บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.1K
2 นาที
9 สิงหาคม 2562
ทำความรู้จักกับ P2P Lending 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2Kmufzy

P2P หรือ Peer-to-Peer คือการเชื่อมต่อหรือการทำงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่มีตัวกลาง ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันก็คือการโหลดบิตทอร์เรนต์ (BitTorrent) นั่นเอง ซึ่งก็เป็นลักษณะเดียวกับ P2P Lending ที่แบงก์ชาติประกาศอนุญาตให้มีการทำได้แล้ว 
 
จากเดิมเวลาที่ต้องการจะกู้เงินก็ต้องไปกู้จากสถาบันการเงินทั้งที่เป็น bank หรือ non bank ผู้ที่จะให้บริการในลักษณะนี้ได้ต้องมีการขึ้นทะเบียน มีการยืนยันตัวตน มีการขอใบอนุญาตจากทางแบงก์ชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีเฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้นที่จะทำได้ แต่ก็มีวิธีการไปกู้เงินกันเองแบบบุคคลกับบุคคลที่ทำให้เกิดปัญหาหนี้นอกระบบเกิดขึ้น เพราะไม่สามารถควบคุมเรื่องของดอกเบี้ยได้แบบที่สถาบันการเงินมีแบงก์ชาติควบคุมอยู่ 
 
เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามาและสามารถที่จะรวบรวมคนที่มีเงินและต้องการที่ทำให้เงินงอกเงยขึ้น จึงมีคนพัฒนาระบบนี้ขึ้นมา เป็นระบบการให้กู้เงินทางออนไลน์ที่มีแหล่งเงินมาจากบุคคลทั่วไป โดยคนเหล่านี้สามารถนำเงินมาฝากไว้ที่เว็บตัวกลางหรือแพลตฟอร์มกลาง ซึ่งจะรวบรวมเงินทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้วประกาศให้คนอื่นทราบว่ามีเงินให้กู้ได้ คนที่ต้องการกู้ก็เข้ามาในเว็บหรือแพลตฟอร์มเดียวกันนี้แต่เข้าไปในหมวดของผู้ขอกู้ ซึ่งการบริหารจัดการทุกอย่างจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่ใช้คนแบบเดิม ๆ 
 
การนำ AI และ Big Data เข้ามาบริหารจัดการจะทำให้การกู้หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทำได้ง่ายมากขึ้น เมื่อมีระบบ Peer-to-Peer lending เกิดขึ้น ใครที่มีเงินก็นำเงินมาปล่อยกู้ได้ เงินจะเข้าไปหาคนได้เองโดยที่ไม่ต้องผ่านกลไกของแบงก์หรือสถาบันการเงิน 
 
ภาพจาก https://bit.ly/2YRt3s5
 
ในเมืองไทยเองย้อนไปเมื่อประมาณ 2 ปีก่อนก็มีคนที่พยายามจะทำออกมาหลายเจ้าและมีคนพูดถึงอยู่มาก แต่ทางแบงก์ชาติยังต้องพิจารณาในเรื่องของการอาจเข้าข่ายเรื่องหนี้นอกระบบ เพราะเป็นการระดมเงินและนำมาปล่อยต่อ หากไม่มีการควบคุมหรือจัดการที่ดีพออาจมีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างได้ จึงให้รอการออกเป็นกฎหมายเสียก่อน
 
ที่ผ่านมาเมื่อแบงก์ชาติยังไม่อนุญาตให้มีการทำ Peer-to-Peer lending ในระดับบุคคล จึงมีบางรายหันไปให้บริการ Peer-to-Peer lending ในรูปของการใช้เงินจากสถาบันการเงินมาปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ แทน หรือในอีกรูปแบบคือ factoring online สำหรับผู้ประกอบการหรือ sme ที่เมื่อมีลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือบริการล็อตใหญ่ ต้องซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้ 
 
วิธีการ factoring คือการนำเอาใบ PO มาค้ำกับแหล่งเงินกู้แทนการใช้อสังหาฯ มาค้ำแบบเดิม ๆ เพราะใบ PO เสมือนเป็นการการันตีว่ามีลูกค้าที่แน่นอนแล้ว รูปแบบนี้ก็เป็นการทำ P2P Lending เหมือนกันแต่เป็นการกู้ในฟากของธุรกิจไม่ใช่ฟากบุคคล ในเมืองไทยมีทำอยู่หลายบริษัทครับ
 
การปล่อยกู้เท่าที่ผมดูมีอยู่หลายแบบเหมือนกัน ทั้งในระดับประชาชน ระดับบริษัท หรือกลุ่มพนักงาน ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในการปล่อยกู้ก็คือเรื่องของความเสี่ยง เราจำเป็นต้องรู้จักลูกค้าให้ดีที่สุด ซึ่งการปล่อยกู้ให้คนในบริษัทดูจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะคนในบริษัทต้องรับเงินเดือนทุกเดือน โอกาสที่จะหนีจึงมีน้อยกว่า บริษัทต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นไปทำการปล่อยกู้ให้กับพนักงานในบริษัทหรือโรงงาน หรือคนที่มีถิ่นฐานที่แน่นอนอยู่ในบริษัทมากขึ้น
 
ภาพจาก https://bit.ly/2ThrqCA
 
ตอนนี้จะเริ่มเห็นเรื่องของ HR Tech มากขึ้น HR Tech  คือบริษัทที่ทำเทคโนโลยีเกี่ยวกับงานฝ่ายบุคคล เบื้องหลังของ HR Tech ก็คือเรื่องของฐานข้อมูลของพนักงานในบริษัท ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าบริษัทที่ทำ HR Tech จะขยับจากเรื่องของฐานข้อมูลพนักงานในบริษัทมาทำในเรื่องของการปล่อยกู้ให้กับพนักงาน ซึ่งการปล่อยกู้ในลักษณะนี้จะมีความปลอดภัยมากขึ้น 
 
การปล่อยกู้ไม่ใช่เรื่องยากแต่ปัญหาคือแหล่งเงิน (sources of funds) ที่จะเอามาจากไหนมากกว่า แต่เมื่อมีกฎหมาย P2P Lending ออกมาแล้วและมีแพลตฟอร์มรองรับ จึงเปิดโอกาสให้สามารถระดมเงินจากบุคคลทั่ว ๆ ไปมาเป็นแหล่งเงินสำหรับปล่อยกู้ต่อไปได้ 
 
อนาคตจะมีความน่ากลัวคือจากเดิมที่ธนาคารจะมีรายได้หลักจากการปล่อยกู้ ต่อไปจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีข้อมูลบางอย่างหรือเก่งกว่าธนาคาร ธนาคารจะเจอคู่แข่งที่มีความหลากหลายมากขึ้น ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันก็อาจจะมีการปล่อยกู้ระหว่างกันได้ 


ภาพจาก https://bit.ly/2MQCWDO
 
ฉะนั้นตลาดการปล่อยกู้เงินก็จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเกิดการปล่อยกู้เงินในลักษณะไลฟ์สไตล์มากขึ้น เช่น เว็บท่องเที่ยวก็มีการปล่อยกู้เงินให้เอาเงินไปเที่ยวมากขึ้น เว็บของกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มก็มีเงินให้กู้ไปทำอะไรบางอย่าง เช่น กู้ไปแปลงเพศ กู้ไปศัลยกรรม ฯลฯ ได้ จะมีอะไรแปลกใหม่มากขึ้น เกิดเซกเม้นท์ในเชิงลึกเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ในฝั่งผู้บริโภคก็จะมีตัวเลือกมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ที่แอบเป็นห่วงก็คือเรื่องของหนี้สาธารณะหรือหนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงมากอยู่แล้ว หากการกู้เงินจะง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก จะเป็นอย่างไรต่อไป
 
ต่อไปการปล่อยกู้นั้นไม่ใช่เรื่องยากแล้ว แต่สิ่งที่ท้าทายก็คือการคัดเลือกผู้ที่ขอกู้หรือผู้ที่จะเป็นคนรับเงินไป คือต้องมีระบบที่จะยืนยันตัวตนและระบบการทำ credit score ของลูกค้า ซึ่งผมตั้งบริษัทที่มาทำเรื่องนี้อยู่แล้วคือ Creden.co เพราะผมมองแล้วว่า P2P มาแน่ ๆ ผมจึงสร้างบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ Big Data เกี่ยวกับการยืนยันตัวตนมาไว้เป็นเครื่องมือรอไว้ครับ 
 
ในเมืองไทยเราจะเริ่มเห็นผู้ให้บริการ P2P Lending เร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน บอกได้เลยว่าการมาของ P2P Lending จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทุก ๆ อุตสาหกรรมจะให้สนใจและหันมามอง เป็นการเปิดโอกาสให้หลาย ๆ คนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจการปล่อยกู้เงินจะกระโดดเข้ามาง่ายมากขึ้น ในอนาคตการแข่งขันเรื่องดอกเบี้ยในประเทศไทยจะแข่งกันอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะทุกคนเข้ามาในตลาดนี้ได้ง่าย  ไม่จำเป็นต้องเป็นสถาบันการเงิน แค่เป็นนิติบุคคลไทย มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มีคนไทยถือหุ้น > 75% เท่านี้ก็เปิดแพลตฟอร์มได้แล้ว 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,395
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด