บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
13K
1 นาที
18 มีนาคม 2555
ทางออก SME กับปัญหาหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ไม่เพียงพอ

การขอสินเชื่อของ SME กับธนาคารแต่ไหนแต่ไรมา จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในรูปแบบของ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เงินสด หลายๆ กรณีมูลค่าของหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันนั้นมากกว่าวงเงินสินเชื่อที่ธนาคารอนุมัติให้กับ SME เหล่านั้นเสียอีก

การขอสินเชื่อรูปแบบนี้ อาจทำได้ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจของ SME โดยสินเชื่อที่เป็นเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดเวลา จะถูกนำมาใช้เพื่อก่อสร้างโรงงาน ซื้อที่ดิน หรือ เพื่อทำธุรกิจ รวมทั้งอาจมี สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เล็กๆ น้อยๆ ในช่วงก่อตั้ง

ปัญหาจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อธุรกิจ SME  เหล่านี้เริ่มมีการเจริญเติบโต มีโอกาสทางการค้ามากขึ้น มี คำสั่งซื้อสินค้า เข้ามามากขึ้น ทำให้ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถขอสินเชื่อเพิ่มเติมจากธนาคารส่วนใหญ่ได้ เนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอ ดังนั้น ธุรกิจ SME หลายๆ ราย จึงไม่สามารถฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจได้ทันท่วงที ผู้ประกอบการ SME บางคนต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ด้วยเหตุของสายป่านเงินทุนที่ไม่เพียงพอนี้ ธุรกิจ SME ในประเทศไทย จึงมีการเติบโตที่จำกัด บางธุรกิจถึงกับปิดกิจการไปก็มี
 
การที่ธุรกิจ SME ไม่สามารถเติบโตได้ นั้น ย่อมส่งผลกระทบกับการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย เพราะว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ SME มีจำนวนกว่า 2.82 ล้านรายในประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 8.9 ล้านคน ธุรกิจ SME เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ซึ่งในปี 2009 ธุรกิจ SME เป็นสัดส่วน 38% ของ GDP ของประเทศไทย  ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีสัดส่วน GDP ของ SME ถึง 50-60%

หน่วยงานของรัฐบาลหลายๆ หน่วยงานได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ SME รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของการที่ SME มีหลักประกันไม่เพียงพอ จึงได้ออกมาตรการช่วยหลือหลายประการ มาตรการที่ประสบความสำเร็จสูงมากคือ การออกมาตรการค้ำประกันสินเชื่อ (Portfolio Guarantee Scheme) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.
 
โครงการนี้เป็นโครงการที่ บสย.เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อในส่วนที่ SME ขาดหลักประกัน โดยวงเงินสินเชื่อที่ลูกค้าได้รับ ลูกค้าสามารถนำหลักทรัพย์มาค้ำประกันกับธนาคารเพียง 30% ของวงเงินสินเชื่อ ก็สามารถได้รับสินเชื่อตามที่ต้องการ ส่วนที่ขาดหลักประกัน 70% นั้น ได้ใช้ บสย. เข้าไปค้ำประกันแทน ซึ่งสามารถขอให้ บสย. ค้ำประกันได้สูงสุด 40 ล้านบาทต่อราย

โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยมีธนาคารพาณิชย์หลายๆ ธนาคาร เข้าร่วมโครงการ  ซึ่งรวมถึง TMB ด้วย ทั้งนี้วงเงินค้ำประกันทั้งหมดภายใต้โครงการทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาทนั้น บสย. สามารถค้ำประกันลูกค้า SME ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอทั้งสิ้น 17,625 ราย และก่อให้เกิดการปล่อยสินเชื่อทั้งสิ้น 112,167 ล้านบาท  

อย่างไรก็ตาม โครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. เป็นเพียงหนึ่งในหลายความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้เติบโตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้อยู่รอดได้ และยังคงมีอีกหลายรูปแบบที่ TMB กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุน SME ซึ่งผมจะค่อยๆอธิบายให้ฟังในโอกาสต่อๆ ไป แล้วพบกันครั้งหน้าในฉบับวันที่ 17 มีนาคม ครับ

อ้างอิงจาก สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด