บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    กฎหมาย SMEs
6.7K
2 นาที
1 มิถุนายน 2555
ปฎิบัติการง่ายๆ เกี่ยวกับธุรกิจ SMEs

1. การจัดทำบัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายของบุคคลธรรมดาที่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • เป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง
  • เป็นผู้ประกอบการที่มีเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวัน ซึ่งเรียกว่า “รายงานเงินสดรับ-จ่าย”
  • ประโยชน์ของการจัดทำ “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบรายได้ รายจ่ายและผลกำไร นอกจากนั้น ยังนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ด้วย
2. การหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ผู้ประกอบการที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี หรือเงินได้ประจำปีภาษี สามารถเลือกหัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละของเงินได้พึงประเมิน ตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงได้ หากค่าใช้จ่ายจริงสูงกว่าค่าใช้จ่ายเหมา
  • อัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร จะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 11 สำหรับเงินได้มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11 จะต้องหักค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น
  • การหักค่าใช้จ่ายตามจริง ให้นำมาตรา 65 ทวิ และ มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาบังคับใช้โดยอนุโลม
** ศึกษาได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11

3. กิจการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  • กิจการที่เป็นขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือกิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมากสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้
  • การขายปลีก เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย มิได้มีวัตถุประสงค์นำไปขายต่อ เช่น ขายของชำ ขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • การให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด เป็นต้น
** ศึกษาได้จาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)

4. ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี หากขายสินค้าหรือให้บริการครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าหรือการให้บริการรายย่อยที่ประกอบกิจการดังนี้
  • ขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีเดือนใดถึง 300,000 บาท หรือ
  • ขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีสถานประกอบการเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายลักษณะทำนองเดียวกันหรือ
  • การให้บริการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือลักษณะทำนองเดียวกัน ที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน
**ผู้ประกอบการรวบรวมมูลค่าการขายหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ใน 1 วันทำการเพื่อจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเพียง 1 ฉบับ เพื่อใช้ประกอบการลงรายงานภาษีขาย
**กรณีผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการร้องขอใบกำกับภาษี จะต้องออกใบกำกับภาษีให้
**ศึกษาได้จาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154)

5. ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท
  • เป็นสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับอนุมัติเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก
** หากผู้ซื้อน้ำมันร้องขอใบกำกับภาษี จะต้องออกใบกำกับให้
** ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 54)

6. การออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งใน 1 วัน
  • สามารถออกใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวใน 1 วันทำการได้
** ศึกษาได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2542

7. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ในแต่ละวันตั้งแต่ 100 ฉบับขึ้นไป
  • หากได้จัดทำรายงานสรุปการขายประจำวันไว้ ไม่ต้องลงรายงานภาษีขายเป็นรายใบกำกับภาษี จะลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวัน ในรายงานภาษีขายได้ และต้องลงรายการภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี
** ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ข้อ 7

8. การลงรายการรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  • ลงรายการเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ได้รับ หรือพึงได้รับและให้ลงรายการภายใน 3 วัน
  • ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และรายการสินค้าหรือบริการ
* ศึกษาได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) ข้อ 7

9. ขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน (ภ.พ.30)
  • โดยปกติผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นแบบเสียภาษี (ภ.พ.30) เป็นรายสถานประกอบการ กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง
  • ผู้ประกอบการสามารถขออนุมัติยื่นแบบและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ หรือสาขาใดสาขาหนึ่งได้ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย
** การจัดทำรายงานภาษีขาย ภาษีซื้อ รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะ ได้รับอนุมัติให้ยื่นแบบและชำระภาษีรวมกันหรือไม่

10. หลักฐานประกอบรายจ่าย กรณีผู้รับเงินไม่มีใบเสร็จรับเงินให้
  • รายจ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายให้บุคคลธรรมดาทั่วไป เช่น ค่าแรงงาน โดยปกติผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ ทางออกก็คือให้ผู้จ่ายเงินทำเอกสารโดยระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ ของผู้รับเงิน การจ่ายเงินเป็นค่าอะไร จำนวนเงินเท่าไร วัน เดือน ปี ที่รับเงิน พร้อมลงลายมือชื่อของผู้รับเงิน หรือจะมีสำเนาบัตรประชาชน ประกอบหลักฐานด้วยจะดียิ่งขึ้น
อ้างอิงจาก ประมวลรัษฎากร ฉบับอิเล็กทรอนิกส์
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด