บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.6K
2 นาที
25 เมษายน 2555
เมื่อเข้าสู่ AEC ประชาคมอาเซียน ต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยด้วย
 
นักวิชาการหลายคนที่ มาเข้าร่วมการประชุมระดมสมอง “Roadmap  สู่ประชาคมอาเซียน” โดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นพ้องกันว่าอุปสรรคสำคัญสู่การเป็น AEC คือ ทัศนคติ
 
นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการศักยภาพชุมชนมองว่า ปัญหาหลักอยู่ที่ทัศนคติ เนื่องจากที่ผ่านมาเราปลูกฝังคนไทยผ่านการเรียนประวัติศาสตร์มาตลอดว่า เพื่อนบ้านคือข้าศึกศัตรูคนไทยยังรู้สึกดูถูกคนลาว พม่า และกัมพูชาว่าด้อยกว่าเรา ส่วนใหญ่แล้วความขัดแย้งแถบชายแดนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาระดับรัฐกับรัฐ ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ของ 2 ชาติรักใคร่กันดี ไปมาหาสู่กัน แต่แผนที่ มาจากส่วนกลางไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ จึงเป็นผลเสียกับชาวบ้านมากกว่าผลดี ควรให้ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
 
รศ.ดร.พิภพ อุดร จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์ที่ ชี้ว่า ไทยต้องเลิกทำตัวเป็นพี่ใหญ่ที่คาดหวังให้เพื่อนบ้านยอมอ่อนข้อให้แต่ควรทำตัวเป็นเพื่อนที่เท่าเทียมกันซึ่งพร้อมร่วมมือพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ ต่อไปเพื่อนร่วมงานเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนบ้านคนบนรถโดยสาร หรือคนช็อปปิ้งในห้างจะไม่ใช่แค่คนชาติเดียวกับเราแล้ว แต่จะมีประชากรจากเพื่อนบ้านอาเซียนเข้ามาร่วมอยู่ด้วย คนไทยจึงต้องพร้อมเปิดรับค่านิยม ขนบธรรมเนียมของชาติอื่นเราต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการข้ามวัฒนธรรม เพราะการมีคนหลายชาติในที่เดียวกันย่อมต้องเกิดความแตกต่างของวิถีปฏิบัติ
 
รศ.ดร.จุลชีพ ชินวรรโณ จากคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์กล่าวว่า ด้านฮาร์ดแวร์ซึ่งหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่น่าห่วง ที่น่ากังวลคือซอฟต์แวร์ซึ่งคือทรัพยากรคน โดยเฉพาะคนในระดับรากหญ้าซึ่งไม่เข้าใจว่าเป็น AEC  แล้วตัวเองจะได้อะไร และควรทำอย่างไรให้ได้สิ่งนั้นมา การเกิด AEC ในแง่ดีก็เป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ แต่แง่ลบคือมีการแข่งขันรุนแรงขึ้น เกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและบุคลากร ตรงนี้สถาบันการศึกษามีบทบาทสูง ที่ ผ่านมาเราผลิตคนเพื่อทำงานในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต่อไปต้องผลิตคนเพื่อปูอนตลาดแรงงานระดับอาเซียน และต้องสร้างคนที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้กับคนไทยด้วยกันที่ยังไม่พร้อมรับ AEC ช่วยหาข้อมูลแนะนำการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง ช่วยหาตลาดในต่างชาติ แนะแนวทางใหม่ๆ ในการแข่งขันกับคู่แข่งจากชาติอื่นทั้งด้านแพกเกจจิ้งและกลยุทธ์การตลาดที่สอดคล้องกับรสนิยมของกลุ่มเปูาหมายในประเทศเพื่อนบ้าน
 
ด้านความมั่นคงเองก็มีปัญหาที่ ทัศนคติเช่นกัน พลตรีสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อ านวยการศูนย์ยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศให้ความเห็นว่า แนวความคิดที่อาจเป็นอุปสรรคต่อ AEC คือ
 
1) ความคิดด้าน physical security ยังเป็นเช่นเดิม ขณะที่ลาวใช้ตำรวจ พม่า ไทย กัมพูชา และมาเลเซียยังคงใช้ทหาร ดูแลบริเวณชายแดน ทำให้ปัญหาการกระทบกระทั่งอยู่เป็นประจำ
 
2) ยังมีแนวคิดว่าทหารต้องเป็นพระเอกในการบริหารจัดการชายแดน แต่ตอนนี้เริ่มมีการพูดคุยกับมาเลเซียว่า ทหารจะยืนอยู่ข้างหลังเพื่อให้ความมั่นใจว่าพร้อมดูแลความปลอดภัย แต่จะไม่เข้าไปจัดการโดยตรง ให้ฝ่ายการค้า สังคมและวัฒนธรรมเป็นตัวนำ โดยเฉพาะสองประเด็นหลังสุดซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว ระหว่างคนไทยในแถบชายแดนกับคนมาเลเซียทั้งด้านศาสนา ภาษาพูดและการแต่งกาย
 
3) การแทรกแซงจากมหาอำนาจสหรัฐและจีนยังคงมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ เพราะอาเซียนมีผลประโยชน์ให้ตักตวงมาก เราต้องคิดให้รอบคอบว่าจะบริหารจัดการยังไงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เพราะอาเซียนยังต้องพึ่งพาอาศัยมหาอำนาจต่อไป ไม่อาจตัดพี่เบิ้มออกไปได้
 
นางจินตนา ชัยยวรรณาการ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ชี้ว่า การให้ความรู้ประชาชนยังเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ หน่วยงานราชการเองก็ทำงานแบบต่างคนต่างทำ ขาดการประสานงานกัน   อย่างเช่นเรื่อง 3 เสาหลักอาเซียน ซึ่ง ประกอบด้วยการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมคนที่รับข้อมูลก็ไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ และตัวเองมีบทบาทอะไรใน AEC ต้องหาวิธีถ่ายทอดที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ผู้ฟังนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง พูดให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวก็แบบหนึ่ง ให้ความรู้ผู้ที่ปลูกผลไม้ก็ต้องอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนแต่ละกลุ่มได้รับผลกระทบและต้องรับมือกับการเปิด AEC ในแนวทางที่แตกต่างกัน
 
อ้างอิงจาก    ประชาชาติธุรกิจ
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด