บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.3K
2 นาที
26 มิถุนายน 2562
ฉลองบทความที่ 40 มุมมองของที่ปรึกษา


จากประสบการณ์ที่ต้องผ่านการพูดคุยกับผู้ประกอบการในหมวกของที่ปรึกษากับหมวกของอาจารย์ที่ต้องถ่ายทอดความรู้ ตาม Couse out Line ที่แสดงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการจัดการ
 
คอร์สการเรียน การสอน การอบรมสัมมนาหรือเรา บางทีอาจจะเรียกว่า Couse Syllabus เรียกให้เข้าใจง่าย ก็คือ แผนการสอน ที่ต้องระบุ เนื้อหารายวิชา ( Course  Description ) ที่ต้องบอกความสำคัญของวิชาที่จะสอนให้คนที่เรียนได้เข้าใจถึงเนื้อหาของวิชานั้น เรียนแล้วจะได้ประโยชน์ในแง่ไหนบ้าง

ที่บอกให้ทราบว่า วิชานี้มีเนื้อหาสาระที่ต้องเรียนต้องสอนอะไรบ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงการเรียน โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือความคาดหวังสำหรับคนที่เรียนหรือผู้ที่อบรมจะได้รับความรู้ตามที่กำหนด
 
ขอยกตัวอย่างหลักสูตรแฟรนไชส์
 
หัวข้อการบรรยาย :
  • รูปแบบและการขยายธุรกิจ
  • การวางแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • การสร้างธุรกิจให้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์
  • โครงสร้างการบริหารธุรกิจแบบแฟรนไชส์
  • ค่าธรรมเนียมและการคำนวณค่าแฟรนไชส์
  • หัวใจของการทำธุรกิจระบบงานสาขาและแฟรนไชส์
  • โครงสร้างการทำงานของระบบแฟรนไชส์

หลักสูตรเหมาะสำหรับ : เจ้าของธุรกิจ, คนที่อยากทำธุรกิจตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์  วิธีการสอน การบรรยายสอนตามหลักวิชาการ เสริมด้วยประสบการณ์ พร้อมให้ผู้ร่วมเข้าอบรมได้นำเสนอแนวคิดร่วมกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ที่แตกต่างกัน สร้างบรรยากาศการอบรมที่ดี สร้างเครือข่ายธุรกิจ

แฟรนไชส์ที่ดีร่วมกัน เพื่อพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับผู้ประกอบการที่สนใจที่จะเลือกกลยุทธ์แฟรนไชส์ในการที่ขยาธุรกิจให้เติบโต อุปกรณ์สื่อการสอน อุปกรณ์สื่อการสอนคำบรรยายได้แก่ แผ่นใส คงไม่มีแล้วมังครับที่ต้องมาปิ้ง สไลด์ เหมือนสมัยยุคเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ตำราและเอกสารประกอบคำบรรยายจัดทำเป็น Power Point หมดแล้ว

การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

การวัดผลสัมฤทธิ์ในการอบรม โดยการสอบถามโดยตรงจากผู้เข้าร่วมอบรม หรือ ถามจากเอกสารที่ทำแจกเพื่อประเมินคนเรียนและประเมินคนสอน ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับคนออกแบบหลักสูตรนั้นเอง

การประเมินผลการเรียน

ใช้วิธีตัดเกรด คือ การเรียนในระบบ แต่การอบรมสัมมนาสิ่งที่สำคัญผู้เรียนคงต้องลงมือปฎิบัติ
และสอบถามเมื่อไม่เข้าใจในสิ่งที่สอนกลับมายังตัวผู้สอนเอง ส่วนตัวผู้อบรมจะเป็นคนที่ประเมินเองว่าได้ประโยชน์หรือไม่

กำหนดการ :
  • 09.30 - 10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.00 - 12.00 น. บรรยายหัวข้อ “การสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ (เริ่มต้น) ”
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 - 14.45 น. บรรยายหัวข้อ “โครงสร้างการบริหารธุรกิจแบบแฟรนไชส์”
  • 14.45 - 15.00 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 15.00 - 16.00 น. ถาม+ตอบ

อีกหนึ่งหมวกของที่ปรึกษา จากประสบการณ์ที่เจอในฐานะที่ปรึกษา 90 % มักจะบอกไม่เคยรู้และมีประสบการณ์ด้านนี้เลย ก็จะมี 2 กลุ่ม  

กลุ่มที่ 1. มีคำถามมากมายแบบนี้ง่ายกับที่ปรึกษาครับ เพราะตอบในสิ่งที่ผู้ประกอบการอยากรู้ตามธงที่อยากได้ ส่วนที่ปรึกษาที่นี้ก็ต้องฟังและทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการ พร้อมตั้งคำถาม รวมถึงแนะนำวิธีการ การแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้กับผู้ประกอบการเคสแบบนี้ที่ปรึกษาต้องมีความเชี่ยวชาญพอที่จะตอบ

เพราะที่ปรึกษาก็มิได้ชำนาญในทุกๆ เรื่องเช่นกัน เพราะในแต่ละธุรกิจก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องคน เรื่องขาย รวมถึงเรื่องผลิต ที่ปรึกษาต้องจับประเด็นและเจาะประเด็นปัญหาให้ถูกที่ หรือเข้าใจ Pain Point ของผู้ประกอบการได้นั้นเอง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งไม่ยากที่จะช่วยในการแนะนำและนี้ก็ คือ หน้าที่ของที่ปรึษาที่ดี เขาต้องมีปัญหา เขาถึงมาถามหาที่ปรึกษานั้นเอง 

กลุ่มที่ 2. ไม่มีคำถามใดๆ เลย กลุ่มนี้ค่อนข้างยาก สิ่งที่ผู้ให้คำปรึกษาต้องทำ คือ ถาม แต่ประเด็นสำคัญต้องเข้าใจพื้นฐานของผู้ประกอบการด้วย ว่าเขาอยู่ Level ไหน บางครั้งใส่ทับศัพท์ที่ยาก เขาไม่เข้าใจ ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการสับสน สิ่งเหล่านี้ก็อยู่ที่ผู้ให้คำปรึกษาแล้วครับ ว่าผ่านชั่วโมงบินมามากพอไหม กล้าที่จะถามและตอบได้จริงไหม 


ตัวอย่างล่าสุด ผู้ประกอบการต้องการทำแฟรนไชส์ เดิมเป็นโรงงานผลิต ปัจจุบันยอดผลิตลดลง เพราะคนผลิตมากขึ้น การนำเข้ามากขึ้น หรือ สินค้าไม่เป็นที่นิยม จึงอยากทำแฟรนไชส์ในการเพิ่มยอดผลิต เคสนี้ไม่ได้ผิดนะครับ เพราะไม่ทำอะไรเลย ยอดขายปีละ 30 ล้านบาทก็จะลดลง แต่ที่ปรึกษาที่ดีต้องพยายามถามหาปัญหาที่แท้จริง จึงจะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดจริงๆ

ประเด็นนี้สำคัญนะครับ ยิ่งไปเจอที่ปรึกษาที่หวังแต่ได้ ก็จะพาไปแก้จุดที่ไม่ใช่ปัญหา อาจจะเป็นการเพิ่มปัญหามากขึ้นก็ได้ จรรยาบรรณจึงสำคัญมากที่ปรึกษาที่ดีต้องช่วยเขาได้จริง ไม่ใช่หวังแต่กอบโกย ดีใจที่ได้มีโอกาสได้ทำงานดีๆแบบนี้ครับ

เห็นไหมครับบทบาทและหน้าที่มันต่างกันในหมวกของอาจารย์และที่ปรึกษาทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการจะเลือกใช้เครื่องมือแบบตามลำดับหรือแบบลัดวิธีปฎิบัติแล้วครับ

 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
  

ท่านใดสนใจอยากรับปรึกษาแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด