บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.4K
3 นาที
1 เมษายน 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! โพสต์ทูเดย์
 

ใครที่ติดตามข่าวสารก็คงจะทราบอย่างดี กับอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นเรื่องน่าใจหายกับการประกาศยุติเลิกผลิตหนังสือพิมพ์ของ “โพสต์ทูเดย์” ที่จะวางแผงเป็นฉบับสุดท้ายในวันที่ 31 มีนาคม 2562 นี้ อันที่จริงโพสต์ทูเดย์ก็ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์เก่าแก่คู่แผงหนังสือเมืองไทยมานาน
 
โดยเฉพาะคอการเมืองและนักธุรกิจอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ของโพสต์ทูเดย์อยู่เป็นจำนวนมาก การประกาศยุติในครั้งนี้เชื่อได้ว่า “ฉบับสุดท้ายของโพสต์ทูเดย์” จะกลายเป็นของมีค่าและหลายคนต้องหาซื้อมาเก็บไว้เป็นที่ระลึก ก่อนที่โพสต์ทูเดย์จะลาแผงไปในวันที่ 31 มีนาคมนี้
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มี10เรื่องจริงที่น่ารู้กับเส้นทาง 16 ปีหนังสือพิมพ์คุณภาพประจำเมืองไทยฉบับนี้
 
1.จุดเริ่มต้นของ โพสต์ทูเดย์


ภาพจาก goo.gl/Zqo9vR
 
โพสต์ทูเดย์เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2546 ในเครือบางกอกโพสต์ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับภาษาไทย ของบางกอกโพสต์ แต่จะมีเนื้อหาที่หลากหลายตามรูปแบบของ Bangkok Post หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเก่าแก่ของไทย
 
2.โพสต์ทูเดย์ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกในเครือบางกอกโพสต์


ภาพจาก goo.gl/WP6k51, goo.gl/EaUUme
 
โพสต์ทูเดย์ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกในเครือบางกอกโพสต์ เพราะก่อนหน้านั้นเครือบางกอกโพสต์พยายามจะมีหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยมาแล้ว คือ สยามโพสต์ เมื่อปี 2535 แต่ออกมาได้ไม่กี่ปีก็ต้องปิดตัวลง ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ ต่อมาเครือบางกอกโพสต์ก็พยายามอีกครั้ง
 
สำหรับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย แต่ในครั้งนี้เปลี่ยนแนวทางหนังสือพิมพ์ จากเดิมที่ สยามโพสต์ เป็นข่าวการเมืองเศรษฐกิจแบบเข้มข้น มาเป็นแนวธุรกิจที่ในตลาดมีเหลือเพียงแค่ “กรุงเทพธุรกิจ” ในขณะที่ “ผู้จัดการ” เปลี่ยนไปเป็น “เชิงการเมือง” ส่วนที่เหลือเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะกลุ่มในเรื่องหุ้นและการลงทุน
 
3.อาถรรพ์ของบางกอกโพสต์


ภาพจาก goo.gl/ArWcsG
 
ในวันแถลงเปิดตัว “โพสต์ทูเดย์” คุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร ลงมาแถลงสร้างความมั่นใจด้วยตัวเอง แต่เป็นที่รู้กันอยู่ว่าธุรกิจหนังสือพิมพ์ ไม่ได้อยู่ได้ด้วยยอดจำหน่าย แต่มาจากยอดโฆษณา เมื่อปีไหนเศรษฐกิจย่ำแย่งบโฆษณาโดยรวมลดลง
 
ในปีนี้นั้นธุรกิจหนังสือพิมพ์หรือสื่อก็จะย่ำแย่ไปด้วย ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้ นอกจากโพสต์ทูเดย์ที่จะปิดตัวก็ยังมี M2F ที่ประกาศปิดตัวพร้อมกันด้วย และให้มุ่งเน้นการใช้ช่องทางสื่อดิจิทัล เว็บไซต์ และสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น การปิดหนังสือพิมพ์ภาษาไทย 2 ฉบับ ไม่ใช่การพ่ายแพ้เชิงธุรกิจ แต่เป็นการพ่ายแพ้ “เทคโนโลยี” และช่วยย้ำ “อาถรรพ์”ของบางกอกโพสต์อีกครั้งว่าไม่เคยออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
 
4. 5,897 คือตัวเลขสุดท้ายของโพสต์ทูเดย์


ภาพจาก goo.gl/xQKDYX
 
ใน 16 ปีตลอดเส้นทางของโพสต์ทูเดย์วางบนแผงมาแล้ว 5,897 ฉบับ และจะสิ้นสุดตัวเลขนี้ในวันที่ 31 มีนาคม 2562 ถือเป็นเรื่องชวนให้เสียดายกับหนังสือพิมพ์คุณภาพที่อยู่คู่แผงเมืองไทยมานาน แม้การเริ่มต้นของโพสต์ทูเดย์จะไม่ได้สวยหรูและมีปัญหามากมายแต่ทุกครั้งก็สามารถก้าวผ่านมาได้จนถึงครั้งนี้ที่คงต้องถึงเวลาปิดฉากกันอย่างจริงจังจริงๆ 
 
5.พนักงานกว่า 200 คนได้รับผลกระทบ


ภาพจาก goo.gl/joKJy4
 
หลังจากประกาศปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม 2562 นี้ ทางบริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) มีแผนจะปรับให้โพสต์ทูเดย์ไปทำสื่อดิจิทัลเต็มตัว และหลังจากมีมติดังกล่าวแล้ว ได้มีการแจ้งเวียนเพื่อทำความเข้าใจกับพนักงานทั้งหมดสำหรับพนักงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้ง 2 ฉบับ คือโพสต์ทูเดย์และ M2F ซึ่งมีประมาณ 200 กว่าคน บริษัทแจ้งว่าจะได้รับการจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานต่อไป
 
6.ข่าวพาดหัวฉบับแรกกว่าจะได้มาเลือดตาแทบกระเด็น


ภาพจาก goo.gl/b7y5oW
 
ในยุคเริ่มต้นของโพสต์ทูเดย์ นักข่าวเกินครึ่งเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย เรียกว่าไร้ประสบการณ์ก็ว่าได้ แม้ระบบการผลิต การส่งข่าว จัดหน้า ใช้เทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดแต่ยังไม่มีเสถียรภาพ หลายครั้งระบบหยุดลง คามือ ไม่รู้สาเหตุ เป็นข้อผิดพลาดที่ทุกคนต้องเรียนรู้
 
รวมถึงปัญหาใหญ่คือฉบับเปิดตัวในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ที่ยังไม่รู้จะเอาอะไรเป็นข่าวพาดหัว เนื่องด้วยนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น เคือง กลุ่มบางกอกโพสต์ ปฏิเสธไม่ให้สัมภาษณ์ ส่งผลถึงรัฐมนตรีคนอื่นๆ แต่ด้วยความที่ไม่ยอมแพ้ ไม่ถอย สุดท้ายได้เวลา 30 นาที ในการสัมภาษณ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น นำมาลงตีพิมพ์ ก่อนถึงเส้นตายปิดหน้าเฉียดฉิว
 
7.โพสต์ทูเดย์ฉบับวันที่ 10 มิถุนายน 2549 คือที่สุดแห่งความทรงจำ


ภาพจาก goo.gl/Z91TmW
 
สิ่งที่สร้างความปีติแก่ชาวโพสต์ทูเดย์ ไม่มีใดเกินปรากฏการณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับวันเสาร์ที่ 10 มิ.ย. 2549 เป็นช่วงเวลามหาปีติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว

ในหน้าแรกมีเพียงภาพขนาดใหญ่ 1 รูป และภาพประกอบอีก 5 รูป ภาพหลักเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโบกพระหัตถ์ ภาพรอง เป็นพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคียงข้าง
 
หน้า 1 ฉบับนั้น ไม่มีข้อมูลใดๆ ไม่มีการรายงานข่าว มีเพียงตัวอักษร 18 คำ จากบางส่วนของพระราชดำรัส แต่กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สุดแห่งความทรงจำเพราะฉบับดังกล่าวขายหมดแผงในเวลารวดเร็ว ตลอดสัปดาห์เป็นหนังสือพิมพ์หายาก พิมพ์จนเต็มกำลังผลิต มีการแย่งชิงหนังสือพิมพ์ระหว่างทาง ด้วยประชาชนต้องการเก็บไว้
 
8.โพสต์ทูเดย์ยกระดับการทำงานให้มากขึ้นแบบต่อเนื่อง


ภาพจาก goo.gl/oCi5sK
 
โพสต์ทูเดย์ขยับจากหนังสือพิมพ์สู่การ ทำข่าววิทยุ รายงานสดภาคสนาม จัดรายการทุกสัปดาห์ จนกลายเป็น รายการโพสต์ทูเดย์ เรดิโอทอล์ก ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ในแง่องค์กร โพสต์ทูเดย์ เป็นหนังสือพิมพ์ไทยฉบับเดียว ที่ออกไปจัดสัมมนาต่างประเทศ ในกลุ่ม CLMV ทั้ง กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
 
9.สื่อแห่งความเป็นธรรมในช่วงสึนามิ


ภาพจาก goo.gl/nYfnFo
 
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่มพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง แม้สึนามิผ่านพ้นไป ผลกระทบยังเกิดต่อเนื่องชาวบ้านแหลมป้อม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ไม่เพียงถูกสึนามิคร่าชีวิต ทำลายที่อยู่อาศัย แต่หลังจากนั้นยังถูกคุกคามจากทุนที่ต้องการครอบครองที่ดิน ด้วยอำนาจนอกระบบ
 
เมื่อเสียงเดือดร้อนของชาวบ้านกลายเป็นเสียงเบาราวกับปุยนุ่น โพสต์ทูเดย์ได้จัดทีมข่าวเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตะกั่วป่า รายงานสภาพความเป็นจริง ใช้นักข่าวจำนวนมาก หมุนเวียน เป็นเวลาแรมปี ใช้ทรัพยากรมากสุดเท่าที่เคยทำมาเป็นข่าวที่ไม่มีผลต่อยอดโฆษณา ไม่มีผลต่อยอดขายหนังสือ แต่มีผลต่อชุมชนแหลมป้อม ก่อให้เกิดความเป็นธรรม ความสนใจต่อชุมชนแห่งนี้
 
10.โพสต์ทูเดย์หนังสือพิมพ์ที่นำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลง


ภาพจาก goo.gl/x6TCao
 
ช่วงเวลา 16 ปี โพสต์ทูเดย์ นำเสนอข่าวที่สร้างผลกระทบในวงกว้างมากมาย เช่น ข่าวปราสาทเขาพระวิหารในปี 2551 ที่กัมพูชาเดินหน้าขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ระยะแรกแทบไม่มีการโต้แย้งจากไทย ท่ามกลางความแคลงใจในผลประโยชน์เชิงซ้อนจากสัมปทานก๊าซน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อน
 
จากการรายงานข้อมูลในวันแรก ขยายเป็นประเด็นระดับประเทศ เป็นกระแสคัดค้าน เรียกร้องสิทธิของไทย และนำไปสู่การขึ้นฟ้องต่อศาลโลก  หรือข่าวจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทยในอดีตที่โพสต์ทูเดย์นำเสนอข้อมูล ชี้ให้เห็นความเสียหายในระบบเศรษฐกิจ และยกระดับเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง กลายเป็นคดีทุจริตครั้งประวัติศาสตร์


ภาพจาก facebook.com/Posttoday
 
การปิดฉากของโพสต์ทูเดย์ถือเป็นการสั่นคลอนกระบอกเสียงของคนไทยที่มีนานกว่า 16 ปี แต่คิดในอีกแง่มุมหนึ่งโพสต์ทูเดย์ก็ยังไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ขยับจากแพลตฟอร์มตัวหนังสือบนแผงมาสู่ข่าวออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนอ่านและติดตามได้ง่ายขึ้น


ภาพจาก www.posttoday.com
 
เหนือสิ่งอื่นใดไม่ว่าจะยกเลิกการพิมพ์หรือหันหน้าเข้าสู่โลกออนไลน์สิ่งที่ต้องรักษาคือจรรณยาบรรณของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องเน้นความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เห็นประโยชน์ของประชาชนคือสิ่งสำคัญ และเมื่อนั้นกระแสของประชาชนจะกลับมาสู่โพสต์ทูเดย์อย่างถล่มทลายแม้ว่าจะอยู่ในโลกออนไลน์ก็ตาม
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/eyozPD
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด