บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
8.0K
2 นาที
30 เมษายน 2555
ข้อมูลรายได้ต่อหัว,สัดส่วนอายุ,โครงสร้างประชากรใน AEC
 
ข้อมูลเรื่องโครงสร้างประชากร, รายได้ต่อหัว, อายุ ของคนใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการตลาดแลการลงทุน
 
ประชากรใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีประชากร รวมกันกว่า 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 10% ของประชากรทั้งโลก โดยประเทศใน AEC ที่มีประชากรมากสุดคือ
 
อินโดนีเซีย มีประชากร 245 ล้านคน
 
รองลงมา คือ ฟิลปิ ปินส์ 101 ล้านคน
 
เวียดนาม 90 ล้านคน
 
ไทย 66 ล้านคน
 
พม่า 53 ล้านคน
 
มาเลเซีย 28 ล้านคน
 
กัมพูชา 14 ล้านคน
 
สปป.ลาว 6 ล้านคน
 
สิงคโปร์ 5 ล้านคน
 
บรูไน 0.4 ล้านคน
 
โครงสร้างประชากรของประเทศ AEC
 
โครงสร้างอายุและประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียน
 
สมาชิกอาเซียนโดยรวม มีความคล้ายคลึงกัน โดยประชากรส่วนใหญ่ ในแต่ละประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยทํางาน (มีอายุระหว่าง 15-64 ปี) ทั้งประชากรวัยทำงานมีสัดส่วนราว ร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญของผู้ประกอบการไทย
 
กล่าวคือประชากรวัยทํางานเป็นกลุ่มผู้บริโ ภค ที่มีกำลังซื้อสูงและพร้อมทดลองสินค้าใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่ตอบสนองกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดี  สินค้าที่น่าสนใจที่ทำตลาดใน AEC เช่น สินค้าในหมวดยานยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสินค้าที่มีความแปลกใหม่และดึงดูดให้มีการทดลองใช้
 
รายได้ต่อหัวของประชากรใน AEC
 
รายได้ประชากรต่อคนต่อปี ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะบ่งบอกถึงกำลังซื้อในประเทศนั้น
 
สิงคโปร์และบรูไนจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับสูง ทําให้ผู้บริโตคส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสอง นิยมบริโภคสินค้าที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้าที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึง คุณภาพและความทันสมัยของสินค้าเป็นสำคัญ
 
ขณะที่มาเลเซียจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้บริโภคชาวมาเลยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทาน จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรกสะท้อนได้จากการใช้จ่ายซื้อสินค้าดังกล่าวในระดับสูง เมื่อเทียบกับรายจ่ายด้านอื่นๆนอกจากอาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมรับประทานยังได้รับความนิยมมากขึ้นตามวิถีชาวมาเล ที่เร่งรีบขึ้น
 
สําหรับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สปป.ลาว จัดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ขณะที่กัมพูชา และพม่า จัดอยู่ในประเทศที่มีรายน้อย ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้กำลังซื้อไม่สูง จึงไม่นิยมบริโภคสินค้านำเข้าที่มีราคาสูง โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
 
สำหรับประเทศที่ มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุดเมื่อเทียบกับGDP ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (74% ของ GDP) เวียดนาม (67%) อินโดนีเซีย (59%) ไทย (55%) มาเลเซีย(50%) และสิงคโปร์ (41%) ส่วนตลาดการท่องเที่ยวนั้น พบว่าประเทศที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย (22 ล้านคน) ไทย (14 ล้านคน) สิงคโปร์ (7 ล้านคน)อินโดนีเซีย (6 ล้านคน) และเวียดนาม (4 ล้านคน) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ เอื้อต่อการลงทุน พบว่าคุณภาพของคนในประเทศอาเซียน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
 
ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่
  1. ประเทศที่ ประชากรมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
  2. ประเทศที่มีสัดส่วนต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจต่ำสุดเมื่อเทียบกับรายได้ต่อบุคคล (GNI Per capita) ได้แก่ สิงคโปร์ (0.7%) ไทย (6.3%) บรูไน (9.8%) มาเลเซีย(11.9%) และลาว (12.3%) ตามล าดับ
  3. ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งธุรกิจน้อยที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ (3 วัน) มาเลเซีย (11 วัน) ไทย (32 วัน) เวียดนาม (50 วัน) และฟิลิปปินส์ (52 วัน)
  4. ประเทศที่ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดคือ สิงคโปร์ (5.4%) บรูไน (5.5%) มาเลเซีย (6.1%) ไทย(7.0%) และฟิลิปปินส์(8.8%)
แต่ไม่ว่าตัวเลขของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียนจะเป็นอย่างไร สิ่งหนึ่งที่SMEs ไทยจะต้องคำนึงถึงก็คือ ความพร้อมและความได้เปรียบเชิงโครงสร้าง โดยสาขาที่ ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ได้แก่ สาขาผลิตภัณฑ์อาหารยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาบริการ เช่น การท่องเที่ยว บริการสุขภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและแรงงานที่มีฝีมือแต่แรงงานฝีมือก็อาจมีการเคลื่อนย้ายไปสิงคโปร์ มาเลเซีย เพราะให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ส่วนสินค้าไทยที่ ต้องปรับตัวในแง่ ของการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพมากขึ้น เช่นข้าวโพด ยางพารา ผลไม้แช่แข็ง มันสำปะหลัง อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ และผ้าผืน เป็นต้น
 
โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา  สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม เป็นตลาดส่งออก ที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหม่และการแข่งขันยังไม่รุนแรงมาก โดยควรวางกลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยการส่งออกสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก ประกอบกับ ผู้บริโภคในประเทศดังกล่าวนิยมบริโภคสินค้านําเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากมองว่าเป็นสินค้าค่าที่มีคุณภาพและราคไม่สูงมาก
 
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรีบจากความเชียวชาญในการผลิต สินค้า หลากหลายประเภท และสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไปตลาด AEC โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงเช่น เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

อ้างอิงจาก    ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด