บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
3 นาที
7 ตุลาคม 2562
เผย! เคล็ด(ไม่)ลับ 13 วิธี ในการขอและเจรจาต่อรอง!


บ่อยครั้งเมื่อคุณอยากจะถามอะไรกับหัวหน้าของคุณ คุณอาจจะเกิดความวิตกกังวลและไม่รู้ว่า ควรจะเริ่มถามหัวหน้าของคุณยังไง อีกทั้งเรื่องเงินๆทองๆก็ยังคงเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องห้ามที่ห้ามพูดถึงในวัฒนธรรมในการทำงาน

ดังนั้นแล้ว บางคนก็อาจจะคิดว่า มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าวิตกกังวลและอึดอัดใจ หากจะถามหาในสิ่งที่พวกเขาต้องการ แน่นอนว่าคุณอาจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวิธีการในการเจรจาต่อรองกับหัวหน้าของคุณ โดยทางเราก็ได้ให้สมาชิกจาก Forbes Coaches จำนวน 13 คน ได้แบ่งปันเคล็ดลับหรือวิธีการที่ดีที่สุดของพวกเขา สำหรับพนักงานที่ต้องการที่จะเจรจาต่อรองให้ได้สำเร็จลุล่วง ได้ดังนี้
 
1.คุณควรที่จะเตรียมตัวค้นคว้าในสิ่งที่คุณต้องการโดยละเอียด
 

ภาพจาก https://pixabay.com

หากคุณรู้สึกว่า เป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปีแล้ว ที่จากการขอเพิ่มในครั้งล่าสุดนี้ แน่นอนว่าคุณมีสิทธิ์ในการที่จะขอ แต่หากคุณรู้ว่า ในสิ่งที่คุณขอมานั้นไม่เข้ากันกับความยากลำบากในหน้าที่การงานของคุณที่ผ่านมา แต่คุณจะต้องค้นคว้าให้ดีซะก่อนว่า โดยละเอียดเงินเดือนของคุณนั้นสามารถเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงและต่ำได้เท่าไหร่ เหมาะกับตำแหน่งของคุณไหม การกระทำช่วงก่อนหน้านั้นของคุณดีจริงอย่างที่คุณคิดหรือเปล่า และถ้าหากดีจริงและคุณมั่นใจว่าคุณเต็มที่สำหรับงานของคุณแล้ว ก็เดินไปหาเจ้านายของคุณแล้วบอกถึงเหตุผลในสิ่งที่คุณต้องการ หากคุณเตรียมตัวมาดี บางทีเจ้านายของคุณก็อาจจะเคารพในสิ่งที่คุณพูดและพร้อมที่จะยินดีรับฟังคุณบ้างก็ได้
 
2.อ้างในเรื่องของผลลัพธ์ของการทำงานของคุณ
 
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณอยากจะเดินเข้าไปขออะไรสักอย่างที่บริษัทหรือองค์กรของคุณ คุณจะต้องพิจารณาถึงเป้าหมายของคุณก่อนว่า คุณมีเหตุผลจำเป็นอะไร เช่น คุณอาจจะเกริ่นในเรื่องของทักษะในการทำงานของคุณที่ทำให้คุณและทีมของคุณประสบความสำเร็จ เพื่อให้บริษัทเห็นว่า คุณทำได้ดีและทำเต็มที่เพื่อบริษัทของคุณแล้ว
 
3.ตำแหน่งของตนเองให้เข้ากับความต้องการของงาน
 

ภาพจาก https://pixabay.com

ในการเจรจาต่อรองนั้นค่อนข้างที่จะยากพอสมควรเช่นเดียวกัน คุณอาจจะลองปรับตำแหน่งในหน้าที่การงานของคุณให้ตรงกันกับ ทักษะ ความรู้ และความสามารถของคุณให้เข้ากับงาน โดยระบุว่า พวกเขามีการปรับปรุงในงานของพวกเขายังไง โดยอาจจะเริ่มต้นของการปรับปรุงข้อมูลในเชิงปริมาณตั้งแต่ที่คุณนั้นได้เริ่มต้นในการกำหนดผลตอบแทนจากในการกระทำของคุณ ซึ่งบริษัทอาจจะมีข้อมูลของคุณอยู่ในนั้นและคุณก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นเอาออกมาอ้างก็ได้ เช่น การเข้าทำงาน การทำโอที และผลงานในหน้าที่การงานของคุณ เป็นต้น
 
4.การใช้แนวทางที่อิงตามข้อเท็จจริง
 
โดยสิ่งเหล่านี้ก็จะขึ้นอยู่กับ พฤติกรรม ทัศนคติ และประสิทธิภาพในการทำงานของคุณเท่านั้น โดยคุณอาจจะรวบรวมข้อเท็จจริงและเตรียมการไปถึงกรณีที่จะสะท้อนถึงสิ่งที่คุณทำให้แก่บริษัท ทีมของคุณ และเจ้านายของคุณ ปรับ ROI โดยจัดทำเอกสารคุณภาพความเป็นเลิศ ความยั่งยืน และผลกำไรที่คุณเสนอ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ทักษะในการเจรจาต่อรองของคุณ
 
5.การใช้ทฤษฎีแนวคิดแบบ ROI (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน)
 

ภาพจาก https://pixabay.com

ท่ามกลางวิธีการอื่นๆที่อาจจะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของคุณ โดยการคำนวณ ROI ทางทฤษฎี เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงฐานของมูลทางการเงินของเจ้านายได้ และอาจจะเป็นเรื่องที่ยากถ้าคำนวณถึงผลกระทบที่ตามมา อย่างไรก็ตามด้วยความคิดสร้างสรรค์เพียงเล็กน้อยและกาใช้เหตุผลที่มั่นคง เราก็สามารถสร้างภาพประกอบที่น่าสนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของคุณได้ ส่วนเรื่องวิธีการดังกล่าวก็อาจจะขึ้นอยู่กับเหตุผลที่เหมาะสม
 
6.การรายงานการวัดผลสำเร็จในเป้าหมาย
 
รู้ว่าการวัดผลสำเร็จของคุณก็เพื่อความสำเร็จจากการทำงาน จากผลลัพธ์ที่คุณประสบความสำเร็จ อะไรคือสิ่งที่พวกเขาวัดตามความคาดหวังที่ หัวหน้าและบริษัท ของคุณนั้นกำหนดไว้ การที่มีความสามารถในด้านการพูดให้ชัดเจน ผลลัพธ์ที่จัดเจน รวมไปถึงการกระทำที่คุณจะต้องทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีตอบกลับมา สิ่งเหล่านั้นจะทำให้เจ้านายของคุณมีเหตุผลเพียงพอที่จะตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าจากการเพิ่มเงินเดือนของคุณ ด้วยปัจจัยความสำเร็จอื่นๆ
 
7.คิดถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ
 

ภาพจาก https://pixabay.com

มีอีกหลายคนที่จะต้องต่อสู้เพื่อเจรจาในด้านผลประโยชน์ที่ตนเองนั้นจะได้รับจากความมั่นใจเมื่อพวกเขาได้ตระหนักถึงความสำเร็จของพวกเขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น การคิดถึงครอบครัว หรือการคิดเรื่องเกี่ยวกับความสำคัญโดยรวมของการจ่ายเงินที่เป็นธรรมต่อสังคม
 
8.มุ่งเน้นไปถึงสิ่งที่ต้องการสำหรับนายจ้างของคุณ
 
อย่าทำทุกอย่างที่เกี่ยวกับคุณ ไม่ว่าคุณจะทำให้องค์กรได้อย่างยอดเหยี่ยมหรือดีเลิศสักแค่ไหน แต่นั้นก็ยังไม่เพียงพอสำหรับองค์กรของคุณ ไม่เพียงพอที่เจ้านายจะคุณจะสามารถทำเพื่อคุณได้ ตัวอย่างเช่น ความภักดี คุณอาจจะมุ่งเน้นไปยังความมุ่งมั่นในสิ่งที่เกี่ยวกับงานที่คุณจะทำเพื่อเจ้านายและแผนกในหน่วยงานของคุณ เพื่อให้เขายอมรับในสิ่งที่คุณพูด
 
9.คิดถึงในสิ่งที่คุณทำงานอย่างหนัก


ภาพจาก https://pixabay.com

เมื่อมีการขอเพิ่มให้ทำเกี่ยวกับองค์กรที่ซึ่งไม่ใด้เกี่ยวกับคุณ คุณอาจจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ทางการเงินของคุณ แสดงถึงสิ่งที่คุณจะต้องสร้าง ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง หรือสร้างสรรค์เกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆ ที่มีผลกระทบที่วัดได้เกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือการเงินขององค์กร จำเอาไว้ว่าควรคำนึงถึงนโยบาย เวลา และค่าตอบแทน ในขณะที่คุณยังอยู่และขอในสิ่งที่คุณสมควรที่จะได้รับ
 
10.พิจารณาและกำหนดเวลา
 
หากยังไม่รู้ว่าควรที่จะพูดอะไรหรือพูดอย่างไรให้เขาสนใจในสิ่งที่คุณพูด คุณควรที่จะต้องรู้ว่า จะพูดออกไปเมื่อไหร่ เวลาเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ควรระวังรอบงบประมาณขององค์กรและกำหนดเวลาสำหรับโบนัส นอกจากนี้จะต้องดูด้วยเวลา เวลาไหนที่ควรพูดและเวลาไหนไม่ควรพูด เพื่อที่คุณจะได้ไม่ถูกขัดจังหวะ และพิจารณาว่า เวลาเมื่อไหร่ที่คุณจะต้องคุยกับหัวหน้าของคุณได้ดีที่สุด

11.แสดงออกด้วยความอยากรู้
 

ภาพจาก https://pixabay.com
 
ในการที่จะเริ่มต้นด้วยคำสั่งที่ไม่ใช่คำถาม ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเกริ่นด้วยคำพูดที่ว่า “สิ่งเหล่านี้มักจะสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของฉันในช่วงปีที่ผ่านมา และสิ่งที่คนอื่นๆนั้นได้รับในตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน ฉันสมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่ง” ตามด้วยคำถาม “คุณมีมุมมองสำหรับเรื่องนี้ยังไง” และถ้าหากคุณไม่ได้รับคำตอบของคำถาม ถามจะต้องลองตอบคำถามการตอบเชิงบวก อย่างเช่น “ถ้าคุณไม่คิดว่าฉันควรจะได้รับในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นฉันจะทำให้คุณได้เห็นและจะเปลี่ยนความคิดของคุณ”
 
12.คงวัตถุประสงค์เดิมเอาไว้
 
เมื่อถูกถามถึง วิธีการเพิ่มให้ใช้วิธีการที่จะเป็นวัตถุประสงค์และเป็นความเป็นจริงมากกว่าหนึ่งด้วยคำแนะนำของอารมณ์และความรู้สึกใดๆ ก่อนที่เริ่มเข้าสู่บทสนทนา สรุปข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงของนายจ้างของคุณในการวัดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างน้อยหนึ่งรายการ เตรียมพร้อมที่จะอธิบายในสิ่งที่คุณทำ และอธิบายอย่างเป็นกลางว่า งานของคุณนั้นสำคัญไหนที่ต้องปรับปรุงสักเพียงไร

13.ฟังและตอบสนองอย่างเหมาะสม
 

ภาพจาก https://pixabay.com

เคล็ดลับที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พนักงานต้องการที่จะขอและเจรจาต่อรองการเพิ่มคือ การเตรียมคำถามและการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับเงินเดือนในตำแหน่งของคุณ โดยสิ่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความสำเร็จของคุณสื่อออกมาเป็นคำพูดอย่างละเอียดแต่ก็รวดเร็ว การฟังเป็นกุญแจสำคัญในการเจรจาต่อรอง เพื่อตอบสนองอย่างเหมาะสม และอยู่ในการควบคุมในสิ่งที่คุณต้องการ สื่อสารด้วยความมั่นใจเสมอ
 
ในบางครั้งการที่จะบอกกล่าวอะไรๆสำคัญๆอย่าง การขอขึ้นเงินเดือนหรือการขอเลื่อนตำแหน่ง มันช่างยากลำบากยิ่งนัก เรารู้ว่าเราทำมาดี ทำมามากพอแล้ว แต่เขาก็ยังไม่สนใจ ถ้างั้นแล้วเราควรทำยังไงให้เขาสนใจในสิ่งที่คุณพูดล่ะ ซึ่งหลายๆคนก็คงจะเกิดความรู้สึกแบบนี้กันมาเยอะบ้างแล้ว แต่เคล็ดลับที่นำมากล่าวถึงอยู่นี้ก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่เลวไปซะทีเดียว เพราะอย่างน้อยมันก็ทำให้เรารู้ว่า เราควรจะเตรียมตัวยังไงในการพูดหรือเจรจากับหัวหน้าของเรา โดยที่ไม่ต้องทนเกร็งเหมือนทุกครั้งไป 
 
ทั้งนี้คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 


SMEs Tips
  1. คุณควรที่จะเตรียมตัวค้นคว้าในสิ่งที่คุณต้องการโดยละเอียด
  2. อ้างในเรื่องของผลลัพธ์ของการทำงานของคุณ
  3. ตำแหน่งของตนเองให้เข้ากับความต้องการของงาน
  4. การใช้แนวทางที่อิงตามข้อเท็จจริง
  5. การใช้ทฤษฎีแนวคิดแบบ ROI (อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน)
  6. การรายงานการวัดผลสำเร็จในเป้าหมาย
  7. คิดถึงผลประโยชน์ที่ได้รับ
  8. มุ่งเน้นไปถึงสิ่งที่ต้องการสำหรับนายจ้างของคุณ
  9. คิดถึงในสิ่งที่คุณทำงานอย่างหนัก
  10. พิจารณาและกำหนดเวลา
  11. แสดงออกด้วยความอยากรู้
  12. 1คงวัตถุประสงค์เดิมเอาไว้
  13. ฟังและตอบสนองอย่างเหมาะสม
ที่มา : https://bit.ly/2Itlse2
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด