บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.1K
3 นาที
31 กรกฎาคม 2562
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ค่ายรถไฟดนตรี


ถ้าจะเอ่ย ถึงค่ายเพลง ลูกทุ่ง ในบ้านเรา หลักๆก็ จะนึก ถึง แกรมมี่ โกลด์,อาร์สยาม ,ชัวร์ เอ็นเตอร์เท็นเม้นท์ ,โฟร์เอส ไทยแลนด์ และ ยังมี ค่าย ใหม่ๆ อีกหลายค่าย เช่น สหภาพลูกทุ่ง ,ยุ้งข้าวเร็คคอร์ด,สตาร์ซันไชน์,แชมป์ มิวสิค,สกายปาร์ค ,หรือบาง กลุ่มอาจจะรวมตัวกันเอง ขึ้นมาเพื่อมี นักร้องไว้ให้ เจ้าภาพได้เลือก เช่น กลุ่มสหเพชร เป็นต้น หลายค่าย เกิดขึ้นมายาวนาน บางค่ายก็ล่มสลายไปแล้ว
 
แต่หนึ่งในชื่อที่คนรู้จักเป็นอย่างดีเพราะมีศิลปินชื่อดังในสังกัดมากมายเราต้องนึกถึง “ค่ายรถไฟดนตรี” ที่แม้จะมีการเปลี่ยนยุคสมัยทั้งพฤติกรรมในการฟังเพลง กระแสเพลงจากต่างประเทศ แต่ค่ายรถไฟดนตรีก็ยังยืนหยัดอยู่ในวงการมาได้นานกว่า 40 ปี ปัจจุบันก็ยังทำหน้าที่ผลิตเพลงคุณภาพออกมาสู่ผู้ฟังอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าแม้เราอาจจะคุ้นเคยกับเพลงแต่บางทีเราอาจไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วค่ายเพลงแห่งนี้มีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง ลองมาดู 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ค่ายรถไฟดนตรี ที่จะทำให้คุณรู้จักค่ายเพลงแห่งนี้ดียิ่งขึ้น
 
1.ยุคแห่งการก่อตั้ง “รถไฟดนตรี”
 
ภาพจาก https://bit.ly/2YdtqSh

รถไฟดนตรีก่อตั้งในปี พ.ศ. 2522 โดยคุณประเสริฐ พงษ์ธนานิกร หรือ “ระย้า” อดีตดีเจชื่อดังซึ่งมีรายการวิทยุชื่อว่า “Music Train” หลังจากทำงานให้กับบริษัท “EMI” มานาน คุณระย้าจึงตัดสินใจลาออกและมาเปิดค่ายเพลงเป็นตัวเองชื่อว่า “รถไฟดนตรี” โดยดำเนินธุรกิจการผลิตและโปรโมทผลงานเพลงไทยสากลในช่วงทศวรรษแรก ก่อนจะลุยแนวเพลงเพื่อชีวิตและลูกทุ่งเป็นหลักในช่วงทศวรรษที่สองและที่สาม
 
2.ยุคเริ่มต้นของรถไฟดนตรี
 
จากคนที่มีใจรักในเสียงเพลง ต้องการทำเพลงที่มีคุณภาพสู่ผู้ฟัง และต้องการสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้กับวงการเพลง แม้ช่วงแรกในการเริ่มต้นจะไม่ได้สวยหรูและเป็นไปอย่างที่ใจคิด

ค่ายรถไฟดนตรีในระยะแรกให้ ชัวร์ออดิโอ เป็นผู้จัดจำหน่าย ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโรต้า และมาผลิตและจัดจำหน่ายเองในนามบริษัท UFO จนถึงปัจจุบันโดย เพลงในยุคแรกๆ ก็เป็นเพลง สมัย ใหม่ในยุค นั้นก่อนที่ยุคหลังจะหันมาเน้นเพลงเพื่อชีวิตและลูกทุ่งเป็นหลัก
 
3.สร้างศิลปินระดับตำนานมาแล้วมากมาย
 

ภาพจาก www.facebook.com/Musictrain1995Fanpage/

ค่ายเพลงแห่งนี้เคยเป็นต้นสังกัดของศิลปินระดับตำนานในบ้านเรามาแล้วหลายรายเช่น ชรัส เฟื่องอารมณ์ ,สาว สาว สาว ,ฟรีเบิร์ด ,ภูสมิง ,ฤทธิพร อินสว่าง, พราย-ปฐมพร ปฐมพร จนมา ถึง ยุคการทำเพลงแนวเพื่อชีวิต น้าหมู พงษ์เทพ, ปู พงษ์สิทธ์ ,อ้อย กระท้อน ,หนู มิเตอร์ เดวิด อินธีโดยช่วงทศวรรษ 2526-2535 ถือเป็นช่วงพีกของค่ายเพลงแห่งนี้ 
 
4.ทำธุรกิจแบบ “ใจแลกใจ” ให้โอกาสทุกคนได้เติบโต
 
ทางรถไฟดนตรี ไม่มีนโยบาย ที่จะปิดกั้นการเติบโตของนักร้องในค่ายใครที่คิดว่าออกไปแล้วเติบโตกว่า ทางค่ายก็ยินดี ให้การสนับสนุน หรือแม้แต่วันหนึ่งจะย้อนกลับมาก็ยินดีต้อนรับ

นับเป็นการทำงานที่ใช้ใจและอยู่กับแบบครอบครัวและถึงแม้ จะไม่มีงบในการทุ่มเทด้านประชาสัมพันธ์มากมาย แต่ถ้าพูดถึงสายสัมพันธ์กับสื่อไม่ว่า จะเป็น วิทยุ ทีวี หรือสิ่งพิมพ์ นับว่าเหนียวแน่น ทุกๆ สื่อก็ยินดีให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ในทุกๆ ศิลปินของรถไฟดนตรีที่ ออกงานเพลงมาก็จะ มีข่าวมีความเคลื่อนไหวตลอด
 
5.ประกาศศึกกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง
 

ภาพจาก www.facebook.com/Musictrain1995Fanpage/

ด้วยความที่บริษัท รถไฟดนตรี จำกัด ก่อตั้งมานานถึง 40 ปี ได้สร้างศิลปินมาแล้วมากมาย มีผลงานเพลงกว่า 6,000 เพลง และทางบริษัทยังคงสร้างศิลปินใหม่ และเพลงใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเดือนกรกฏาคม 2561 ถึงกับประกาศที่จะดำเนินคดีกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง เพราะมีผู้แอบอ้างว่า บริษัท รถไฟดนตรี จำกัด ไปจัดเก็บลิขสิทธิ์ร่วมกับบริษัทอื่น ซึ่งบริษัทรถไฟดนตรีได้ประกาศชัดว่า ยังคงจัดเก็บลิขสิทธิ์การใช้เพลงเป็นเอกเทศ ไม่เคยไปจัดเก็บร่วมกับบริษัทใดๆ และไม่เคยมอบสิทธิ์ให้ผู้ใดไปจัดเก็บลิขสิทธิ์แทนทั้งสิ้น
 
6.กำเนิด สาว สาว สาว
 
ภาพจาก https://bit.ly/2ZvBU3X

สาว สาว สาว ถือเป็นวงนักร้องในยุค 80 ที่โด่งดังมากมีสมาชิกทั้งหมด 3 คน ได้แก่ เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ,พัชริดา วัฒนา อรวรรณ เย็นพูนสุข โดยทุกครั้งที่ สาว สาว สาว ขึ้นแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต มักจะมีการให้ความสำคัญกับการแต่งตัวและท่าเต้นประกอบ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเกริล์กรุ๊ปในยุคปัจจุบัน จึงได้รับฉายาว่า เกริล์กรุ๊ปวงแรกของเมืองไทย
 
ในช่วงแรกที่เริ่มฟอร์มวงขึ้นมาเกือบจะไม่ได้เป็น สาว สาว สาว เพราะทางบริษัทอยากจะได้นักร้องแค่ 2 คน ขณะนั้นก็ได้เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ,พัชริดา วัฒนา มาเป็นตัวหลัก แต่มีคนแนะนำให้รู้จักกับ อรวรรณ เย็นพูนสุข ที่น้ำเสียงไพเราะมาก ถึงขนาดที่ยอมให้บริษัทเปลี่ยนใจเพิ่มนักร้องขึ้นอีก 1 คน และกลายเป็นสาว สาว สาว ในที่สุด
 
7.ยอดขายเทปวง สาว สาว สาว
 
ภาพจาก https://bit.ly/330Kw4x

อัลบั้มแรกของสาว สาว สาว  คือ “รักปักใจ” (2524) เปิดตัวได้ไม่ดีอย่างที่คาด แต่ทีมงานก็มีการพัฒนาเนื้อเพลงใหม่ๆ จนกระทั้งปี 2526 สาว สาว สาว ได้ขึ้นแสดงสดในรายการโลกดนตรีครั้งหลังจากนั้นความนิยมก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถทำยอดขายได้ถึง 300,000 ม้วน

ซึ่งในขณะนั้นต้องถือว่าเป็นปรากฏการณ์ของวงการเพลง สำหรับกลุ่มนักร้องหน้าใหม่และในอัลบั้มชุดที่ 3 “เป็นแฟนกันได้ยังไง” ที่ออกจำหน่ายปลายปี 2526 เป็นการตอกย้ำความสำเร็จ ด้วยยอดขายอัลบั้มถึง 400,000 ม้วน
 
8.กำเนิดฟรีเบิร์ด วงชื่อดังแห่งยุค

ภาพจาก https://spoti.fi/3138IBu

เริ่มต้นจากคุณประวิทย์ พงษ์ธนานิกร (น้องชายคุณระย้า)และ คุณประสิทธิ์ พงษ์ธนานิกร (ตะวัน) เคยฟอร์มวงดนตรีและเล่นในแนว country & southern rock โดยมีการตั้งชื่อวงตามชื่อเพลง Free Bird ของวง ลินเนิร์ด สกินเนิร์ด คุณระย้าก็ได้ชักชวนให้ทั้งสองมาออกผลงานเพลงกับค่ายรถไฟดนตรี โดยมีคุณระย้าเป็นผู้ดูแลการผลิต และคุณตะวันดูแลการแต่งเพลง

ออกจำหน่ายชุดแรก “คอย” ในปี 2525 มีเพลงที่โด่งดังคือ “คอย” และ “สิ่งสุดท้ายคือเธอ”  ตอกย้ำความสำเร็จเมื่อได้แสดงสดในรายการโลกดนตรี ปรากฏว่าอัดแน่นไปด้วยผู้ชมระดับเดียวกับวงแกรนด์เอ็กซ์ ซึ่งในอัลบั้มชุดต่อๆมาก็ยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
 
9.กำเนิดพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์

ภาพจาก https://bit.ly/2YtAd5H

ก่อนที่จะมาร่วมค่ายรถไฟดนตรี พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ เคยทำอัลบั้มมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อได้มาแก้ไขเนื้อเพลงบางท่อน อย่างเช่น “คืนเปลี่ยว” ที่มีการปรับเนื้อร้องใหม่และเริ่มออกวางขายในเดือนธันวาคมปี 2533 แม้ยอดขายจะไม่กระเตื้องในตอนนั้น

ค่ายรถไฟดนตรีก็พยายามโปรโมทด้วยการทำมิวสิควีดีโอที่ดึงเอานักร้องรุ่นพี่มาเข้าร่วม เช่น ศุ บุญเลี้ยง , หงา . ฤทธิพร อินสว่าง ก็เริ่มทำให้ภาพของพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์เริ่มชัดเจนมากขึ้น จุดเปลี่ยนคือเพลง “ตลอดเวลา” ที่เริ่มมียอดขายขยับจังหวะพอดีกับที่พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ได้ไปทำเพลงประกอบละคร “ตะวันชิงพลบ”  ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชื่อเสียงของ “พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” เป็นที่รู้จักทั่วประเทศมาถึงปัจจุบัน
 
10.รถไฟดนตรีมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์เพลงมากกว่า 6,000 เพลง
 
ภาพจาก www.facebook.com/Musictrain1995Fanpage/

จากหลายยุค หลายศิลปิน มีเพลงที่ผ่านการจดลิขสิทธิ์ในนามของค่ายรถไฟดนตรีจำนวนมาก น่าจะมากกว่า 5,954 เพลง ลองไล่เรียงเพลงที่สำคัญๆ ในยุคหลังๆเช่น กกต.ช่วยด้วย , ก็ฉันมันจน , จดหมายของเมีย , กรุงแตก (พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ) , กลับบ้านไม่ได้ (จรัล มโนเพ็ชร) , กลับมาที่เก่า (พงษ์สิทธิ์ คำภีร์) , กำลังใจ (โฮป) , ไก่นาตาฟาง , เขาอยากเป็นผู้แทน (พงษ์สิทธิ์ คำภีร์) , คำสารภาพ (ฤทธิพร  อินสว่าง) เป็นต้น
 
นับว่าเป็นค่ายเพลงที่ทำงานด้วยใจรักและมีแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ได้หลงใหลไปกับกระแสนิยมเพื่อดึงผู้ฟัง เพื่อหวังยอดขาย แม้การทำธุรกิจจะต้องมุ่งหวังกำไร แต่ค่ายรถไฟดนตรีให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตัวเองรักและมุ่งมั่นพัฒนาในสิ่งที่ควรจะเป็น จึงเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ยืนหยัดอยู่ได้และมีแฟนเพลงให้การสนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมากด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด