท รวมถึงเรื่องสินค้าที่เราควรจ้างผลิตไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรมาเอง ถ้าสินค้าเกิดขายไม่ได้ขายไม่ดี เราก็ยังเปลี่ยนไปขายอย่างอื่นได้แบบไม่เจ็บตัวด้วยการลงทุนที่มากมาย
 
3.ห้ามปฏิเสธโลกออนไลน์
 
ภาพจาก pixabay.com

การทำธุรกิจยุคนี้ห้ามปฏิเสธการตลาดออนไลน์เด็ดขาด โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นทำธุรกิจตัวเองนี่คือการตลาดแบบใช้ทุนน้อยที่สุดแต่ได้ผลมากที่สุด หากเราใช้ให้เป็น ปัจจุบันช่องทางตลาดออนไลน์มีหลากหลายรูปแบบทั้ง เฟสบุ๊ค, 
 
อินสตราแกรม,  ยูทูป,  Blog , Twitter แต่การนำเอาเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ก็ต้องมีเทคนิคที่ดีเพราะเรามุ่งหวังเรื่องกำไรและรายได้ดังนั้นต้องเรียนรู้และศึกษาการทำตลาดด้วยวิธีเหล่านี้ให้มาก
 
4.จัดตั้งบริษัทไว้ล่วงหน้าเพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่อง
 

แม้ในช่วงแรกของการเริ่มต้นเราไม่พร้อมที่จะเปิดตัวยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ การเตรียมความพร้อมเอาไว้และสามารถหยิบมาใช้ได้ทันทีเหมือนที่ประธานาธิบดีของอเมริกาอย่าง Benjamin Franklin เคยกล่าวไว้ว่า “เมื่อคุณไม่เตรียมตัวให้พร้อม ก็เตรียมใจที่จะล้มเหลวได้เลย”
 
เหตุที่บอกว่าเราควรมีการจัดตั้งบริษัทไว้ล่วงหน้าก็เพื่อจะขอวงเงินสินเชื่อกับธนาคารได้ง่าย เพราะธนาคารส่วนใหญ่มักบอกว่า บริษัทของเราต้องมีอายุมากกว่า 3 ปี ถึงจะกู้ได้

หรืออีกวิธี คือ ไปซื้อชื่อบริษัท ที่บริษัทอื่นตั้งไว้หลายๆ ปีก่อน เพื่อสวมชื่อ และกู้เงินได้ทันที ซึ่งการมีเงินทุนที่เกิดจากการจัดตั้งบริษัทไว้ล่วงหน้า เราอาจจะได้โอกาสที่ดีในวันหน้าซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่มากขึ้น เราจึงควรเตรียมความพร้อมส่วนนี้ไว้ให้ดี
 
5.บัญชีรายรับรายจ่ายคือหัวใจของธุรกิจ
 

ถ้าเราเริ่มทำบัญชีให้เป็นระบบ และทำประมาณการรายรับ รายจ่ายของธุรกิจล่วงหน้าเพื่อดูว่า เมื่อไรที่คุณขาดเงิน จะได้หาเงินมาเติมสภาพคล่องของธุรกิจได้ทัน หรือการเก็บหนี้ของธุรกิจทำได้ดีหรือไม่ สินค้าคงคลังอยู่ในสต็อกเรานานหรือเปล่า   

นอกจากนี้ ยังสามารถบอกได้ว่า ฝ่ายขาย หรือฝ่ายการตลาดได้ทำหน้าที่ตามเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่ เรื่องการมีบัญชีที่เป็นระบบทำให้เรารู้ว่าธุรกิจเราเดินหน้าไปในทิศทางไหน สามารถปิดจุดอ่อนและสร้างจุดแข็งได้ทันท่วงที
 
6.พัฒนาสินค้าแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน
 

เราต้องระลึกไว้เสมอว่าธุรกิจของเรายังตั้งตัวไม่ได้ แม้ยอดขายจะเริ่มดีบ้าง แต่เราก็ควรมีสมาธิและมุ่งมั่นกับสินค้าตั้งต้นของเราเพียงตัวเดียวไปก่อน ตามหลักทฤษฏี 80: 20 ของ Vilfredo Pareto นักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลี ที่กล่าวว่า “80% ของชนิดสินค้าที่เรามี จะสร้างยอดขายได้เพียง 20% ของยอดขายทั้งหมด

แต่สินค้าที่อยู่ 20% ที่เหลือ จะสร้างยอดขายได้ถล่มทลายถึง 80% ของยอดขายทั้งหมด”   หมายถึงเราควรโฟกัสสินค้าที่ขายดีของเราที่สุดก่อนเพื่อให้ธุรกิจของเป็นรูปเป็นร่างและอยู่ได้ ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรอย่างสะเปะสะปะ โปรยไปทุกสายผลิตภัณฑ์ มันจะเป็นการศูนย์เสียโดยใช่เหตุ
 
7.ศึกษาและก้าวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด
 

หลักของการทำธุรกิจคือ “ยิ่งเล็กยิ่งต้องเร็ว” หมายถึงจุดเด่นของธุรกิจขนาดเล็กที่จะขยับตัวได้เร็วและดีกว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนมากกว่า ยิ่งที่เราเกาะกระแสของตลาดได้และจับทิศทางความต้องการของลูกค้าได้เร็ว นำมาสู่การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ได้ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี 

หน้าที่ของนักธุรกิจหน้าใหม่ที่ต้องทำคือศึกษาว่าสินค้าที่เรามียังมีคนต้องการอีกหรือไม่ หรือมันเก่าไปแล้วตกยุคไปแล้ว และหากต้องหาโอกาสใหม่ๆที่จะขยายธุรกิจจะต้องฟังจากความเห็นของลูกค้า คุยกับคู่ค้า เพื่อให้เห็นทิศทางการพัฒนาสินค้าที่ถูกต้องต่อไป
 
การเริ่มต้นทำธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่สำคัญที่การวางแผนให้เป็นระบบ การสร้างธุรกิจที่มาจากรากฐานที่มั่นคงจะส่งผลให้มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ได้ ก้าวแรกของการเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญหากผิดพลาดตั้งแต่ก้าวแรกก้าวที่เหลือมันก็จะผิดพลาดเป็นระบบต่อๆกันไปด้วย
 

SMEs Tips
  1. พยายามทำต้นทุนให้ต่ำที่สุด
  2. จ้างงานแบบ Outsource
  3. ห้ามปฏิเสธโลกออนไลน์
  4. จัดตั้งบริษัทไว้ล่วงหน้าเพื่อกู้เงินเสริมสภาพคล่อง
  5. บัญชีรายรับรายจ่ายคือหัวใจของธุรกิจ
  6. พัฒนาสินค้าแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน
  7. ศึกษาและก้าวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด