บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
6.4K
2 นาที
24 เมษายน 2555
“นมและผลิตภัณฑ์นม” ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และ,-นิวซีแลนด์
 
สินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ณ วันนี้ ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตน้ำนมดิบในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ อันเนื่องจากอุตสาหกรรมโคนมของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศประมาณ 20,000 ครัวเรือน หรือเพียงร้อยละ 1.1 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดของประเทศ เท่านั้น ขณะที่มีความปริมาณความต้องการใช้ประมาณ 600,000 ตัน/ปี แต่สามารถผลิตในประเทศได้เพียงประมาณ 500,000 ตัน/ปี จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าประมาณ 100,000 ตันในแต่ละปี
 
ภายใต้กรอบของ TAFTA ประเทศไทยกำหนดให้สินค้านมและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าอ่อนไหวมาก สินค้านมที่อยู่ในโควตาภาษี (Tariff Quotas) ประกอบด้วยน้ำนมดิบและนมพร้อมดื่ม และนมผงขาดมันเนย ไทยเปิดโควตานมผงขาดมันเนยให้แก่ออสเตรเลียเป็นการเฉพาะ จำนวน 2,200 ตันในปี 2548 ซึ่งจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ 15,000 ตันต่อปีที่ไทยต้องนำเข้าอยู่แล้วเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ แม้จำนวนโควตาจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ตันในปี 2563 และคงประมาณนี้จนถึงปี 2567 ก็ยังอยู่ภายใต้ความต้องการที่ไทยนำเข้าโดยปกติ
 
นมผงขาดมันเนยมีอัตราภาษีในโควตาไม่เกิน 20% ในปี 2548 โดยจะลดลง 1%  เท่าๆ กัน ต่อปี จนเหลือ 0% ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2548 ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากออสเตรเลียคิดเป็นมูลค่า 62.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (34.96%) สำหรับในปี 2549 มีโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยจำนวน 2,200 ตัน
 
การเปิดเสรีการค้าในสินค้านมและผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทย ภาระต้นทุนจะถูกลง และจะช่วยให้อุตสาหกรรมโคนมมีความตื่นตัวในการแข่งขันและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านคุณภาพ ทั้งในเรื่องความปลอดภัยของอาหารและสารอาหาร และในด้านต้นทุนการผลิตด้วย
 
รัฐบาลได้มีการมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินมาตรการรองรับเพื่อปรับตัวให้ได้ภายใน 15.20 ปี ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ อาทิ การส่งเสริมพันธุ์โคนม การแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคปากเปื่อยเท่าเปื่อย และการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
 
สินค้าภายใต้ความตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership : TNZCEP)
 
ผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทยรวมไปถึงผู้ส่งออกของนิวซีแลนด์ต่างได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้ากลุ่มนี้ด้วยกัน การนำเข้านมพร่องมันเนย และนมผงเป็นส่วนสำคัญที่ชดเชยการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้ากลุ่มนี้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการทั้งการบริโภค และการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่งถึงแม้ว่าการผลิตน้ำนมดิบของไทยจะเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลผลิตที่ได้ยังคงตอบสนองของความต้องการน้ำนมภายในประเทศได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
 
หากมองดูแล้ว นิวซีแลนด์ ก็เป็นประเทศที่ส่งออกนมให้แก่ไทยอย่างสม่ำเสมอ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกคงอยู่ในระดับเดิมตั้งแต่ปี 1998 แต่ก็มากกว่าออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในตลาดต่างประเทศ และนิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศหลักที่ขายสูตรนมสำหรับเด็กให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศหลักในการขายปลีกสินค้าดังกล่าว

ในขณะนี้ประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 11 ของนิวซีแลนด์ โดยนำเข้าประมาณ ร้อยละ 6 ของการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของนิวซีแลนด์ นมผงส่วนใหญ่ที่ไทยนำเข้าจากนิวซีแลนด์นั้นนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่งความต้องการของส่วนผสมที่มีคุณภาพดีของไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

ดังนั้นการลดข้อจำกัดการนำเข้าต่อสินค้าประเภทนมจะทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและได้รับประโยชน์จาการลดลวของต้นทุนการผลิต การที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจะเป็นพื้นฐานในการที่จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
 
การส่งออกของนิวซีแลนด์ที่เน้นหนักไปที่การขายนมผงให้แก่กลลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทยนั้นแตกต่างไปจากการลผิตนมภายในประเทศที่เป้ฯการผลิตน้ำนมให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศและโครงการนมโรงเรียน ซึ่งความแตกต่างนี้เมื่อรวมกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดวัตถุดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 จะทำให้ผู้ผลิตทั้งไทยและนิวซีแลนด์สามารถขยายโอกาสให้กับสินค้าตัวเองมากขึ้น เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
 
ภายใต้ความตกลงฯ ที่ประเทศไทยได้กำหนดปริมาณการนำเข้านมพร้อมดื่มให้แก่นิวซีแลนด์เป็นการเฉพาะ (Specific Quota) นอกเหนือจากที่กำหนดให้สมาชิก WTO โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณที่ไทยผูกพันไว้ภายใต้ WTO ปี 2547 แต่สำหรับนมผงขาดมันเนยซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวมากของไทยจะไม่มีการเปิดโควตาเพิ่มเติมให้แต่อย่างใดในช่วงเวลา 20 ปี ก่อนการเปิดเสรี
 
สินค้านมและผลิตภัณฑ์ทีมีมาตการปกป้องพิเศษของไทย ได้แก่ นมและครีม หางนม เนย ไขมัน นม เนยแข็ง (สด ผง แปรรูป และไม่แปรรูป) บัตเตอร์มิลค์ โดยหากมีการนำเข้าจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปีนั้น หรือทีเรียกว่า Trigger Volume ไทยสามารถกลับไปเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยสใช้อัตราภาษีก่อนเริ่มลดหรืออัตรา MFN ที่ใช้อยู่ ในอัตราใดอัตราหนึ่งที่ต่ำกว่าจนกระทั่งถึงปี 2558 และ 2563
 
ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากนิวซีแลนด์นับตั้งแต่ความตกลงฯมีผลใช้บังคับ (1 ก.ค.48) ถึงเดือนพฤศจิกายน 2548 คิดเป็นมูลค่า 43.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (23.5%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยเน้นในด้านอุตสาหกรรม และคนส่วนใหญ่ในชนบทยังคงเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมอยู่
 
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไทยต้องระมัดระวังในการเปิดเสรีที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและคนงาน โดยมีภาษีนำเข้าที่สูงและมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าในผลิตภัณฑ์นมเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ อย่างไรก็ดี แนวโน้มของโลกในการเปิดการค้าเสรีทำให้ท่าทีของไทยมีการลดข้อกีดกันทางการค้าควบคู่ไปกับการติดตามเฝ้าระวังและการปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

อ้างอิงจาก    การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด