บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
6.0K
1 นาที
18 มีนาคม 2555
ลูกหนี้การค้า กับดักสภาพคล่องของ SMEs
 
การให้เทอมการค้ากับลูกค้า นับว่าเป็นเรี่องปกติของการค้าขายในประเทศไทย และยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดอีกด้วย เทอมการชำระเงินก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภทสินค้า โดยทั่วไปสินค้าประเภทที่แทบไม่มีความแตกต่างกันเลย  

เช่น น้ำมัน เม็ดพลาสติก หรือสินค้าประเภทหมุนเวียนเร็ว เช่น สินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค มักจะมีเทอมการชำระเงินที่สั้น หรือ ซื้อขายด้วยเงินสด ในขณะที่สินค้าบางประเภทที่มีลักษณะเฉพาะและหมุนเวียนช้า เช่น สินค้าเคมีบางประเภท  หรือ อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องจักรการเกษตร อาจมีเทอมการชำระเงินยาวถึง 120-180 วัน

การให้เทอมการค้ากับลูกค้าเปรียบเสมือนการให้สินเชื่อกับลูกค้า ซึ่งส่งผลต่อผู้ประกอบการ SMEs ทั้งการที่เงินทุนหมุนเวียนจมอยู่กับบัญชีลูกหนี้การค้าและความเสี่ยงที่ลูกหนี้การค้าไม่สามารถชำระค่าสินค้าได้   เรื่องที่ผู้ประกอบการบางคนไม่ได้นึกถึงคือ ปัญหาเงินทุนหมุนเวียนจะตามมาเมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น  เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น เพราะเงินทุนหมุนเวียนเหล่านั้นได้จมอยู่กับบัญชีลูกหนี้ ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัวกับยอดขายที่สูงขึ้นนั่นเอง 

ปัญหาจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกับผู้ประกอบการที่ต้องการแข่งขันกับคู่แข่งโดยการขยายเทอมการชำระเงินให้กับผู้ซื้อเพื่อที่จะเพิ่มยอดขาย ก็จะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนไปกับบัญชีลูกหนี้การค้ามากขึ้น จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ประกอบการ SMEs หลายๆคนติดกับดักสภาพคล่องเหล่านี้ และไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  ทั้งๆที่เห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะเติบโต

ปัญหาอีกประการที่ไม่สามารถละเลยได้ คือ ความเสี่ยงของลูกหนี้การค้า ซึ่งทำให้ห่วงหน้าพะวงหลังในการเพิ่มยอดขายกับผู้ซื้อแต่ละคน แน่นอนว่าผู้ประกอบการ SMEs มีสายป่านที่ไม่ยาวเท่ากับผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นถ้าผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้การค้ารายใหญ่ประสบปัญหาการชำระหนี้แล้ว ก็มักจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของธุรกิจด้วย

เมื่อเข้าใจปัญหาของผู้ประกอบการ  SMEs ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  เป็นหน้าที่ของธนาคารด้วยเช่นกันที่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่ออุดช่องว่างปัญหาที่เกิดขึ้น โดยตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดให้บริการไปแล้ว อาทิ “Supply Chain Solution” ก็เป็นตัวที่ธนาคารขยายบริการด้านสินเชื่อในหลายรูปแบบให้กับทั้ง supplier และ/หรือลูกค้าของผู้ประกอบการ 

เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการชำระเงินของลูกหนี้การค้าไม่ว่าผู้ซื้อนั้นจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่  และในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ โดยการให้เงินทุนหมุนเวียนจากธนาคารไปทดแทนบัญชีลูกหนี้การค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถก้าวข้ามกับดักสภาพคล่องนี้และมีการเติบโตอย่างยั่งยืนได้

อ้างอิงจาก สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด