บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    การลงทุน
2.5K
2 นาที
12 ตุลาคม 2561
7 เหตุผลต้องรู้! ทำไมธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ


คิดจะทำธุรกิจก็ต้องมีเงินลงทุนยิ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ยิ่งต้องใช้เงินมาก ทางออกที่ดีที่สุดคือการขอ “สินเชื่อ” จากธนาคารที่มีให้เลือกหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าเราจะลงทุนกับธุรกิจแบบไหน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ความต้องการสินเชื่อในการลงทุนธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
 
การขอสินเชื่อกับธนาคารเป็นเหมือนทางลัดแต่เราต้องไม่ลืมว่าเงินที่ลงทุนก็คือเงินที่ “ยืมธนาคาร” จำเป็นต้องมีการใช้คืนตามกฎระเบียบของแต่ละธนาคารที่วางไว้

www.ThaiFranchiseCenter.com ต้องการให้ผู้ที่อยากลงทุนด้วยวิธีขอสินเชื่อตระหนักในเรื่องนี้เพราะถือเป็นต้นทุนสำคัญมาก ซึ่งการขอสินเชื่อส่วนใหญ่มีระเบียบและข้อกำหนดต่างๆ มากมายไม่ใช่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อได้ง่ายๆ ลองมาดู 7 เหตุผลที่เราควรเข้าใจว่าถ้าขอสินเชื่อไม่ผ่านนั้นเป็นเพราะอะไร
 
1.มีประวัติหนี้ NPL
 
ภาพจาก goo.gl/X8Y9TZ

NPL ย่อมาจาก Non-performing Loan ถ้าใครติดประวัติตัวนี้ไม่มีทางที่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้ถึงมือเราอย่างเด็ดขาด เป็นหลักปฏิบัติที่ธนาคารจะไม่เสี่ยงกับผู้ที่ถือว่าไม่มีวินัยในการบริหารเงินรวมถึงแสดงให้เห็นว่าเรานั้นปราศจากความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้นก่อนจะไปขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินใดก็ตาม เช็คตัวเองก่อนเลยว่าเราติดประวัติ NPL หรือเปล่าถ้ามีจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปธนาคารให้เปลืองค่ารถเปล่าๆ
 
2.สถาบันการเงินประเมินแล้วว่าเราผ่อนชำระไม่ได้
 
ภาพจาก goo.gl/X8qqAK

สถาบันการเงินจะขอเอกสารรายได้และเงินหมุนเวียนในบัญชี เป็นไปตามหลักปฏิบัติทั่วไป สิ่งที่เขาจะประเมินคือความสามารถในการผ่อนชำระ โดยจะดูรายได้ เงินหมุนเวียน เงินคงเหลือ ว่าสัมพันธ์กันแค่ไหนและหากมีรายจ่ายในการผ่อนชำระเพิ่มเข้ามาประเมินแล้วว่าสมควรปล่อยกู้หรือไม่

อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างมีประสบการณ์พอสมควร จากตัวเลขการเงินของเราที่ส่งมาประกอบจะรู้ได้ทันทีว่าความเสี่ยงในการปล่อยกู้มีแค่ไหน
 
3.ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
 

ถ้าคิดจะลงทุนในธุรกิจใดๆ ไม่ได้ใช้แค่ความ “อยากทำ” แต่เราต้องมี “แผนธุรกิจ” ที่ชัดเจน บางครั้งเราอาจเห็นคนอื่นทำแล้วดีและคิดว่าเราเองก็ทำได้ ไม่ได้คิดหน้าคิดหลัง แต่คิดจะขอสินเชื่อเพื่อทำตามใจตัวเอง เหตุการณ์แบบนี้สถาบันการเงินไม่มีทางปล่อยกู้อย่างแน่นอน

เพราะการปล่อยกู้ก็คือการสร้างรายได้ทางหนึ่ง หากปราศจากแผนธุรกิจที่ชัดเจนสถาบันการเงินไม่มีทางเชื่อมั่น นั่นคือเขาประเมินแล้วว่าอัตราการเกิดหนี้ศูนย์มีมากกว่าการกู้ยืมที่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อป้องกันปัญหาในภายหลังจึงไม่อนุมัติให้กู้
 
4.ไม่มีการนำเสนอรายรับรายจ่ายในการทำธุรกิจ
 

ลำพังแค่การเล่าให้สถาบันการเงินฟังเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ แม้จะสวยหรูดูดีแค่ไหน แต่ก็ไม่มีน้ำหนักมากพอถ้าปราศจากตัวเลขที่เป็นรายรับ-รายจ่าย จะว่าไปแล้วตัวเลขเหล่านี้คือคีเวิร์ดสำคัญที่ตัดสินใจได้ว่าจะให้กู้หรือไม่ให้กู้ ดังนั้นหากเป็นการกู้เงินเพื่อขยายกิจการทางธุรกิจเราต้องพยายามทำให้รายได้ของนั้นปรากฏเด่นชัด เพื่อจะได้ทำให้สินเชื่อทางธุรกิจที่ขออนุมัตินั้น มีผลเป็นที่น่าพอใจ
 
5.ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันดีพอ
 
ภาพจาก goo.gl/KKQP6R 

การปล่อยกู้ก็คือความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งที่สถาบันการเงินต้องแบกรับ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันรายได้ที่จะสูญหาย การขอกู้เพื่อทำธุรกิจส่วนใหญ่สถาบันการเงินจึงต้องขอหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้กู้จะสามารถนำเงินมาคืนให้ครบตามข้อตกลงได้ ซึ่งสินทรัพย์ในการค้ำประกันนั้นควรมีราคาแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเรากู้เงินมากเท่าไหร่

ซึ่งคำจำกัดความของหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีสภาพคล่องคือ ที่ดินหรือบ้านจัดสรรที่มีถนนเข้าออกได้สะดวก มีระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่สำคัญคือ หลักประกันจะต้องสามารถตีค่ากลับมาเป็นเงินทดแทนการชำระหนี้ได้มากกว่าจำนวนหนี้หรือเทียบเท่า
 
6.ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้จากภายนอก
 

บางครั้งสาเหตุในการกู้สินเชื่อไม่ผ่านก็ใช่จะมาจากตัวเราเพียงอย่างเดียว จังหวะของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจก็สำคัญ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ หรือปัญหาสงคราม เป็นต้น

เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อความมั่นคงของการงานและรายได้ของผู้ขอกู้สินเชื่อทั้งสิ้น และถ้าหากว่าผู้ขอสินเชื่อมีปัญหา แน่นอนว่าการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อก็จะต้องมีปัญหาตามมาด้วย หากเศษฐกิจในขณะนั้นส่งผลต่อกิจการของผู้ขอกู้สินเชื่อโดยตรงก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหนี้เสีย เป็นสาเหตุทำให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับเราได้
 
7.กู้ไม่ผ่านเพราะนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน
 
 
ภาพจาก goo.gl/E5QFEP

ถือเป็นเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งมีนโยบายในการอนุมัติสินเชื่อที่แตกต่างกันออกไป อาจจะอยู่ในรูปแบบข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น จำนวนขั้นต่ำ-สูงสุดในการอนุมัติสินเชื่อ หรือในรูปแบบจำกัดการปล่อยกู้ให้กับหลักประกันบางประเภท เช่น ที่ดินเปล่า ห้องชุด เป็นต้น

รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ ซึ่งเป็นการออกนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงจากหนี้เสียที่เกิดจากผู้ขอกู้สินเชื่อที่เน้นเก็งกำไรหรือลงทุนจำนวนมาก ดังนั้น ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของธนาคารหรือสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งก่อนที่จะตัดสินใจขอกู้สินเชื่อ และเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ตรงกับความต้องการของเราที่สุด
 
และหากเราขอสินเชื่อเพื่อทำธุรกิจไม่ผ่านอย่าเพิ่งท้อแท้ใจ เราสามารถยื่นเรื่องในการขอเหตุผลไม่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อกับธนาคารนั้นๆ ซึ่งเราจะได้หลักฐานการปฏิเสธที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีประโยชน์ในการนำเหตุผลดังกล่าวไปปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพตัวเองเพื่อที่ครั้งต่อไปเราจะสามารถกู้เงินมาลงทุนได้สมปรารถนา
 

SMEs Tips
  1. มีประวัติหนี้ NPL
  2. สถาบันการเงินประเมินแล้วว่าเราผ่อนชำระไม่ได้
  3. ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
  4. ไม่มีการนำเสนอรายรับรายจ่ายในการทำธุรกิจ
  5. ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันดีพอ
  6. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้จากภายนอก
  7. กู้ไม่ผ่านเพราะนโยบายของแต่ละสถาบันการเงิน
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด