บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.4K
3 นาที
13 พฤศจิกายน 2562
17 วิธีประหยัดเงิน! ที่จะทำให้คุณรวยได้!
 

ยุคนี้ใครๆก็พูดถึงแต่เรื่อง “ประหยัด” เทคนิคการประหยัดเงินส่วนใหญ่จะรู้แค่ว่า ให้แบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน คือเงินใช้ เงินเก็บ และเงินฉุกเฉิน แต่พอทำจริงทั้งเงินเก็บและเงินฉุกเฉินก็รวมไปอยู่ในเงินใช้ สุดท้ายเงินเก็บที่ควรจะได้มันก็ไม่ได้ก็กลับมาพูดถึงเรื่องเดิมอีกว่า “แล้วจะประหยัดยังไงดี?” www.ThaiFranchiseCenter.com มี17วิธีการประหยัดเงินที่หลายคนถึงกับตกใจว่ามันมีถึง 17 เชียวเหรอ ลองไปดูว่า 17 วิธีนี้เราจะเลือกใช้วิธีไหนในการประหยัดเงินได้บ้าง
 
1.ตั้งต้นด้วยเงินออม
 
ภาพจาก bit.ly/2XjJMVX

หลายคนคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย ตามสูตรที่เข้าใจว่า รายได้ - รายจ่าย = เงินออม แม้จะเป็นสูตรที่ถูกต้องแต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นที่ดีสำหรับคนที่อยากเก็บเงินให้ได้อย่างมีวินัย คำแนะนำที่ดีกว่าคือ เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่” เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออมเงิน 2,000 บาท โดยเรามีเงินเดือน 20,000 บาท แปลว่าเราต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 18,000 บาท เมื่อคิดในมุมนี้ สมการที่เราควรใช้ในการประหยัดเงินคือ “รายได้ - เงินออม = รายจ่าย” หรือก็คือเราควรหักเงินออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายตามงบประมาณที่มี จะทำให้เราเห็นภาพการเก็บเงินได้ชัดเจนมากขึ้น
 
2.จัดแยกประเภทรายจ่ายตามลำดับความสำคัญ
 
หลายครั้งที่การเก็บเงินไม่เป็นผลเพราะเรามักใช้จ่ายกับ “สิ่งไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน”  เช่น จ่ายให้กับค่าอาหารที่อยากทานในแต่ละวัน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาในช่วงปลายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น ทำให้ใช้เงินเยอะกว่างบประมาณ ทางที่ดีควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่ายประจำที่สำคัญก่อน จะทำให้เรามีวินัยทางการเงินมากขึ้น
 
3.จดบันทึกช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้น
 
ภาพจาก bit.ly/372V2tW

จากผลสำรวจของบริษัท YouGov พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท หมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท ซึ่งตัวเลขที่รั่วไหลนี้มันเกิดจากการไม่ได้จดบันทึกและทำให้เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรายจ่ายที่แท้จริง ซึ่งปัจจุบันเรามีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายมากมาย ทั้ง iOS และ Android ให้ลองได้เลือกใช้ จะช่วยทำให้สถานะการเงินเรามีเสถียรภาพมากขึ้น
 
4.ลดรายจ่ายค่าอาหาร
 
สำนักงานสถิติแห่งชาติเผยว่า รายจ่ายค่าอาหารเป็นเงินก้อนใหญ่ในแต่ละเดือนของแต่ละครอบครัว วิธีหนึ่งที่จะลดรายจ่ายก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหารมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น ทำอาหารทานเองจะประหยัดกว่าซื้อทาน ยิ่งถ้าเป็นครอบครัวใหญ่ ราคาต่อหัวก็จะประหยัดมากขึ้น และสำหรับคนทำงานที่เคยซื้ออาหารในที่ทำงานทานทุกวัน ลองนำอาหารไปทานเอง เช่น ตั้งเป้าว่าจะนำอาหารมาทานเอง 1-2 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้ เป็นต้น
 
5.ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
 
ภาพจาก bit.ly/2CGNC1z

มีผลวิจัยเคยกล่าวไว้ว่าคนไทยซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี แต่ส่วนใหญ่จะใช้ไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของเสื้อผ้าที่มีอยู่ แบบนี้แนะนำว่าให้นำไปขายต่อ หรือลองเรียนรู้วิธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้ดีกว่าเดิม รวมถึงหากนำเสื้อผ้าที่มีมาจับคู่ดีๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนเรามีเสื้อผ้าใหม่ๆ ตลอดเวลาได้เหมือนกัน
 
6.อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก
 
หลายคนคิดว่าการซื้อเสื้อผ้าราคาถูกเป็นการประหยัดเงินแต่ที่จริงมันคือรายจ่ายยิบย่อยในระยะยาว เพราะเมื่อเราซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี หรือการตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจากซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง และทำให้ต้องเสียเงินเพื่อซื้อเสื้อผ้าใหม่อีกรอบ
 
7.เลิกเป็นนักสะสม
 
ภาพจาก bit.ly/32HD7pl

บางคนบอกว่า “ของสะสมเป็นของเล่นเศรษฐี” ซึ่งหากเราไม่รวยจริงแนะนำว่าอย่าบ้าตามคนอื่น การมีของสะสมเต็มบ้านแต่เงินในบัญชีว่างเปล่าอันนี้ไม่น่าจะดีนัก มีผลสำรวจพบว่าคนไทยชอบบินไปซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศเป็นตัวเลขมูลค่ามหาศาล ลองเช็กตัวเองดูว่าเราเป็นอีกหนึ่งคนหรือเปล่าที่ชอบเก็บแบรนด์เนมแพงๆ ไว้ในตู้โชว์  แนะนำให้สะสมบ้างและปล่อยขายบ้างเมื่อราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลทางการเงิน
 
8.เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดีๆ
 
การฝากประจำ หรือลงทุนในกองทุนรวมเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินทั่วไป แบบการเลือกหักบัญชีแบบอัตโนมัติบัญชี ก็สามารถสร้างวินัยการออมได้เหมือนกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย 
 
9.อย่ามีเฉพาะบัญชีออมทรัพย์
 
ภาพจาก  bit.ly/2CEVP6I

ควรมีบัญชีที่แยกออกมาสำหรับเอาไว้ในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมต่างๆ ที่เลือกให้มีการหักบัญชีได้อัตโนมัตหน้าที่ของเราคือการเอาเงินใส่ในบัญชีเหล่านี้ เป็นการฝึกวินัยการออมเงินที่ดี ซึ่งบัญชีออมทรัพย์น่าจะเป็นบัญชีที่เราเอาไว้เป็นเงินเก็บควรแยกออกจากกันให้ชัดเจน
 
10.ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
 
ร้านค้าหลายร้านมักมีสิทธิพิเศษให้เมื่อเราไปช้อปปิ้ง อย่าละเลยสิทธิพวกนี้ เพราะบางทีเราอาจได้รับเช็คของขวัญ บัตรกำนัลดีๆ ที่ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกมาก นอกจากนั้นควรกดติดตามแฟนเพจ เว็บไซต์ ที่คอยอัปเดตส่วนลดบ่อยๆ  เผื่อว่าจะมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาให้ได้ช้อป ในยุคนี้เรามี Mobile Payment เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งที่ทำให้จับจ่ายเมื่อเจอโปรโมชันดีๆ ง่ายๆซึ่งถ้าใช้อย่างมีเหตุมีผล ก็จะพบสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย
 
11.ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ
 
ภาพจาก www.facebook.com/salehere/

จ่ายเยอะจ่ายยาก จ่ายน้อยจ่ายง่าย แต่น้อยๆ ที่รวมกันอาจสะสมกันเป็นเงินก้อนใหญ่ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีจะมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพื่อเปลี่ยนอันใหม่บ่อยๆ เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย และควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้
 
12.ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้
 
หากเราต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิกกับหลายๆ ที่ เพราะตั้งใจว่าจะมาใช้บริการบ่อยๆ แต่นานๆ ครั้งถึงจะได้ใช้จริง อย่างฟิตเนสที่สมัครไว้เพราะอยากหุ่นดี อย่าลืมว่าเราสามารถต่ออายุการเป็นสมาชิกในภายหลังได้ ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็ยกเลิกไปก่อนก็ได้
 
13.หยุดใช้บัตรเครดิต 
 
ภาพจาก bit.ly/2O8CJLf

หนี้บัตรเครดิต เกิดขึ้นเพราะความชะล่าใจในการซื้อของ ซื้อก่อนโดยคิดว่า ยังมีเวลา จะหาเงินมาจ่ายทีหลัง หรือมีเงินเพียงพอในธนาคาร แต่เพราะความสะดวกของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าหมาย ซึ่งตามสถิติก็บ่งบอกชัดเจนว่าหนี้ของคนไทยส่วนใหญ่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่เกินตัว
 
14.ดูหนังฟังเพลงอยู่กับบ้านในวันหยุด
 
การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอกจะทำให้พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวนมากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้ ลองเปลี่ยนมาหาความบันเทิงที่บ้าน อย่างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง แต่ทั้งนี้ให้พิจารณาตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละครอบครัวด้วย
 
15.ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
 
ภาพจาก www.facebook.com/BTSSkyTrain/

การโดยสารด้วยรถสาธารณะช่วยให้ประหยัดเงินได้มาก และยังช่วยประหยัดพลังงานแทนการขับรถยนต์ส่วนตัว คนที่ขับรถไปทำงานแม้จะสะดวกสบายแต่ก็ต้องแลกกับค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าสึกหรอเครื่องยนต์ ซึ่งหากประหยัดส่วนนี้ได้เราจะมีเงินเก็บมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องยากด้วยระบบขนส่งสาธารณะเมืองไทยส่วนใหญ่ทำให้คนรู้สึกเบื่อหน่าย
 
16.อย่าคิดแค่ประหยัดเงิน
 
การออมเป็นสิ่งที่ดี โดยควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาทหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะทำให้ไม่รู้สึกหนักเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุดอย่าเพียงแค่ทำงานไปทุกๆ เดือน ทางที่ดีให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต หนึ่งในวิธีการออมที่น่าสนใจคือ ตาราง 365 วันที่กำหนดให้เราเก็บเงินตามวันที่ เช่นวันที่ 1 เก็บ 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 365 ก็เก็บ 365 บาท ทำแบบนี้ใน 1 ปี เราจะมีเงินมากกว่า  66,795 บาท
 
17.ใช้กฎ 24 ชั่วโมง และการเปรียบเทียบ

เวลาที่เราอยากซื้อของราคาสูงๆ ให้กลับบ้านไปแล้วไตร่ตรองอีกสัก 24 ชั่วโมงค่อยเวียนกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้นก็อาจจะไม่อยากได้แล้ว หรือลองคำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อ เปรียบเทียบกับจำนวนค่าตอบแทนรายวันจากการทำงาน เช่น รองเท้าราคา 5,000 บาท แต่มีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงานเดือนละ 22 วัน เท่ากับ 20,000/22 = 909 บาท ดังนั้น การซื้อรองเท้าคู่นี้เทียบได้กับการที่คุณต้องทำงานแลกเป็นเวลา 5.5 วัน ให้ลองเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าดู
 
หลากหลายวิธีในการประหยัดเงินก็อาจเป็นแค่ทฤษฏีที่จะเป็นจริงได้คือต้องเอาไปปฏิบัติซึ่งถือเป็นเรื่องยาก ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่มีผลต่อการออมเงิน ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละคนว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร แม้ไม่ได้ออมเงินตามวิธีเหล่านี้ทั้งหมดแต่อย่างน้อยขอให้มีการออมเงินไว้บ้างอย่างน้อยในอนาคตเราจะได้อุ่นใจว่าเรายังมีเงินเก็บให้จับจ่ายใช้สอยได้บ้าง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,789
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,394
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
700
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
634
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
560
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
489
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด