บทความทั้งหมด    บทความสร้างอาชีพ    ความรู้ค้าขาย    ความรู้สร้างอาชีพ
23K
2 นาที
28 มิถุนายน 2562
เปิดสูตรคิดต้นทุน ร้านสังฆภัณฑ์ ตั้งราคาแค่ไหน ไม่ให้เจ๊ง
 

ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสายบุญจึงได้รับความนิยม เทศกาลงานบุญในเมืองไทยมีเยอะมาก ตั้งแต่งานบวช เข้าพรรษา ออกพรรษา อาสาฬหบูชา วิสาขบูชา หรือแม้แต่ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่  ถวายเทียนเข้าพรรษา กฐิน ผ้าป่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่พูดมาล้วนแต่เกี่ยวข้องกับ “ร้านสังฆภัณฑ์” ทั้งสิ้น
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าธุรกิจร้านสังฆภัณฑ์เป็นการลงทุนที่น่าสนใจแต่ก็ใช่ว่าใครก็ได้ที่จะเข้ามาทำแล้วไปรอด หลายคนที่เคยลองทำกลับเจ๊งไม่เป็นท่า ทั้งที่สินค้ามีความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องตลอดปี อะไรคือเหตุผลของคนที่ทำแล้วไม่รอด ในขณะที่บางร้านกลับอยู่รอดปลอดภัยมีกำไรดีเว่อร์  ลองมาไล่เรียงดูเรื่องนี้กันทีละประเด็นว่าเป็นอย่างไร
 
เริ่มต้นเปิดร้านสังฆภัณฑ์ต้องทำอย่างไร?
1.สำรวจตัวเองว่ามีความรู้ในเรื่องสายบุญดีแค่ไหน
 

ภาพจาก www.facebook.com/SakolpanichParnburi/

อย่าคิดว่าเปิดร้านสังฆภัณฑ์แค่ใครอยากมาซื้ออะไรก็ขาย ขาย และขาย  ในความจริงแล้วไม่ใช่ ลูกค้าจำนวนมากอาจไม่เข้าใจในศาสนพิธีต่างๆ ไม่รู้ว่าต้องใช้อะไร ต้องเตรียมอะไร หน้าที่ของร้านสังฆภัณฑ์คือแนะนำลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เน้นย้ำคำว่า “ถูกต้อง” ไม่ใช่แนะนำแบบงูๆปลาๆ หรือแนะนำแค่ให้ขายของได้ บางทีการแนะนำอาจไม่ได้หมายถึงให้ลูกค้าซื้อสินค้าในร้าน ธุรกิจร้านสังฆภัณฑ์ที่ขายดีมีลูกค้าติดใจเพราะเขาชำนาญในเรื่องนี้มาก
 
2.มีเงินทุนเริ่มต้นพอที่จะซื้อสินค้าได้มากพอ
 

ภาพจาก www.facebook.com/SakolpanichParnburi/

จะกำหนดว่าเงินทุนแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดร้านว่าใหญ่แค่ไหนด้วย หากเป็นร้านขนาดเล็กทั่วไปใช้เงินทุนเบื้องต้นก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 100,000 -200,000 หากร้านใหญ่ขึ้น งบในการลงทุนก็ต้องมากขึ้น สินค้าในร้านก็ต้องมีมากพอทั้งอุปกรณ์ศาสนพิธี พระพุทธรูป  และเครื่องปัจจัยไทยธรรมต่างๆ  สำหรับสินค้าบางอย่างอาจใช้วิธีการแนะนำหรือกินเปอร์เซ็นต์ส่วนต่างเช่น การหล่อพระพุทธรูปต่างๆ เป็นต้น
 
3.ทำเลเปิดร้านต้องย่านชุมชน

ทำเลเด่นไม่ได้ก็ต้องได้ทำเลรอง หรืออย่างน้อยก็ขอให้ได้อยู่ในทำเลที่คนพลุกพล่าน เราจะเห็นร้านสังฆภัณฑ์ส่วนใหญ่เปิดตามตลาดสด หรืออยู่ในย่านชุมชน เพราะพื้นที่เหล่านี้มีจำนวนคนพลุกพล่านโอกาสขายสินค้าก็มีทั้งจากลูกค้าประจำและลูกค้าขาจร อย่าคิดเปิดร้านในที่คนไม่ค่อยเดินผ่าน โอกาสขาดทุนมีสูงมาก
 
4.บริการหลากหลายจัดส่งให้ลูกค้าได้
 

ภาพจาก www.facebook.com/SakolpanichParnburi/

ลูกค้าที่มาไม่ได้มีรถมากันทุกคน บางคนมาซื้อของจำนวนมากแต่ไม่สะดวกจะเอากลับ ร้านค้าควรมีบริการจัดส่งให้ถึงบ้านในบางกรณี หรือบางครั้งลูกค้าอาจจะมาสั่งสินค้าไว้ใช้ในงานบุญต่างๆ ร้านค้าอาจมีบริการจัดส่งให้ถึงสถานที่ในวันงานที่กำหนดจะช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
 
5.ราคาขายต้องไม่แพงเว่อร์
 

ภาพจาก www.facebook.com/SakolpanichParnburi/
 
รู้ว่าการทำธุรกิจก็ต้องการกำไรกันทุกคนแต่ขึ้นชื่อว่าร้านสังฆภัณฑ์ที่คนจะมองว่าเป็นธุรกิจสายบุญ การตั้งราคาขายควรให้สมเหตุสมผลและไม่ถือเอากำไรจนเกินงาม ในบางครั้งอาจมีบ้างที่ต้องช่วย “ทำบุญ” ให้กับลูกค้าไปบ้าง หรือบางทีก็ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่า ทอดกฐินในบางโอกาส จะเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ธุรกิจสายบุญของเราให้ดียิ่งขึ้น
 
ตั้งราคาสินค้าแบบไหน ให้ธุรกิจไปรอด
 
อย่างที่กล่าวว่าทำธุรกิจก็ต้องหวังกำไร ร้านสังฆภัณฑ์ก็เช่นกัน การจะคำนวณต้นทุนกำไรให้ชัดเจน ก็ต้องไปดูว่าเปิดร้านขนาดใหญ่แค่ไหน มีค่าเช่าที่แพงหรือเปล่า มีสินค้าในร้านมากน้อยแค่ไหน มีลูกน้องทำงานกี่คน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าภาษี ทุกสิ่งทุกอย่างรวมเป็นต้นทุนได้ทั้งหมด สูตรคำนวณกำไรเบื้องต้นจึงเป็นสูตรง่ายๆ คือ
 
กำไรโดยเฉลี่ย =  ต้นทุนโดยรวมสินค้า + ค่าบริหารจัดการ
 

ภาพจาก www.facebook.com/SakolpanichParnburi/

ยกตัวอย่างว่าเราเปิดร้านสังฆภัณฑ์ขนาดเล็ก มีสินค้าที่เป็นต้นทุนโดยรวมครั้งแรกซื้อมา ทั้งหมด 100,000 บาท การจะให้ร้านมีกำไรก็ต้องมาบวกค่าบริหารจัดการอันได้แก่ ค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าลูกน้อง หรือเรียกง่ายๆคือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดในแต่ละเดือน มาเฉลี่ยให้เป็นกำไรต่อเดือน ซึ่งกำไรต่อชิ้นเราอาจรู้ต้นทุนว่าราคาต่อชิ้นเท่าไหร่เช่น พระพุทธรูป หน้าตัก 9 นิ้ว ราคาทุน 1,500 บาท

การจะขายออกก็ต้องมาบวกค่าบริหารจัดการ โดยอาจตั้งราคาขายที่ 1,800 – 2,000 บาท มีกำไรส่วนต่างประมาณ 300-500 บาท สินค้าแต่ละชิ้นอาจได้กำไรมากน้อยต่างกัน บางทีลูกค้าก็มีการต่อรองสินค้า กำไรเหล่านี้ก็จะต้องมาถัวเฉลี่ยกันในแต่ละเดือน รวมกันอยู่ในบัญชีการขายที่ร้านจะต้องจัดทำเพื่อให้รู้เงินเข้า เงินออก ก็จะมองเห็นภาพชัดเจนว่ากำไรต่อเดือนมีมากน้อยแค่ไหน
 
ทั้งนี้นอกจากการขายแบบออฟไลน์หรือหน้าร้าน ในยุคดิจิทัลแบบนี้หากต้องการเพิ่มรายได้อาจใช้ช่องทางโซเชี่ยลเป็นการขายแบบออนไลน์ ซึ่งก็มีร้านสังฆภัณฑ์ออนไลน์หลายแห่งที่เปิดดำเนินการ บางคนไม่มีหน้าร้านแต่ขายออนไลน์อย่างเดียว เพียงแต่การมีหน้าร้านจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้ดีกว่า และโอกาสที่ลูกค้าจะเป็นขาประจำของเราก็มีมากด้วย
 
*** สูตรการคิดคำนวณราคาดังกล่าวนี้ มีตัวแปรที่ต้องเอามาคิดรวมกันอีกหลายอย่างทั้งค่าการตลาด ค่าเช่าพื้นที่ ต้นทุนผันแปรของแต่ละบุคคล ราคาเบื้องต้นจึงเป็นค่าประมาณการณ์ให้พอมองเห็นภาพและแนวทางในการคิดเบื้องต้น***
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: 
@thaifranchise

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
 
เมืองไทยได้ขึ้นชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” และข้าวก็เป็นอาหารจานหลักของคนไทย แม้จะรับธรรมเนียมต่างชาติเข้ามามาก เด็กบางคนอาจชอบกินขนมปังมากกว่าข้าว หรือบางคนก็กินก๋วยเตี๋ยวเพราะรู้สึกอร่อยกว่าข้าว แต่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะเกินร้อยละ 80 ก็ยังนิยมบริโภคข้าวเช่นเคย..
61months ago   49,079  6 นาที
หนึ่งในธุรกิจบริการที่ฮอตฮิตคือ “คาร์แคร์”  เราสังเกตว่าธุรกิจนี้มีตั้งแต่ระดับชาวบ้าน เปิดร้านล้างรถเองง่ายๆ ไปจนถึงระดับบริษัทใหญ่ๆ ที่ลงทุนกับธุรกิจนี้ทีละหลายล้านบาท แม้แต่ในแวดวงแฟรนไชส์ก็มีธุรกิจคาร์แคร์ที่ช่วยให้ผู้สนใจเริ่มต้นอาชีพนี้ได้ง่ายขึ้น แพคเกจลงทุนก็ม..
61months ago   113,426  7 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความสร้างอาชีพมาใหม่
บทความอื่นในหมวด