บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
3 นาที
7 ตุลาคม 2562
มีเหนื่อย! ธุรกิจ SMEs ปี 2020


ทำธุรกิจไม่ว่ายุคไหนต่างก็ “มีเหนื่อย” อยู่ที่จะ “เหนื่อยมาก” “เหนื่อยน้อย” ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องยอมรับความจริงว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจมีการชะลอตัวอย่างมาก โอกาสเกิดและเติบโตของธุรกิจรายใหม่ๆ หากสายป่านไม่ดีพอ ไม่มีการวางแผนการบริหารจัดการที่ดี ไม่ก้าวทันตามยุคสมัย มีโอกาสเจ๊งไม่เป็นท่าสูง
 
www.ThaiFranchiseCenter.com ยังมองต่อไปอีกว่าในช่วงรอยต่อระหว่างปี 2019 ไปถึง 2020 คนที่คิดจะเป็น SMEs ก็ยังต้องลุ้นเหนื่อย! ด้วยมีตัวแปรรอบด้านมากมาย
 
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มทรงกับทรุด


ภาพจาก bit.ly/2IrfPgo

จากผลกระทบของสงครามการค้าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหดตัวลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 ลงมาอยู่ที่ 2.8 % จากเดิม 3.1 % ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะโตต่ำกว่า 3.0 เปอร์เซ็นต์ จากหลายปัจจัยลบหลายด้าน โดยเฉพาะข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังคงยืดเยื้อ จะกระทบการส่งออกของไทยในปี 2563 เพิ่มเติมอีก 1,000-2,500 ล้านดอลลาร์ฯ หลังต้องรับรู้ผลกระทบจากการเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 2562 คาดการณ์ผลกระทบไว้ที่ 2,100-3,000 ล้านดอลลาร์ฯ
 
ยังไม่นับปัจจัยภายในประเทศที่รู้กันดีในเรื่องการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน แม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อย่าง “ชิม ชอป ใช้” ที่คาดว่าจะหนุน GDP ให้โตขึ้นได้อีกราว  0.02 % แต่ภาพรวมหลักๆ คือกำลังซื้อที่ยังถดถอยต่อเนื่อง ประชาชนรัดเข็มขัดตัวเองมากขึ้น ระวังการใช้จ่ายมากกว่าเดิมคือความจริงที่เป็นปัญหาสำหรับคนทำธุรกิจ ซึ่งหากสินค้านั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องการหรือไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตส่วนใหญ่มักจะไม่ประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดมากนัก

ไม่นับรวมต้นทุนของผู้ประกอบการเองที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ต้องการ เพราะในขณะที่รายได้ยังไม่แน่นอนว่าจะเท่าไหร่แต่รายจ่ายในด้านต่างๆ มีขอบเขตที่ชัดเจนและมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นตามปัจจัยภายนอกที่บอกได้เลยว่า การเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ SMEs ต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการที่ดีถึงดีมากๆ
 
เผยตัวเลขผู้ประกอบการ SMEs ยังมีกิจการใหม่ “พร้อมเปิดตัว” สู้กระแสเศรษฐกิจ


ภาพจาก bit.ly/2MmNlWb
 
กองข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยตัวเลขผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2562 จำนวน  6,459 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 5,586 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน  873 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 5,964 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 495 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 รวมมีจำนวนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 62 มีจำนวน 44,681 ราย เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ค. 61) จำนวน 43,512 ราย โดยเพิ่มขึ้น จำนวน 1,169 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 สำหรับมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 62 มีจำนวน 140,622 ล้านบาท ลดลง 28,604 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. - ก.ค. 61) จำนวน 169,226 ล้านบาท
 
ในด้านของธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,594 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 1,264 ราย  เพิ่มขึ้นจำนวน 330 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 1,688 ราย ลดลงจำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 6  โดยตัวเลข จำนวนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ค. 62 มีจำนวน 8,261 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 284 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ก.ค. 61) จำนวน 7,977 ราย มูลค่าทุน  จดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.ค. 62 มีจำนวน 30,615 ล้านบาท ลดลง 14,995 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ก.ค. 61) จำนวน 45,610 ล้านบาท
 
5 เทคนิคทำธุรกิจ SMEs ปี 2020 ให้เหนื่อยน้อยลง!
 
จากความผันผวนและต้นทุนรอบด้านที่สูงขึ้นสวนทางกับกำลังซื้อที่ยังไม่กระเตื้องขึ้นคือปัจจัยสำคัญว่าทำไมการทำธุรกิจในปี 2020 จึงยังไม่ฟันธงว่าจะสดใส อย่างไรก็ตามหากผู้ลงทุนได้ชื่อว่ามีวิสัยทัศน์ที่ดีพอและมีประสบการณ์ในการลงทุนมาบ้างคงจะพอมองออกว่า “หนทางรอดของSMEs ปี 2020” ขึ้นอยู่กับ 5 แนวทางนี้
 
1.มีการวางแผนบัญชี – การเงิน ให้รัดกุม


ภาพจาก bit.ly/31WPuOQ
 
ปัจจัยต้นทุนการเงิน เป็นอีกประเด็นที่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีไทย พึงต้องเตรียมตัวรับมือไว้ให้ดี หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 1.50 % เป็น 1.75 % นั้น แสดงให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นแล้ว และจะส่งผลต่อต้นทุนการเงินของเอสเอ็มอีอย่างแน่นอนเอสเอ็มอี ควรต้องเตรียมพร้อมในการบริหารการเงินอย่างเหมาะสม และมีเครื่องมือต่างๆ ในการปิดความเสี่ยง ซึ่งคงต้องหารือใกล้ชิดกับธนาคารที่ให้บริการอยู่ ที่สำคัญการใช้เงินจะต้องไม่ใช้เงินผิดประเภท มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้องด้วย
 
2.ตามกระแสเทคโนโลยีให้ทัน
 
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่เข้ามาปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับคำว่า IOT (Internet of Things) หรือว่า Blockchain เพิ่มมากขึ้น ยังไม่รวมเรื่อง AI (ปัญญาประดิษฐ์) หรือ Big Data ที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพงาน เอสเอ็มอีบางส่วนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้แต่บางส่วนเช่นกันที่ปรับตัวไม่ทันก็จะกลายเป็นผลลบที่อันตรายต่อธุรกิจทันที
 
3.ต้นทุนพลังงานมีแนวโน้มขยับ


ภาพจาก bit.ly/2njycfE
 
ต้นทุนสำคัญของเอสเอ็มอีกก็คือเรื่องของพลังงานที่ในปี 2562 ก็มีการปรับค่า FT ขึ้นมาทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าของผู้ประกอบการนั้นสูงขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น ไม่นับรวมเรื่องราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มผันผวนตลอดเวลา โดยเฉพาะในดินแดนตะวันออกกลางที่ราคาน้ำมันเมืองไทยมีการขยับและปรับตามอยู่ตลอดเวลา ในปี 2563 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องวิเคราะห์ในเรื่องพลังงานเหล่านี้เพราะถือเป็นต้นทุนสำคัญที่มีผลต่อรายได้ของธุรกิจเช่นกัน
 
4.ต้นทุนด้านบุคลากรไม่ใช่แค่เรื่องเงินแต่คือเวลาด้วย
 
3-4 ปีที่ผ่านมา เอสเอ็มอี ต่างประสบปัญหาด้านบุคลากรที่หายากขึ้น หรืออาจไม่ตรงตามสายงานที่ต้องการ ปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะแรงงานไม่มีทักษะ แต่ยังรวมถึงแรงงานที่มีทักษะตามสายงานต่างๆ ด้วย เนื่องจากพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ยุค Gen-Y และ Gen-C ที่หันหลังให้กับงานประจำ นิยมรับงาน Freelance หรือไม่ก็ไปค้าขายออนไลน์ หลายบริษัทเมื่อประสบบัญหาพนักงานรุ่นใหม่ๆ ออกบ่อย ก็หันไปจ้าง Freelance เสียเอง แต่นั่นหมายถึงต้นทุนการบริหารที่สูงขึ้น ซึ่งอาจไม่ได้มาในรูปของค่าจ้างอย่างเดียว แต่เป็นค่าเสียเวลา ดังนั้น เอสเอ็มอีต้องตระหนักถึงบุคลากรในองค์กรให้มากขึ้น มีการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน
 
5.ภาพรวมการบริโภคในประเทศผันผวน


ภาพจาก bit.ly/2OofIG4
 
การบริโภคภายในประเทศไทย ยังต้องพึ่งพาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งรายงานแนวโน้มสินค้าเกษตร แม้จะมีหลายตัวที่อาจจะมีทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็มีหลายตัวที่เป็นผลิตผลหลักๆ ที่ยังต้องเผชิญราคาตกต่ำต่อไป โดยเฉพาะยางพารา ปาล์ม ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรคาดการณ์ล่วงหน้าก็ไม่ได้ขยับตัวสูงนัก ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความพยายามในผลักดันนโยบายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง
 
เมื่อประเมินรวมๆแล้ว SMEs ต้องเข้าใจและใส่ใจในทุกรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนอย่าคิดว่าเป็นแค่การลงทุนเล็กๆ ไม่ต้องคิดวิเคราะห์อะไรมากมาย ไม่ว่าธุรกิจเล็กหรือใหญ่ เมื่อลงทุนไปแล้วก็มีความเสี่ยง ยิ่งประเมินสถานการณ์ผิดพลาดไม่มีการควบคุมต้นทุน และบริหารจัดการองค์กรดีพอ จากธุรกิจที่คาดหวังกำไรอาจกลายเป็นไม่มีกำไรและจะทำให้ผู้ลงทุน “เหนื่อยสุดๆ” เลยทีเดียว

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
อาชีพ “นายหน้า” เคยเฟื่องฟูในยุคหนึ่ง ไม่ว่าจะนายหน้าขายที่ดิน ขายบ้าน ขายคอนโดมิเนียม ขายรถยนต์ แม้แต่ขายประกันรายได้ก็ยังดี “ถ้าคนมีกำลังซื้อ” สวนทางกับยุคนี้สิ้นเชิง “กำลังซื้อหดหาย” “คนรัดเข็มขัดแน่นยิ่งกว่าเข็มขัดกางเกง” ภาพรวมตลาดอสังหา..
58months ago   1,973  6 นาที
ยุคนี้ใครๆ ก็พูดถึง “ธุรกิจออนไลน์”  หลายคนที่เคยเป็นมนุษย์เงินเดือนเกิดเห็นช่องทาง คนอื่นทำแล้วรวย ลาออกจากงานมาทำดูบ้าง บางคนรอด บางคนเจ๊งไม่เป็นท่า นี่คือความเหนื่อยของ ธุรกิจออนไลน์ปี 2020 ที่ www.ThaiFranchiseCenter.com ยืนยันว่าธุรกิจนี้ยังมีโอกาสแต่ก็ใช่ทุกคนที..
58months ago   2,018  7 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด