บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    ความรู้ทั่วไปทางการตลาด
3.6K
2 นาที
14 มิถุนายน 2561
3 ธุรกิจเริ่มจากเล็กทาบรัศมีธุรกิจใหญ่ แถมชนะด้วย!
 

การเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่แม้จะได้เปรียบคู่แข่งรายเล็กอยู่มาก แต่ก็ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจและคิดว่าธุรกิจที่เกิดใหม่ไม่มีวันที่จะแซงหน้าตัวเองขึ้นมาได้ มีตัวอย่างมากมายในโลกของธุรกิจที่ทำให้เห็นแล้วว่า หากประมาทเพียงนิด หรือมองข้ามคู่แข่งที่แม้จะเป็นแค่ธุรกิจเล็กๆ ก็อาจทำให้ความยิ่งใหญ่ของตัวเองนั้นสั่นคลอนได้เหมือนกัน
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มีกรณีศึกษาจากธุรกิจขนาดเล็กที่เริ่มจากการเป็นฝุ่นเล็กๆก่อตัวใหญ่ขึ้นจนเขย่าบัลลังก์เจ้าของธุรกิจเดิมให้ต้องเดือดร้อน บางทีถึงกับล่มสลายหรือแพ้ไม่เป็นท่าให้กับธุรกิจที่ตัวเองเคยมองข้ามก็มี
 
1.Taobao vs ebay
 
ภาพจาก goo.gl/SSkHnz

เป็นสงครามในตลาด Marketplace ของจีน ขณะนั้น ebay ถือครองความได้เปรียบ กับกลยุทธ์ในการเข้ามาเทกโอเวอร์ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ในฐานะแพลตฟอร์มรูปแบบ C2C ที่มีส่วนแบ่งตลาดในจีนขณะนั้นไปแล้วถึง 90% 

ในปี 2003 Alibaba เริ่มเข้ามาท้ารบกับ ebay แต่เป็นการมาแบบเล็กๆ ด้วยการตั้งเว็บในนาม Taobao.com ที่แม้แต่พนักงานของ Alibaba บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Taobao.com กับ Alibaba มีเจ้าของคนเดียวกัน
 
กลยุทธ์ที่ ebay ใช้ป้องกันคู่แข่งขณะนั้นคือ การทำข้อตกลงกับลูกค้าที่มีสัญญากับ ebay ที่ห้ามโฆษณาหรือลงประกาศจากเว็บ Taobao.com ซึ่งก็ดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยด้วยความเป็นยักษ์ใหญ่ขณะนั้นใครๆ ก็ต้องเกรงใจเป็นธรรมดา
 
ในส่วนของ Taobao.com ก็ดูจะไม่แยแสกับเรื่องนี้นัก และเลือกต่อสู้ในแบบการตลาดเล็กๆของตัวเอง นั้นคือการเลือกไปลงโฆษณาในเว็บไซต์เล็กๆ หรือเว็บเกิดใหม่ ซึ่งมีอยู่นับพันเว็บในเมืองจีน ซึ่งถือว่าเป็นการเดินตลาดที่ถูกจุดและทำในสิ่งที่ ebay มองข้าม รวมกับการใช้กลยุทธ์เปิดโอกาสให้คนเข้ามาขายและใช้บริการแพลตฟอร์มแบบฟรีๆ ต่างกับ ebay ที่มีค่าธรรเนียมบริการ ค่าบริการฝากร้าน จึงไม่น่าแปลกใจที่เว็บน้องใหม่เล็กๆ

อย่าง Taobao.com จะใช้เวลาเพียงแค่ปีกว่าๆ ก็สามารถเทียบชั้นกับ ebay ได้ ที่สำคัญสามารถแชร์ตลาดไปได้เกินกว่าครึ่ง  ในภายหลัง ebay ที่เริ่มปรับตัวด้วยการยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการต่างๆ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินแก้ที่ถูกเว็บเล็กๆอย่าง Taobao.com แซงหน้าไปเรียบร้อย
 
2.Facebook vs Google vs Yahoo
 
ภาพจาก goo.gl/AXP9Af

YAHOO คือบทเรียนราคาแพงที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ควรศึกษา จากบริษัทที่เคยเฟื่องฟูถึงขีดสุดเคยสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้กว่า 100,000 ล้านเหรียญในปี 2000 ทั้งที่ขณะนั้นเพิ่งก่อตั้งบริษัทมาได้เพียงแค่ 6 ปีเท่านั้น แต่เพราะความลำพองเกินไปหรือวิสัยทัศน์ในการบริหารที่ผิดพลาดถึงกับทำให้ YAHOO ถึงกับล่มสลายไปในที่สุด
 
ในปี 1998 Google ได้นำเสนอไอเดียธุรกิจให้แก่ YAHOO ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า PageRank เพื่อจัดลำดับความสำคัญของผลลัพธ์ที่จะได้จากการเสิร์ชหาข้อมูลต่างๆ ในราคาเพียง 1 ล้านเหรียญแต่ทว่ากลับถูก YAHOO ปฏิเสธสิ้นเชิง อาจจะเป็นเพราะ YAHOO มั่นใจในจุดยืนตัวเองที่กำลังเฟื่องฟูจึงไม่เปิดใจรับเอาสิ่งใหม่ๆเข้ามา และสิ่งที่ YAHOO ปฏิเสธไปนั้นก็กลายมาเป็นจุดแข็งของ Google ที่ทำให้เป็นบริษัทอันดับหนึ่งของโลกจนถึงปัจจุบัน
 
จากข้อผิดพลาดของ YAHOO ที่ต้องพ่ายแพ้ให้แก่น้องใหม่อย่าง Google ยังเป็นบทเรียนไม่มากพอซ้ำยังมาโดน Facebook ซึ่งเป็นอีกธุรกิจน้องใหม่เล่นงานเข้าให้อย่างจัง ทั้งที่ปี 2006 YAHOO เคยยื่นข้อเสนอที่จะซื้อกิจการ Facebook ได้เป็นผลสำเร็จด้วยราคา 1 พันล้านเหรียญสหรัฐแต่ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบที่กลับไปต่อราคาเหลือ850 ล้านเหรียญทำให้ดีลนั้นล่มไป แม้ว่าในปีต่อมา YAHOO จะกลับไปขอซื้อ Facebook อีกครั้งด้วยเงินจำนวนมหาศาลถึง 1,600 ล้านเหรียญแต่ Facebook ที่ตอนนี้ยืนได้ด้วยตัวเองก็ปฏิเสธดีลนี้กลับไปอย่างสิ้นเชิง
 
จะด้วยความประมาทหรือบริหารงานผิดพลาดสุดท้าย YAHOO ต้องปิดฉากธุรกิจกว่า 2 ทศวรรษเหลือเพียงแค่ความทรงจำ หลังตัดสินใจขายธุรกิจให้กับ Verizon ในราคา 4,480 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าช่วงที่ไมโครซอฟท์เคยเสนอให้ ในช่วงปี 2008 ถึง 10 เท่า 
 
3.Jack Ma vs KFC
 
ภาพจาก goo.gl/nK67HH

ถ้าใครได้ติดตามประวัติชีวิตของ Jack Ma จะทราบดีว่ากว่าจะมาถึงวันนี้เขาต้องเผชิญกับสิ่งที่ท้าทายและการดูถูกจากคนจำนวนมาก นั้นรวมถึงการที่ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกปฏิเสธไม่ได้รับเลือกให้เป็นพนักงานของ KFC ทั้งที่วันนั้นผู้สมัคร 23 จาก 24 คนได้งานทำทั้งหมด
 
อย่างไรก็ตามความผิดหวังในวันนั้นน่าจะเป็นแรงผลักดันสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ Jack Ma เดินหน้าสร้างธุรกิจของตัวเองจนวันนี้ที่ธุรกิจของเขากลายเป็นยักษ์ใหญ่และจะด้วยความหลังฝังใจหรือมองเห็นช่องทางของการทำธุรกิจก็ตามแต่ ทำให้ Jack Ma เข้าซื้อกิจการ KFC ในประเทศจีน ด้วยมูลค่า 460 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 1.5 หมื่นล้านบาท แม้จะไม่ถึงขนาดล้มยักษ์ด้านฟาสฟู้ดต์อย่าง KFC  แต่งานนี้ก็ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็นคนตัวเล็กที่ขึ้นมาใหญ่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
 
ปัจจุบันบริษัท Primavela Capital และ Ant Financial ในเครือของAlibaba เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน Yum China โดย Ant Financial ดูแลระบบ Alipay และแพลตฟอร์มในการชำระเงินของAlibaba ทั้งหมด ซึ่งทำให้ Ant Financial กลายเป็น FinTech อันดับ 1 ของโลกอีกด้วย
 
และหากจะวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจริงๆ เชื่อว่าคงมีอีกหลายธุรกิจที่มีลักษณะไม่ต่างกันนี้คือเคยยิ่งใหญ่และเคยสร้างรายได้สูงสุด จนวันหนึ่งกลับถูกคลื่นลูกใหม่ซัดหายไปอย่างไม่เป็นท่า หรือบางทีไม่ถึงกับล่มสลายแต่ก็ถูกทาบรัศมีได้อย่างไม่น่าเชื่อ นั้นคือสัจธรรมทางธุรกิจที่บอกว่าไม่ควรหยุดนิ่งและควรพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันโลกทันสังคม การหยุดอยู่กับที่ก็มีแต่จะถูกแซงหน้าได้ในสักวันหนึ่งเท่านั้น
 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่  goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด