บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.8K
3 นาที
10 ตุลาคม 2562
รู้สักนิด! 10 ปัญหายอดฮิตที่คนทำธุรกิจต้องเจอ


ในการดำเนินธุรกิจนั้น อาจมีทั้งช่วงที่ธุรกิจนั้นๆ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และช่วงที่ธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหา ซึ่งปัญหาในการดำเนินธุรกิจก็มีสารพัดมากมายหลายแบบชวนให้เจ้าของธุรกิจหรือองค์กรปวดหัวไม่ใช่เล่นเลย ซึ่งคนทำธุรกิจต่างทราบเรื่องนี้ดี แต่ว่าปัญหาที่เหล่าเจ้าของธุรกิจต้องเจอนั้นมันมีอะไรบ้างล่ะ?

วันนี้ ทางเราเลยขอยกตัวอย่าง 10 ปัญหายอดฮิตที่เหล่าเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่อาจได้พบเจอมาฝากกันค่ะ
 
1. ปัญหาการบริหารกระแสเงินสดและสภาพคล่อง
 
การมีเงินทุนสำรองและการบริหารสภาพคล่องนั้นสำคัญมาก เพราะในการทำธุรกิจนั้นแทบทุกภาคส่วนต้องใช้ “เงิน”  แต่ทว่านักลงทุนรายใหม่ๆ กลับไม่นึกถึงรายละเอียดส่วนนี้เท่าที่ควร การไม่มีกระแสเงินหมุนเวียนในระบบที่มากพอ ก็จะทำให้ธุรกิจนั้นๆ ดำเนินไปอย่างลำบาก
 
ดังนั้นแล้วทางแก้ไขคือควรหันมาใส่ใจกับการมีเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ใส่ใจกับการจัดการบัญชีและวางแผนการบริหารเงินอย่างรัดกุม ควรเตรียมทั้งเงินที่จะหมุนเวียนในระบบ และเงินทุนสำรองเผื่อธุรกิจที่ดำเนินการอยู่นั้นเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น
 
2. การปล่อยทุจริต
 
ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการทุจริตแค่เล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าปล่อยให้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นบ่อยเข้าก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เช่นกัน ซึ่งการทุจริตนั้นอาจเกิดจากการที่คนในองค์กรนั้นดำเนินงานโดยยึดเอาผลประโยชน์ของตัวเอง และเบียดเบียนผลประโยชน์ของบริษัท
 
ท้ายที่สุดเมื่อผลประโยชน์บริษัทถูกเบียดเบียนมากๆ เข้า ก็มีแต่จะเกิดผลลัพธ์ในทางลบกับองค์กร ดังนั้นทางแก้คือทางธุรกิจหรือองค์กรควรที่จะจัดการกับการทุจริตนั้นๆ อย่างเด็ดขาด มีบทลงโทษที่เด็ดขาด ชัดเจน และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์การทุจริตอย่างรัดกุม 


ภาพจาก bit.ly/2pZpcxf
 
3. ปัญหาแรงเฉื่อย
 
จะเรียกว่าเป็นปัญหารุนแรงขององค์กรหรือธุรกิจเลยก็ว่าได้ โดยปัญหาแรงเฉื่อย คือการที่องค์กรประสบกับสภาวะที่แทบจะเรียกได้ว่า “หยุดนิ่ง” เพราะองค์กรเริ่มไม่มีกลยุทธ์ และไม่มีการพูดถึงทิศทางในอนาคตขององค์กร พนักงานที่องค์กรนั้นๆ เองก็เริ่มถูกแรงเฉื่อยครอบงำ ปัญหานี้ถ้าไม่ใช่ฝ่ายที่ทำงานกับพนักงานโดยตรงอย่าง HR ก็อาจจะสังเกตยากอยู่ซักนิด แต่ปัญหาก็ไม่ควรมองข้ามเพราะเมื่อองค์กรหรือธุรกิจเผชิญกับสภาวะนี้ไปนานๆ เข้าก็คงจะต้องถึงจุดจบในซักวัน
 
ดังนั้นเจ้าของธุรกิจควรแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนด้วยการริเริ่มกำหนดเป้าหมาย และวางแผนการดำเนินงานซะใหม่โดยคำนึงถึงอนาคตด้วย พร้อมๆ กันก็ควรสร้างขวัญกำลังใจหรืออาจตั้งรางวัลให้กับพนักงานเพื่อเป็นกำลังใจ และทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานด้วย

4. ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านบัญชีและกฎหมาย
 
อย่างที่พูดถึงไปแล้วว่าสำหรับธุรกิจนั้น เงินคือเรื่องสำคัญ ซึ่งการจะบริการเงินทุนและสภาพคล่องให้ดีได้นั้น ก็ควรจะมีการบริหารบัญชีที่แสดงถึงรายรับ รายจ่ายของธุรกิจนั้นๆ ให้ดี เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจมีความรู้ความรู้ในด้านการดำเนินธุรกิจก็จริง แต่กลับไม่มีความรู้ในด้านการจัดทำบัญชีเท่าที่ควร รวมไปถึงทางด้านข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจด้วย
 
ซึ่งถ้าเจ้าของธุรกิจไม่ได้มีความชำนาญทั้งทางด้านบัญชีและทางด้านกฎหมาย ก็อาจทำให้ธุรกิจนั้นๆ มีปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนและสภาพคล่อง รวมไปถึงอาจมีปัญหาทางข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบเอาก็เป็นได้ ดังนั้นทางที่ดี เจ้าของธุรกิจควรเลือกใช้บริการบริษัทรับทำบัญชีและบริษัทรับปรึกษาทางกฎหมายก็จะปลอดภัยและสะดวกสบาย แต่ทั้งนี้ ก็ควรจะพิจารณาความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้นๆ ด้วย


ภาพจาก pixabay.com
 
5. พนักงานไม่มีความสามารถพอในการดำเนินงานนั้นๆ
 
บางธุรกิจอาจจะเจอกับปัญหาบุคลากรไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่คัดกรองคนเข้าทำงานไม่ดีพอ ทำให้พนักงานที่รับเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นก็ไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากพอตามที่องค์กรคาดหวัง ทางแก้ไขคือควรปรับปรุงระบบการคัดกรองคนเข้ามาทำงานให้มีความรัดกุมและรักษามาตรฐานในการรับคนเข้าทำงานเข้าไว้เพื่อที่จะได้บุคคลที่มีคุณสมบัติที่ดีพอเข้ามาทำงาน
 
6. ไม่มีเครือข่ายธุรกิจ
 
การมีเครือข่ายสังคมทางธุรกิจนั้นเป็นอะไรที่สำคัญมากในการช่วยกระจายข่าวสารของบริษัทนั้นๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในระดับธุรกิจ และในระดับบุคคลทั่วไป ทำให้ธุรกิจนั้นเป็นที่รู้จักมากขึ้นและมีผู้มาใช้บริการมากขึ้น และถ้าหากธุรกิจที่ไม่มีเครือข่ายสังคม ก็อาจจะยากสักนิดในการเป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก
 
ดังนั้น ธุรกิจจึงควรสร้างเครือข่ายทางสังคมโดยอาจอาศัยเทคนิคมนุษย์สัมพันธ์เข้าช่วย บวกกับระยะเวลาอีกสักนิดในการสร้างการเป็นที่รู้จักให้กับตัวองค์กร


ภาพจาก pixabay.com
 
7. ไม่มีประสบการณ์ ขาดความน่าเชื่อถือ
 
นี่ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเปิดมาได้ไม่นานหรือยังไม่มีชื่อเสียง ด้วยความที่บริษัทนั้นๆ ยังเป็นหน้าใหม่ในแวดวงธุรกิจนั้นๆ ยังไม่มีประสบการณ์ หรือภาพลักษณ์ที่น่าชื่อถือมากพอ ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายก็ไม่กล้าพอที่จะใช้บริการ เพราะไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการที่จะได้รับ ทางแก้ไขปัญหา คือ ควรแสดงออกถึงกระบวนการดำเนินงานให้ลูกค้าได้เห็นเยอะๆ หรืออาจเพิ่มการรับประกันเข้าไปด้วย หรืออาจะแสดงผลงานของเจ้าของธุรกิจที่เคยได้ทำมาก่อนที่มาก่อตั้งธุรกิจก็สามารถที่นำมาเป็นหลักประกันในคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้อีกทางหนึ่ง
 
8. ปัญหาธุรกิจขาดทุน
 
ปัญหาการขาดทุน  คือการที่ธุรกิจนั้นๆ สามารถหารายรับได้น้อยกว่าต้นทุนหรือรายจ่ายที่ต้องเสียไป ซึ่งการขาดทุนอาจเกิดขึ้นได้กับทุกบริษัทหากมีการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ไม่ดีพอ ดำเนินธุรกิจอย่างมีช่องโหว่ทำให้ต้นทุนสูง ควบคุมการผลิตและค่าใช้จ่ายไม่ได้ แต่ปัญหาการขาดทุนสามารถแก้ไขได้โดยการวางแผนการดำเนินธุรกิจให้รัดกุมและละเอียดในทุกๆ เรื่อง รวมไปถึงเรื่องแผนการดำเนินงานเมื่อรายรับของธุรกิจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมไปถึงแหล่งเงินทุนสำรองด้วย
 
9. ไม่ระบุกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน
 
การจะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการได้นั้นส่วนหนึ่งคือควรจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพราะกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีความต้องการ มีพฤติกรรมในการใช้ชีวิต , การบริโภคสินค้า และการรับสื่อที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลที่ยกมานี้สำคัญมากๆ ต่อการกำหนดรูปแบบของผลิตภัณฑ์รวมไปถึงการสื่อสารจากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคด้วย ถ้าทางธุรกิจนั้นๆ ไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างตรงจุด การทำงานอาจไร้ทิศทางและไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในที่สุด
 
ดังนั้นทั้งหมดที่ธุรกิจควรจะทำก็คือกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถเอาข้อมูลของลูกค้ากลุ่มนั้นๆ มาวิเคราะห์เพื่อการดำเนินงานที่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้


ภาพจาก facebook.com/choosedressshop
 
10. ไม่มีการวางแผนในระยะยาว
 
การทำธุรกิจควรจะมีการวางแผนในระยะยาวและมีการวางแผนอยู่สม่ำเสมอ ไม่หยุดนิ่ง และต้องวางแผนเผื่อไปจนถึงในอนาคตระยะยาวด้วย แต่ถ้าหากไม่มีการวางแผนเผื่ออนาคต ธุรกิจนั้นๆ ก็อาจไม่มีจุดหมายที่แน่นอนหรืออาจเกิดปัญหาแรงเฉื่อยในองค์กรตามมาได้
 
ดังนั้นทางแก้คือเจ้าของธุรกิจควรคิดวางแผนการดำเนินใหม่โดยวางแผนเผื่อไปถึงอนาคตในภายภาคหน้าด้วย เพื่อที่ในอนาคตภายภาคหน้าธุรกิจจะยังเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เคว้งคว้าง และควรมีการประเมินผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ SWOT เสมอด้วย
 
แน่นอนว่าในการทำธุรกิจ หรือทำอะไรก็ตามแต่ สิ่งสำคัญที่ควรจะมีก็คือความรอบคอบ ละเอียด และคำนึงถึงปัญหา และการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เพื่อที่จะได้คิดหาทางแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

SMEs Tips
  1. ปัญหาการบริหารกระแสเงินสดและสภาพคล่อง
  2. การปล่อยทุจริต
  3. ปัญหาแรงเฉื่อย
  4. ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านบัญชีและกฎหมาย
  5. พนักงานไม่มีความสามารถพอในการดำเนินงานนั้นๆ
  6. ไม่มีเครือข่ายธุรกิจ
  7. ไม่มีประสบการณ์ ขาดความน่าเชื่อถือ
  8. ปัญหาธุรกิจขาดทุน
  9. ไม่ระบุกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน
  10. ไม่มีการวางแผนในระยะยาว
แหล่งที่มา
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด