บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
4.3K
3 นาที
4 มิถุนายน 2562
กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
 

ภาพจาก https://pixabay.com

การทำธุรกิจ “คน ” จัดเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมากของ SME แต่ส่วนใหญ่จะมองข้ามเรื่องของคน
 
วันนี้จะขอมาแบ่งปันประสบการณ์เรื่องของคนกันบ้าง  เราต่างเข้าใจเรื่องของแผนกบุคคลเป็นแค่แผนกรับสมัครงาน เสมือนเป็นฝ่ายปกครองประจำองค์กร ที่จะตรวจเรื่องขาด ลา มาสายและการจัดเตรียมข้อมูลให้ผู้บริหารในการปรับขึ้น เงินเดือน โบนัส และทำโทษในกรณีทำผิดระเบียบของบริษัท ซึ่งผู้เขียนเองก็เคยทำงานในองค์กรที่มีพนักงาน 400 คนมาก่อนเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว
 
“กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ “ คือ กระบวนของการพัฒานาบุคลากรขององค์ที่ต้องวางแผนตั้งแต่การรับพนักงาน การอบรมพนักงานให้ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ พร้อมประเมินผลงานของพนักงานให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดบทบาทหน้าที่และขอบเขตของความรับผิดชอบ รวมถึงการสร้างรูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
 
วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 
  • ความเชื่อหรือค่านิยมที่มีร่วมกันของคนในองค์การ
  • พฤติกรรมการแสดงออกของคนในองค์การที่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน อย่างสม่ำเสมอ
  • สัญลักษณ์หรือความหมายที่ใช้ร่วมกัน
คุณลักษณะในการประเมินแก่นของวัฒนธรรมองค์การ


ภาพจาก https://pixabay.com
  • การส่งเสริมนวัตกรรมและกล้าที่จะเสี่ยง (Innovation and risk taking)
  • การใส่ใจในรายละเอียด (Attention to detail)
  • การมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome orientation)
  • การมุ่งเน้นบุคลากร (People orientation)
  • การมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (Team orientation)
  • ความมุ่งมั่นและกระตือรือร้นขององค์การ (Aggressiveness)
  • การป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งภายในองค์การ (Stability)
ระดับของวัฒนธรรมองค์การ
  •  วัฒนธรรมทางกายภาพ  (Artifact) วัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ การออกแบบ เครื่องแบบพนักงาน
  • ค่านิยม (Value) ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ควรจะเป็นในองค์การ ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
  • ฐานคติ (Assumption) การคิดหรือการกระทำเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายซึ่งยอมรับปฏิบัติโดยไม่สงสัยหรือตั้งคำถาม มาตรฐานการทำงาน
 
จากตารางบ่งบอกอะไรกันบ้าง สิ่งที่คาดหวังของคนต่อองค์กรนั้นๆ

การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบ “กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ “ เพราะไม่ต้องการความผิดพลาดในการบริหารงานที่ส่งผลกระทบกับองค์กร มาดูรายละเอียดจำแนกเป็นข้อๆกัน
  1. การจ้างคนไม่เหมาะกับงาน
  2. การเสียเวลากับการคัดเลือกพนักงานที่ไม่ได้ประโยชน์
  3. การพบว่าพนักงานไม่ได้ตั้งใจทำงาน
  4. อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง
  5. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยกับพนักงาน
  6. การฟ้องร้องทางด้านกฎหมายแรงงาน
การคัดสรรบุคลากรเข้าทำงานกับองค์การ (Selection)

ประเภทของกลุ่ม


ภาพจาก https://pixabay.com
  • กลุ่มบังคับบัญชา
  • กลุ่มปฏิบัติงาน
  • กลุ่มผลประโยชน์
ลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ดี ทีมงานรับรู้นโยบาย จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานอย่างทั่วถึงด้วยความเข้าใจกัน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตนเองมากที่สุด การกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานของสมาชิก ต้องมีความชัดเจนและเข้าใจกัน เพื่อให้สมาชิกทุกคนรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานเสมอ

การแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าสาเหตุมาจากอะไรก็ตาม จะต้องคำนึงถึงทุกฝ่ายเป็นสำคัญ ต้องมีความเชื่อถือไว้วางใจกัน แต่ละคนต้องมีความจริงใจ และความซื่อสัตย์ต่อหน่วยงาน
ภาวะผู้นำ คือ สิ่งแรกที่องค์กรต้องมี The Manager การตัดสินใจ การเลือกทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในทางเลือกที่มีอยู่ตั้งแต่สองทางขึ้นไป ผู้บริหารทุกระดับในองค์การต้องตัดสินใจเสมอ


ภาพจาก https://pixabay.com
 
Decision Making Process กระบวนการตัดสินใจ 8 ขั้นตอน
  1. Identify a Problem ระบุปัญหา
  2. Identification of Decision Criteriaระบุเกณฑ์ที่จะใช้ตัดสินใจ 
  3. Allocation of Weights to Criteria กำหนดน้ำหนักให้กับเกณฑ์เหล่านั้น
  4. Development of Alternativesกำหนดทางเลือก
  5. Analysis of Alternatives วิเคราะห์ทางเลือก
  6. Selection of an Alternative เลือกทางเลือก 
  7. Implementation of the Alternative  ดำเนินการตามทางเลือก
  8. Evaluation of Decision Effectiveness ประเมินผลการตัดสินใจ
ความสำคัญของผู้นำที่จะต้องตัดสินใจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่จะเป็นผู้นำ ทำอย่างไร
 
Leader ผู้นำ หมายถึงผู้ที่มีความสามารถหรือศิลปจูงใจให้ผู้อื่นคิดตามหรือปฏิบัติตาม
Leadership ความเป็นผู้นำ สิ่งที่ผู้นำกระทำ ซึ่งก็คือ กระบวนการจูงใจให้กลุ่มหรือองค์การปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มหรือขององค์การนั้น

ทฤษฎี Trait Theories คุณลักษณะของผู้นำ 7 ประการ
  1. Drive  มีพลังความพยายาม ความความกล้าที่จะฝ่าฟันอุปสรรค ทำให้งานที่รับผิดชอบประสบผลสำเร็จ
  2. Desire to Lead  มีความมุ่งมั่นที่จะมีอิทธิพลหรือนำผู้อื่นโดยการจูงใจให้ผู้อื่นร่วมทำงานด้วยความเต็มใจ
  3. Honesty and Integrity  มีความซื่อสัตย์และความมั่นคงมีวินัย เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือ และศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  4. Self-Confident มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
  5. Intelligence มีความเฉลียวฉลาด สามารถรวบรวมวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูล เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ และตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
  6. Job-Relevant Knowledge มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน
  7. Extraversion  มีพลังมีความกระตือรือร้น ชอบสังคม สามารถพูดคุยกับผู้อื่น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
เมื่อได้ผู้นำที่ดีแล้ว ก็สร้างทีมที่ดีได้ไม่ยาก ทั้งหมดเกิดจากการออกแบบอย่างมีเป้าหมาย เราจึงเรียกว่า กลยุทธ์


ภาพจาก https://pixabay.com
 
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ แต่ยังคงมีอีกหลายเรื่องที่แผนกทรัพยากรมนุษย์จะต้องจัดเตรียมในการควบคุมหรือ Controlling ทรัพยากรให้ได้ตามแผนขององค์กรก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ ขอสรุปเรื่องนี้กันคร่าวๆ
การควบคุม คือ กระบวนการในการตรวจสอบกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจ ว่าจะบรรลุผลสำเร็จตามแผนการ หากไม่เป็นไปตามแผนก็จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข การควบคุมอาจแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
  1. Market Control การควบคุมโดยใช้กลไกของตลาด เป็นการควบคุมในเรื่องการดำเนินธุรกิจ เช่นการแข่งขันในราคาและการส่งเสริมการตลาดต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เน้นเรื่องของกำไรหรือความคุ้มทุน
  2. Bureaucratic Control การควบคุมโดยใช้กฏ ระเบียบขององค์การ เช่นการควบคุมตามสายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ กฏ ระเบียบ วิธีปฏิบัติ และนโยบาย เป็นการควบคุมมาตรฐานในกิจกรรมต่างๆ เช่นการกำหนดหน้าที่ของพนักงานโดยใช้  Job Description หรือการกำหนดงบประมาณ Budget
  3. Clan Control  การควบคุมโดยวัฒนธรรมองค์การ เป็นการกำหนดพฤติกรรมของพนักงานตามค่านิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อ และวัฒนธรรมองค์การ เป็นแนวทางที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา

กระบวนการควบคุม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
  1. Measuring – การวัดผล
  2. Comparing – การเปรียบเทียบ
  3. Taking Managerial Action – การจัดการแก้ไข
เนื้อหาของบทความส่วนหนึ่งที่เป็นทฤษฎีก็ได้ความรู้มาจากวิชาเรียนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่จะช่วยให้เราออกแบบคนได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น การจัดสรรหน้าที่จึงจำเป็นอย่างมากในการสร้างองค์กรที่เข้มแข็ง ยังคงมีความรู้ดีๆที่จะมาเขียนกันต่อเรื่องของคนในบทความถัดไปครับ

 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
794
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
423
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด