บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
3.0K
2 นาที
2 พฤษภาคม 2561
เข้าใจ Blockchain อย่างง่าย! (สำหรับผู้เริ่มต้น) 
 

 
Blockchain กลายเป็นเทคโนโลยี ที่มีผู้คนพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง เชื่อว่าต่อจากนี้ไป เราคงจะได้ยินคำนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ และน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำของเราทุกคน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะนำเสนอเรื่องราวของ Blockchain ให้คุณผู้อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ แม้จะเป็นผู้เริ่มต้นก็ตาม รวมถึงวิธีการนำเอา Blockchain ไปใช้ประโยชน์ 
 
Blockchain คือ อะไร 
 

ก่อนจะเข้าใจ Blockchain เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า ระบบในธนาคารที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ เป็นระบบแบบรวมศูนย์กลาง (Centralized) คือ มีธนาคารเป็นคนกลาง เป็นศูนย์รวมในการจัดการระบบทุกๆ อย่าง 
 
เช่น ธนาคารเป็นผู้จัดการข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับบัญชีของเรา ตั้งแต่ เปิดบัญชี ฝากเงิน ออมเงิน ถอนเงิน เป็นต้น ข้อเสียของระบบนี้คือ ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับคนกลางหรือธนาคารเป็นหลัก
 
ดังนั้น ระบบ Blockchain จึงถูกพัฒนาขึ้นมาจากข้อเสียจุดนี้ คือ แทนที่เราจะฝากชีวิตด้านการเงินของเราทั้งหมด ไว้กับธนาคารเพียงผู้เดียว (มีสมุดบัญชีส่วนตัว และฝากให้ธนาคารเป็นผู้จัดการตรวจสอบความถูกต้องทั้งหมด) 
 
รายการเดินบัญชีหรือข้อมูลทั้งหมดของเราจะเป็นสาธารณะ (Public Ledger) และแจกจ่ายให้ทุกคนในเครือข่าย (Network) คนละฉบับ โดยทุกคนที่อยู่ในเครือข่าย ต้องช่วยกันยืนยันความถูกต้องของข้อมูล คล้ายๆ ระบบสหกรณ์ หรือระบบประชาธิปไตยที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีอำนาจออกเสียง

 
ระบบแบบนี้จะตรงข้ามกับแบบรวมศูนย์กลาง (Centralized) และเรียกว่าระบบกระจาย (Distributed) โดยจำนวนบุคคลใน Network จะขึ้นอยู่กับประเภทของ Blockchain 

ซึ่งมีทั้งแบบสาธารณะ (Public) ที่คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แบบส่วนตัว (Private) ที่เป็นระบบที่ใช้ในองค์กรเท่านั้น และแบบสมาคม (Consortium) ที่ใช้เฉพาะในเครือข่ายองค์กรหนึ่งๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
 
หรือพูดโดยสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางการเงินใดๆ (Transaction) ต้องมีการยืนยันจากทุกคนในระบบ (Network) ก่อนว่าข้อมูลนั้นๆ ถูกต้อง ข้อมูลจึงจะได้รับการอนุมัติและไปเรียงต่อในระบบบล็อกได้
 
แม้ Blockchain อาจดูเป็นศัพท์ที่ไกลตัวสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการการเงิน แถมยังเป็นระบบที่เข้าใจยากอยู่สักหน่อย แต่การมาของ Blockchain ก็สามารถบอกเทรนด์หลายๆ อย่างในอนาคต ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนได้

เช่น การนำ Blockchain มาใช้จัดการเรื่องภาษี และช่วยให้กลุ่มผู้อพยพสามารถส่งเงินข้ามประเทศได้ง่ายมากขึ้นในบางกรณีที่ธนาคารมีข้อจำกัด หรือการนำเทคโนโลยี Blockchain มาช่วยในระบบจัดส่งสินค้า (Supply chain)

ประโยชน์ของ Blockchain

  1. มีความโปร่งใสสูง สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้จากทุกฝ่าย
  2. ไม่สามารถเกิดการทุจริตได้ เพราะข้อมูลไม่สามารถถูกปลอมแปลงได้
  3. เมื่อธุรกรรมหรือสัญญาถูกจัดเก็บในรูปของข้อมูล การนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล เพื่อบังคับให้ทำตามสัญญาหรือธุรกรรมต่างๆ เหล่านั้น ก็สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ และยังนำไปประยุกต์ใช้รูปแบบอื่น เช่น การแจ้งเตือนเมื่อสัญญากำลังจะหมดอายุได้ เป็นต้น
  4. เมื่อการทำธุรกรรมหรือสัญญาเหล่านี้ ไม่ต้องมีตัวกลาง ก็จะสามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกมาก
นำ Blockchain ไปใช้งานต้องทำอะไรบ้าง


เนื่องจาก Blockchain นี้เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลเท่านั้น ดังนั้นในการนำ Blockchain ไปใช้งานก็ต้องมีการพัฒนา Application ขึ้นมาทำงานร่วมกับ Blockchain อีกทีหนึ่ง 
 
เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลที่เราต้องการให้มีความโปร่งใส และน่าเชื่อถือในระบบของ Blockchain และเปิดให้ผู้ใช้งานคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลภายใน Blockchain หรือบันทึกข้อมูลลงไปยังระบบของ Blockchain ได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างการนำ Blockchain ไปใช้งานจริง

  1. ใช้งานในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมหรือสัญญาเป็นหลัก เช่น การเงิน, การทำประกัน โดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆ ได้เลย
  2. ใช้งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ก็จะมั่นใจได้ว่าเงินนั้นจะไปถึงปลายทางอย่างแน่นอน
  3. ใช้ในการติดตามสินค้าต่างๆ เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสดแต่ละชิ้น ก็จะทำให้ทราบได้ทันทีว่าวัตถุดิบรายการไหนถูกส่งออกมาจากฟาร์มแห่งใด, ขายไปยังลูกค้ารายใด, หมดอายุวันไหน รวมถึงหากเกิดปัญหากับสินค้าชิ้นนั้นๆ ก็สามารถสืบสวนไปถึงต้นตอได้ทันที เป็นต้น
  4. การสำรองข้อมูลย้อนหลังให้มั่นใจว่า จะไม่ถูกทำลายหรือไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ก็สามารถใช้ Blockchain ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการสำรองเอาไว้ได้
  5. ล่าสุดนี้ในประเทศไทย ก็มีการนำ Blockchain มาเปิดบริการการจัดเก็บเอกสารสำหรับใช้ทำสัญญาโดยเฉพาะแล้ว
นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูกันต่อไป ว่ารัฐบาลและวงการสถาบันการเงิน จะยินยอมให้เทคโนโลยีใหม่ๆ และ Fintech เข้ามา Disrupt วงการการเงินหรือไม่ และเทคโนโลยี Blockchain จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างแค่ไหน 
 
แต่แน่นอน “รู้ก่อน ได้เปรียบกว่า” 
 
อ่านบทคามอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์  www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php 
 
อ้างอิงข้อมูล
 
ขอบคุณรูปภาพจาก https://pixabay.com
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด