บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
3.8K
2 นาที
30 พฤษภาคม 2562
5 วิธีจัดร้านค้าดึงดูดใจลูกค้าในปี 2019
 

ท่ามกลางกระแสการแข่งขันรุนแรงในวงการค้าปลีกยุค 2019 ที่ไม่ใช่แค่แข่งกันเอง แต่ต้องเจอกับ “ตลาดออนไลน์” และ “สภาพคล่องทางการเงิน” ที่ไม่คล่องของคนซื้อ สถิติชี้ชัดว่าเพื่อความอยู่รอดหลายแบรนด์เลือกลดขนาดกิจการด้วยการปิดสาขาที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือบางธุรกิจถึงกับขายกิจการให้ควบรวมไปกับแบรนด์อื่น เห็นแบบนี้แล้ว คงคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
 
แต่ในความเป็นจริง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าการพัฒนาตัวเองให้ร้านค้าปลีกกลายเป็นตัวเลือกของลูกค้า โจทย์ใหญ่คือทำอย่างไรให้ลูกค้าอยากเข้าร้าน ทำอย่างไรให้วิธีการขายมีความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น เรื่องเหล่านี้หากทำได้ ร้านค้าปลีกธรรมดาๆ ก็จะกลายเป็นร้านค้าปลีกที่กำไรดีได้เช่นกัน
 
1.จัดร้านให้ลูกค้ามีความเป็นส่วนตัวในการช็อปปิ้งมากขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2YXtQrE
 
เหตุผลส่วนหนึ่งเวลาไปร้านค้าแล้วมีพนักงานมายืนกดดันข้าง ๆ ในแง่ดีคือมีอะไรก็จะได้ถาม แต่ในแง่ร้ายคือความไม่เป็นส่วนตัว หรือบางทีร้านค้าปลีกมีการจัดร้านแบบมีอะไรก็วางๆ ไป ลูกค้าจะหาซื้ออะไรสักอย่างก็ต้องไปถามเจ้าของร้าน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดภาพจำที่มองว่าร้านค้าปลีก “ไม่มีความเป็นส่วนตัว”  ซึ่งขัดแย้งกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่ต้องการทำอะไรเป็นส่วนตัวแม้แต่การเลือกสินค้า
 
นั่นคือหน้าที่ของร้านค้าปลีกยุคใหม่ที่ต้องจัดร้านใหม่ วางสินค้าให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการค้นหา ไม่ว่าร้านจะเล็กหรือใหญ่ เราคิดว่าการจัดระเบียบร้านในรูปแบบนี้คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ร้านค้าปลีกมีคุณภาพและดึงดูดคนได้มากขึ้น
 
2.พนักงานต้องไม่ใช่แค่พนักงาน


ภาพจาก bit.ly/2HIVfYO
 
พนักงานก็คือส่วนหนึ่งของร้าน อาจจะขัดแย้งกับข้อแรกที่บอกว่าขอความเป็นส่วนตัว แต่พนักงานที่ดีต้องรู้จังหวะว่าควรให้ข้อมูลตอนไหน พนักงานจึงต้องสังเกตลูกค้าว่าต้องการความช่วยเหลือหรือเปล่า ร้านค้าปลีกที่ดีพนักงานต้องให้ข้อมูลลูกค้าได้อย่างเหมาะสม จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ของร้านให้ดูดียิ่งขึ้น
 
ร้านค้าปลีกยุคเก่าจะเป็นลักษณะเถ้าแก่ หรือลุง ป้า ที่มาขายของ บางคนหน้าตาไม่รับแขก บางคนพูดจาห้วนๆ แบบจะซื้อก็ซื้อไม่ซื้อก็อย่าซื้อ เมื่อก่อนในยุคที่ร้านค้าปลีกไม่มีตัวเลือก ร้านค้าแนวนี้อาจจะพอขายได้แต่ในยุคนี้กับวิธีการเดิมๆ รับรองว่ารอวันเจ๊งสถานเดียว
 
3.เพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน


ภาพจาก bit.ly/2HKJvoE
 
จากผลสำรวจพบว่าคนยุคใหม่มีการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลมากขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นนั้นคือการใช้สมาร์ทโฟน ที่เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว โดยในประเทศไทยมีอัตราส่วน 32 % เป็นคนกลุ่ม Gen Y ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดระบบการใช้เงินแบบใหม่ นั่นคือ Cashless systems หรือระบบไร้เงินสด
 
หากร้านค้าปลีกไม่สามารถนำเสนอความสะดวกสบายในระบบชำระเงิน ก็มีโอกาสสูงมากที่จะไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้าในกลุ่ม Gen Y ที่สำคัญการไม่พัฒนาระบบการเงินให้ทันยุคสมัยก็จะลดโอกาสในการเติบโตของร้านค้าปลีกไปโดยปริยาย
 
4.นำเทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟน มาใช้ทางการค้า


ภาพจาก bit.ly/2wpGrIa
 
จากผลสำรวจพบกว่า มียอดการซื้อสินค้าผ่านทางสมารท์โฟนถึง 66% มากกว่าจำนวนสถิติของผู้ซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่วไป นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนไม่จำเป็นต้องหยุดอยู่ที่ลูกค้าเพียงเท่านั้น พนักงานขายก็สามารถใช้เทคโนโลยีที่นี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการขาย
 
เช่น การเข้าถึงแคตตาล็อคสินค้า ดูประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้า เพื่อจะได้แนะนำและมีข้อมูลพูดคุยกับลูกค้าได้มากขึ้น ยิ่งร้านค้ามีข้อมูลลูกค้ามากเท่าไหร่โอกาสที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจและขายของได้มากขึ้นก็มีโอกาสสูงเช่นกัน
 
5.บริการจัดส่งที่รวดเร็ว และบริการรับคืนสินค้า


ภาพจาก bit.ly/2YUXcqO
 
สิ่งสำคัญที่ทำให้คนหันไปซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนหนึ่งเพราะ “ราคา” ที่ถูก ทำให้ร้านค้าปลีกหลายแห่งเจอปัญหานี้ ซึ่งทางแก้ไม่ใช่การไป “ลดราคาสู้” แต่ต้องสู้ด้วย “บริการจัดส่งสินค้า” ปัจจุบันมีธุรกิจขนส่งสินค้ามากมายให้เราเลือกใช้ ร้านค้าปลีกต้องแสดงจุดยืนว่า สินค้าที่ซื้อจากร้านของเรานั้นจะส่งถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วและปลอดภัย และถึงแม้ราคาอาจจะสูงกว่าตลาดออนไลน์บ้าง แต่สิ่งที่ลูกค้าได้รับจะคุ้มค่ายิ่งกว่า  ซึ่งวิธีการนี้เป็นการตลาดยุคใหม่ที่หากผู้ประกอบการรายใดมองข้ามเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ธุรกิจมียอดขายไม่ได้ตามเป้า
 
ด้วยปัจจัยเหล่านี้หลายคนก็อาจจะพูดอีกว่า ร้านค้าปลีกที่เจ๊งๆ หรือปิดสาขาไป เขาก็ทำแบบนี้ บางทีทำดียิ่งกว่าที่เราพูดด้วยซ้ำแต่ทำไมยังเจ๊ง??? คำตอบคือ ปัจจัยที่ส่งเสริมมีมากกว่าที่เราพูดถึง เบื้องต้นคือประมาณนี้ แต่เอาจริงๆ การอยู่รอดของธุรกิจค้าปลีกก็ต้องอยู่ที่การบริหารจัดการภายใน เรื่องต้นทุนการผลิต รวมถึงต้นทุนพนักงาน
 
เมื่อต้นทุนยังเท่าเดิมแต่ยอดขายลดลงรายได้ก็ลดลงสุดท้ายเพื่อรักษาบริษัทให้อยู่รอดไม่ปรับลดพนักงานก็ต้องปิดบางสาขาที่จะช่วยลดรายจ่ายให้น้อยลง เหนือสิ่งอื่นใด คือการที่ธุรกิจค้าปลีกเองต้องวางแพลตฟอร์มของตัวเองให้ถูกต้องเหมาะสม หาโอกาสใหม่ๆ และสร้างทางเลือกให้ธุรกิจมากขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้มากขึ้นด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,786
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด