บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
1 นาที
10 พฤษภาคม 2562
การเขียน Business Plan อย่างง่าย (สำหรับผู้เริ่มต้น)
 

ภาพจาก https://pixabay.com

บทความวันนี้อยากจะเล่าเรื่องของ Business Plan กันหน่อยนะครับ จากหน้าสารบัญ ก่อนเข้าบทที่ 1 จะเป็นหัวข้อ บทสรุปผู้บริหาร
 
แท้จริงแล้วจะต้องทำลำดับสุดท้ายเลยนะครับ เพราะชื่อบอกชัดอยู่แล้วว่า บทสรุป เราต้องตั้งหลักก่อนเขียนนะครับ ว่าใครจะอ่านบทนี้ของเรากันแน่ เสมือนเกร็งข้อสอบ อย่าแค่เขียนให้ครบ ข้อนี้สำคัญนะครับ
 
ผู้จัดการแบงค์ นักลงทุน ก็อยู่ที่โจทย์แล้วว่าเราทำ Business Plan นี้เพื่ออะไร ถ้าเพื่อกู้แบงค์ก็เขียนให้แบงค์เชื่อว่า โครงการนี้สามารถหารายได้ส่งดอกเบี้ยให้กำไรกับแบงค์ได้แน่นอน สามารถผ่านจนคบถ้วนเงินกู้ทั้งหมด
 
แต่ถ้าเขียน เพื่อนำเสนอขอทุนประมาณประกวดฯ ก็เขียนฝัน เขียนแรงบันดาลใจเยอะหน่อย เพื่อกรรมการอ่านแล้วจะได้อินกับโครงการว่ามันอาจจะทำได้หรือไม่ได้ไม่ได้มีผลผูกพันธ์กับทางกรรมการตัดสิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงการนั้นๆด้วยว่าให้ทุนประเภทไหน


ภาพจาก https://pixabay.com
 
แต่ถ้าเขียน เพื่อหานายทุน อาจจะต้องละเอียดมากหน่อยนะครับ เพราะเขาจะต้องดูทุกบทประกอบและบทที่มีความสำคัญ คือ Financial Plan และ Risk Management ในการวางกลยุทธ์จากความเสี่ยงด้านต่างๆ โดยบทสรุปผู้บริการจะต้องชี้ ความคุ้มค่าด้านการลงทุน ที่มี IRR สูง
 
เพราะนักลงทุนต้องการกำไรและขั้นตอนดำเนินธุรกิจทั้งหมดที่จะต้องสรุปถึงความเป็นไปได้ของโครงการประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน และจะต้องตอบคำถามที่จะต้องมีมากมายในแผนที่เรานำเสนอทั้งหมด ก่อนที่ผู้บริหารจะตอบตกลงร่วมลงทุนกับเรา
 
การเขียนสรุปจึงควรเขียนกระซับให้เห็นถึงตลาดที่จะมีเติบโต เติบโตเท่าไรจากที่ผ่านๆมาย้อนหลังประกอบข้อมูลและโอกาสที่เราจะสามารถเข้าถึงส่วนแบ่งการตลาดได้จริง
 
สุดท้ายมันต้องตอบโจทย์ด้านกำไรและผลตอบแทนที่น่าสนใจกับเม็ดเงินที่ลงทุน รวมถึงสัดส่วนที่เป็นธรรมของทุกฝ่ายเพือป้องกันการคัดแย่งหรือผลประโยชน์ หลายองค์กรยังไม่ได้เริ่ม ก็เริ่มส่อแววว่าโครงการจะล้มก่อนจะเริ่มก็มีให้เห็นมาแล้วมากมายนะครับ
 
Business Plan ส่วนใหญ่ก็จะมีประมาณ 10 กว่าบท ในแต่ละบทก็จะมีความสำคัญๆ ตามลำดับของมันอยู่แล้ว


ภาพจาก https://pixabay.com
 
อย่างในบทที่ 1 Company Profile เป็นบทแนะนำองค์กรของเราที่จะต้องแสดงวิสัยทัศน์

Vision / Mission / Promise ขององค์กรเราก่อน รวมถึงแสดงความเชี่ยวชาญ Professional ขององค์กรเราให้ชัดให้น่าประทับ ให้น่าสนใจที่อยากจะอ่านบทต่อไปให้ได้
 
บทที่ 2 จะพูดภาพกว้างๆของตลาดที่เราสนใจ โดยการใช้เครื่องมืออย่าง PESTEL MODEL

มาวิเคราะห์จาก Outside In จะได้เห็นว่า องค์กรเราอยู่จุดไหนของตลาดที่เรากำลังจะลงไปแข่งขัน หรืออาจจะเป็นตลาดใหม่ เป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจทีาจะลงทุน บทนี้ก็มีความสำคัญประมาณนี้นะครับ
 
บทที่ 3 Market Entry คือ ภาพเริ่มชัดมากขึ้นในการนำคู่แข่งขันในตลาดมาจัดกลุ่มว่ามีขนาดมากน้อยเท่าไร
 
เรามีโอกาสจะเข้าตลาดกลุ่มไหน ด้วยกลยุทธ์อะไร การนำเสนอแต่ละบทจะสอดคล้องกันผู้เรียบเรียงต้องพยายามเขียนพรรณนาให้ไปทิศทางเดียวกันกับ Core Business ของเราด้วยนะครับ 
 
ถ้าอ่านแล้วไม่ตรงกับความรู้ความสามารถเรา เรามีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร ก็ต้องนำเสนอด้วย ไม่ต้องรอให้ถามนะครับ
 
วันนี้ทิ้งไว้ 3 บทเท่านี้ก่อนนะครับ ติดตามบทต่อไปในบทความถัดๆไปนะครับ
 
 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด