บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.3K
2 นาที
13 กันยายน 2562
การปรับตัวเองเข้าไปสู่สิ่งใหม่ในธุรกิจ
 
หลาย ๆ คนมองว่าการทำอีคอมเมิร์ซคือการทำเว็บให้ดี ทำเรื่องของประสบการณ์ในแง่ของหน้าเว็บไซต์ให้ดี ให้ขายของได้ จริง ๆ การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีหลายส่วน ส่วนแรกคือเทคโนโลยี ส่วนที่สองคือการตลาด เพราะมีเว็บแล้ว มีช่องทาง มีโซเชียลมีเดียแล้ว หากคุณไม่มีช่องทางการตลาดที่ดีก็ไม่สามารถดึงคนมาได้ และส่วนที่ 3 ก็คือเรื่องของโอเปอเรชั่นหรือการบริหารจัดการต่าง ๆ เช่น การส่งข้อมูลสินค้าให้ลูกค้า การจัดส่งสินค้า การซัพพอร์ตลูกค้า ฯลฯ ซึ่งส่วนสุดท้ายนี้หลายคนมักไม่ค่อยให้ความสนใจมากนัก 
 
การบริหารจัดการเรื่องสินค้า
 
 
ภาพจาก bit.ly/2kK5PG6

เรื่องของแวร์เฮ้าส์หรือ fulfillment ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะกับอีคอมเมิร์ซที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่จะมีการทำแวร์เฮ้าส์ บางแห่งมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยโดยใช้คนน้อยลงที่เรียกว่า warehouse automation เมืองไทยเรายังมีไม่ค่อยเยอะ แต่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มมีมากขึ้น ตัวอย่างก็เช่น ร้าน JIB Computer (เจ.ไอ.บี. คอมพิวเตอร์) กำลังมีการขยายแวร์เฮ้าส์ใหม่ และจะนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาใช้ แต่อีคอมเมิร์ซที่จะทำแบบนี้ได้ก็ต้องเป็นตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับใหญ่
 
การจะใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์เหล่านี้ได้มี 2 แบบคือ ลงทุนเอง กับการไปใช้ของแวร์เฮ้าส์ที่เราเช่าบริการอยู่ ซึ่งจากไปนี้จะเป็นยุคที่บริษัทขนาดกลางหรือขนาดเล็กก็เริ่มที่จะสามารถเข้าไปใช้แวร์เฮ้าส์หรือระบบ fulfillment ที่มีระบบออโตเมชั่นได้แล้ว เพราะเริ่มมีผู้ให้บริการทำแวร์เฮ้าส์แบบนี้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การทำธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซไปได้เร็วขึ้น 
 
การบริหารความต้องการของลูกค้า
 
ภาพจาก bit.ly/2kiqC3y

หากเราบริหารความต้องการของลูกค้าได้ เช่น หากบอกลูกค้าตั้งแต่แรกว่าจัดส่งภายใน 2 วันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดอะไร แต่ถ้าเวลาในการจัดส่งเกินไปเป็น 3-4 วันก็น่าจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกแล้ว หรือประเภทของกลุ่มสินค้า ถ้ากลุ่มสินค้าบางตัวที่ต้องส่งอย่างเร็ว อย่างพวก food delivery คือสั่งปุ๊บต้องได้กินเลย เป็นพวก Instant on Demand นั้นคงรอหลายวันไม่ได้ เหล่านี้เป็นเรื่องความคาดหวังของลูกค้า 
 
Instant on Demand Logistics หรือการขนส่งแบบที่ต้องการส่งต้องได้ส่งเลย เป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในยุคหลังที่มีสตาร์ทอัพมากมายไม่ว่าจะเป็น Lalamove, LINE MAN หรือที่เป็นมอเตอร์ไซค์อย่าง SKOOTAR เกิดขึ้น พวกนี้พอสั่งปุ๊บจะส่งได้ปั๊บ และไม่มีปัญหาแบบวินมอเตอร์ไซค์ที่ไม่มีระบบเข้าไปควบคุมจัดการ 
 
พวกสตาร์ทอัพเหล่านี้จะมีระบบหรือแพลตฟอร์มเข้าไปควบคุมจัดการ และทำให้หลายธุรกิจเริ่มมีการปรับตัว เช่น เมื่อส่งได้เร็วขึ้นก็ทำให้ไซเคิลของการขายของเร็วขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีเครื่องมือใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น ส่งของได้เร็วขึ้น เก็บเงินลูกค้าได้เร็วขึ้น ฯลฯ จึงเป็นจุดหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจก็ต้องปรับตัวเองด้วยเหมือนกัน 
 
ปรับสู่สิ่งใหม่คือทรานส์ฟอร์มนั่นเอง

ภาพจาก bit.ly/2lOeveS

หากเราสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจของเราได้ผมบอกได้เลยว่าธุรกิจจะไปได้เร็วมาก หรือบางทีอาจเป็นเรื่องของช่องทางใหม่ ๆ อย่างตอนนี้หลายธุรกิจมีการขายของออนไลน์หรือมาเปิดร้านค้าบนมาร์เก็ตเพลส บางสินค้าก็ไม่น่าเชื่อว่าจะมา เช่น ยางรถยนต์มีขายแล้วบนมาร์เก็ตเพลส หรือเรียลเอสเตทอย่างคอนโดก็มีขายในมาร์เก็ตเพลสแล้ว เหล่านี้คือการทดลอง จะถูกหรือผิดผมไม่รู้ แต่ผมเชื่อว่าอย่างน้อยเราก็ได้ลอง เราจะได้เห็นโอกาสใหม่ ๆ ก่อนคนอื่น 
 
ในประเทศจีนที่ตอนนี้นิยมการไลฟ์ขายของบนแอปพลิเคชันวิดีโอที่ชื่อ TikTok เจ้าของธุรกิจหลายคนหันมาทำ TikTok commerce มากขึ้นเพราะขายของได้และก็เริ่มมีอินฟลูเอนเซอร์บน TikTok มากขึ้น เมื่อทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว ผู้ให้บริการในจีนเพิ่มมากขึ้น คนก็ไปอยู่บนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ มากขึ้น พ่อค้าแม่ค้าในจีนก็ปรับตัวไปอยู่บนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ มากขึ้นตามด้วยเช่นกัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับตัวที่เห็นได้ชัด

ภาพจาก tcrn.ch/2S5ORws
 
ถ้าคุณยังขายของแบบเดิม ใครต่อใครเขาไปข้างหน้ากันแล้ว บางทีการก้าวเข้ามาใช้เทคโนโลยีในวันนี้ก็ต้องดูว่าที่เราใช้อยู่นั้นมันทันสมัยหรือยัง เพราะหากว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัยลูกค้าของเราก็อาจย้ายไปอยู่ในเทคโนโลยีอื่นเรียบร้อยแล้ว สำหรับเมืองไทย TikTok ยังใหม่มาก สำหรับผู้ประกอบการที่มีทาร์เก็ตเป็นกลุ่มวัยรุ่น แพลตฟอร์มนี้น่าสนใจมากครับ เราเห็นอะไรก่อนก็ย่อมมีความได้เปรียบ
 
ทั้งหมดที่พูดมาคือการปรับตัวเองเข้าไปสู่อะไรใหม่ ๆ มันคือทรานส์ฟอร์มนั่นเอง การปรับธุรกิจของเราให้ทันสมัยมากขึ้น ใช้เครื่องมือใหม่ ๆ ใช้บิสเนสโมเดลใหม่ ๆ ค้าขายรูปแบบใหม่ ๆ ผมมองว่าธุรกิจควรจะทรานส์ฟอร์มในภาพรวมทั้งหมดไม่ใช่แค่อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้แต่เรื่องของบัญชีเองก็สามารถทรานส์ฟอร์มได้ด้วยเหมือนกัน 
 
เรื่องของการปรับตัวเองเข้าไปสู่สิ่งใหม่ ตัวอย่างที่ผมเห็นได้ชัดเจนจากหลักสูตร DEF ที่ผมจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ผ่านมามีนักเรียนของเราที่นำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในธุรกิจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ และตอนนี้ผมก็ได้เปิดรุ่นที่ 4 ชื่อ DEF#4 หลักสูตรพัฒนาการใช้สื่อดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ ครั้งนี้ผมเชิญวิทยากรระดับเทพมาเยอะมาก หลากหลาย และรับรองน่าสนใจทุกท่าน

ใครที่สนใจลองเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ครับที่เว็บไซต์ www.defbyspu.com หรือสอบถามได้ที่ DEF Team โทร: 063-245-9491 หรือ LINE@: @defbyspu 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด