บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
4.2K
1 นาที
24 เมษายน 2555

อานิสงส์ FTA ชีสไทยโกอินเตอร์
 

ผลิตภัณฑ์เนยแข็งหรือชีสเป็นสินค้าหนี่งในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยได้ตกลงจะทยอยลดภาษีนำเข้าให้กับผลิตภัณฑ์ชีสที่นำเข้าจากออสเตรเลีย จนเหลือ 0 ภายใน 15 ปี นับแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ คือเหลือ 0% ภายในปี 2563 และไทยยังสามารถเจรจาขอให้ออสเตรเลียยินยอมให้ไทยใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard : SSG) กับสินค้าอ่อนไหวหลายรายการรวมทั้งผลิตภัณฑ์ชีสด้วย ซึ่งมาตรการหนึ่งภายใต้ SSG คือการกำหนดปริมาณนำเข้าผลิตภัณฑ์ชีสในแต่ละปี ที่จะเรียกเก็บภาษีในอัตราหลังการลดภาษี (ตารางที่ 1) หากมีการนำเข้ามากกว่าปริมาณที่กำหนด ส่วนเกินจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราก่อนหน้าการปรับลดภาษีทันที ซึ่งอัตราภาษีก่อนลดคือประมาณ 30-33 %

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ชีสภายใต้ FTA ไทย – ออสเตรเลีย ไทยได้เวลาในการปรับตัว 15 ปี ไทยสามารถเจรจาให้จีนจัดให้ผลิตภัณฑ์ชีสอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ต้องนำมาเร่งลดภาษี (Early Harvest) โดยจีนยินยอมเริ่มทยอยลดภาษีผลิตภัณฑ์ชีสตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 จนเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2549 ทำให้ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ชีสไปยังจีนได้เป็นครั้งแรกในปี 2548 โดยมีมูลค่าส่งออกถึง 43,008 เหรียญสหรัฐ และใน 7 เดือนแรกของปี 2549 ไทยสามารถส่งออกชีสไปจีนมีมูลค่าถึง 141,820 เหรียญสหรัฐ (ตารางที่ 2) ทำให้จีนเป็นผู้นำเข้าชีสรายใหญ่ที่สุดของไทยแทนที่ฟิลิปปินส์ แต่อย่างไร

ก็ตาม คู่แข่งที่น่าจับตามองคือบราซิลและมาเลเซีย 


ประเทศไทยมีโรงงานผลิตชีสทั้งหมด 8 โรงงาน ผลิตชีสได้ปีละประมาณ 2,000 ตัน ส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ชีสในประเทศทั้งที่เป็นการบริโภคโดยตรง และเป็นวัตุดิบทางอุตสาหกรรมอาหาร มีรวมกันประมาณ 5,000 – 6,000 ตันต่อปี ทำให้ไทยต้องนำเข้าชีสจากต่างประเทศประมาณ 3,000 – 4,000 ตันต่อปี
 
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัท ไมเนอร์ ชีส จำกัด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชีสหรือเนยแข็งและไอศครีมรายใหญ่ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดชีสภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย แต่จากการรับฟังผลการดำเนินงานพบว่า  การที่ไทยได้มีเวลาสำหรับการปรับตัวอย่างเพียงพอ คือ 15 ปี ก่อนที่ภาษีจะค่อยๆ ทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2563 และยังสามารถนำมาตรการ SSG มาใช้ ทำให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมชีสของไทยมีไม่มากนัก  

นอกจากนี้ การที่จีนยอมลดภาษีเป็น 0% เมื่อมกราคม 2549 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายธุรกิจจากการผลิตชีสเพื่อขายภายในประเทศเป็นการจำหน่ายไปต่างประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียรวมทั้งจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันสามารถขยายบริษัทในเครือที่ใช้ชีสเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร  เช่น เดอะพิซซ่าคอมปานี ซิสเล่อร์ สเวนเซ่น เบเกอร์คิง เป็นต้น และได้รับการตอบรับจากการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์เหล่านี้ในประเทศจีนเป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานกำลังศึกษาลู่ทางและวางแผนจะขยายสาขาไปยังเมืองต่างๆ ในจีน ให้มากขึ้นต่อไป

อ้างอิงจาก  การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด