บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
2 นาที
25 กรกฎาคม 2562
เทียบกันชัด ๆ E-commerce ในประเทศไทยปี 2019 ใครนำใครตาม


สำหรับยุคนี้อะไรก็สะดวกสบายขึ้นไปหมด ไม่ว่าจะสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นหรือจะช้อปปิ้งสิ่งของต่าง ๆ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายแทบจะไม่ต้องออกไปเจอแดดเจอฝนกันเลย ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าตลาด E-commerce ย่อมต้องเป็นที่รู้จักและที่ต้องการอย่างมากในยุคนี้ เนื่องจากตอบโจทย์ความสะดวกสบาย แถมเข้าแค่เพียงหนึ่งแอปแต่ได้เจอกับสินค้ามากมายหลายร้าน
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันว่า 3 แอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ในประเทศไทยที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนั้นแต่ละเจ้ามีสถานการณ์อย่างไรกันบ้าง 
 
1.LAZADA


ภาพจาก bit.ly/2JNOMgb
 
E-Commerce ที่มีต้นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันเจ้าของก็คือ Alibaba ที่มาถือหุ้นกว่า 80% ในเมืองไทยนั้นจะเรียกว่าเป็นเจ้าใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ จากต้นกำเนิดที่ขายของเอง ปรับตัวเป็น “ตลาดกลาง” ให้ผู้ขายมาลงขายสินค้า แถมยังเอาใจผู้บริโภคชาวไทยด้วยบริการ คืนของได้ ส่งฟรี หรือเก็บเงินปลายทาง จนทำให้ได้รับความนิยม และแทนที่จะมีแต่ร้านค้ารายย่อย ปัจจุบัน Lazada เริ่มจับมือกับแบรนด์ต่างๆ เปิดหน้าร้านอย่างเป็นทางการมากยิ่งขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2GqQGRS
  • ปี 2560 รายได้ประมาณ 1,691 ล้านบาท ขาดทุน 568 ล้านบาท
  • ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 1,927 ล้านบาท ขาดทุน 2,645 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่า 210 ล้านรายการ

ค่าขนส่ง : ผู้ขายจ่าย
 
ค่าคอมมิชชั่น : มี ตามประเภทสินค้า
 
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์ , Paypal , LINE Pay , Lazada Wallet
 
2.Shopee


ภาพจาก bit.ly/2OfUjk0
 
เว็บขายของซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Sea หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Garena ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ชื่อดัง มีลักษณะเป็นตลาดกลางที่จับกลุ่มผู้ใช้รายย่อยมากกว่า ซึ่งถ้า Lazada สามารถทุ่มเงินเพราะมีกลุ่มทุน Alibaba หนุนหลัง Shopee ก็มี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลักคอยหนุนหลังอยู่เช่นกัน การแข่งขันของ 2 เจ้านี้จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง


ภาพจาก bit.ly/2OhFpd5
  • ปี 2560 รายได้ประมาณ 139 ล้านบาท ขาดทุน 1,404 ล้านบาท
  • ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 2,843 ล้านบาท ขาดทุน  4,113 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่า 3 ล้านรายการ

ค่าขนส่ง : ผู้ซื้อจ่าย Shopee ออกให้บางส่วนตามเงื่อนไข
 
ค่าคอมมิชชั่น : ไม่มี
 
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์ 
 
3.WeLoveShopping


ภาพจาก weloveshopping.com
 
E-Commerce สัญชาติไทย ซึ่งนอกจากจะมีตลาดกลางที่หลายคนคุ้นกันในชื่อ WeLoveShopping แล้ว บริษัทยังมีเว็บไซต์ WeMall (หรือ iTrueMart) เป็นเว็บขายสินค้าเอง ถือเป็นอีกหนึ่งเว็บที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีชื่อที่จดจำง่าย แถมระบบเปิดร้านอันไม่ซับซ้อน

นอกจากนี้ยังเอาใจคนที่กังวลเรื่องโดนโกงออนไลน์ด้วยระบบ WeTrust ไม่ได้ของยินดีคืนเงิน จึงทำให้มีคนมาเปิดร้านอยู่ตลอด และลูกค้าที่ค้นหาสินค้าก็มั่นใจมากยิ่งขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2SCOICC
  • ปี 2560 รายได้ประมาณ 146 ล้านบาท  ขาดทุน 357 ล้านบาท
  • ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 920 ล้านบาท ขาดทุน 133 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่าล้านรายการ

ค่าขนส่ง : ผู้ซื้อจ่าย WeLoveShopping ออกให้บางส่วนตามเงื่อนไข
 
ค่าคอมมิชชั่น : ร้อยละ 3 ของมูลค่าการขาย
 
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์ , TrueMoney Wallet
 
ทำไมบางครั้งซื้อสินค้าชิ้นเดียวกันแต่ Shoppee ถูกที่สุด ?


ภาพจาก bit.ly/2YgZhkX
  1. ผู้ขายสินค้าไม่ต้องแบ่งรายได้ให้กับทางเว็บไซต์ ขณะที่เว็บอื่น ๆ ต้องแบ่งรายได้ให้กับเว็บตามประเภทสินค้า
  2. ผู้ขายสินค้าผ่าน Shopee ไม่ต้องรับผิดชอบค่าส่งสินค้าเอง ลูกค้าจะรับผิดชอบส่วนนี้เองทั้งหมด

3 E-Commerce ชื่อดังนี้เจ้าที่มีสินทรัพย์รวมมากที่สุดอันดับ 1 คือ Shoppee ต่อมาคือ Lazada และตามมาด้วย WeLoveShopping แต่เจ้าที่ขาดทุนมากที่สุดอันดับหนึ่งก็เป็น Shoppee อีกเช่นกัน ตามด้วย Lazada และ WeLoveShopping
 
จะเห็นได้ว่าแม้ E-Commerce ชื่อดังเหล่านี้จะเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแต่ก็ยังไม่ได้ทำกำไร แถมยังขาดทุนกว่าพันล้าน อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการทำเพื่อโปรโมทให้บริษัทใหญ่เข้ามาซื้อ หรืออาจจะมีเหตุผลอื่น ๆ อีกซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าเหล่า E-Commerce ในประเทศไทยนี้จะปรับตัวกันอย่างไรและเติบโตไปในทิศทางไหน
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
อ้างอิงข้อมูล  
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด