บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
1.6K
2 นาที
2 เมษายน 2563
ยุคที่ใคร ๆ ก็ปล่อยกู้
 
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ไปงาน Singapore FinTech Festival 2019 โดยส่วนตัวผมคิดว่าเป็นงานฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในงานเป็นการนำเอาบริษัทฟินเทคเกือบจะทั่วโลกและจากรัฐบาลจากหลาย ๆ ประเทศมาโชว์เรื่องของฟินเทค ของไทยเองก็มีแต่อาจจะเป็นบูธที่ไม่ใหญ่มากนัก
 
ต้องบอกว่ามีหลายบูธที่น่าสนใจมาก อย่าง Google เองเริ่มบุกเข้ามาในเรื่องของเพย์เมนต์ชื่อว่า Google Pay ในฝั่งอเมริกาเริ่มมีระบบเพย์เมนต์นี้อยู่ในมือถือระบบ Android แล้ว และดูเหมือนว่าในปีหน้า Google Pay จะเข้ามาในไทย และในปีหน้าเราคงจะเห็น Apple Pay ใน iPhone เช่นเดียวกัน 


ภาพจาก bit.ly/2wV7Lll
 
บอกได้เลยว่าในปีหน้าระบบชำระเงินจะสนุกสนานมากขึ้นเพราะบรรดาผู้เล่นยักษ์ใหญ่จะกระโดดเข้ามามากขึ้น อย่าง Grab เองก็กระโดดเข้ามาทำ GrabPay หรือผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซทุกเจ้า ทั้ง Lazada, Shopee, Central JD, ปตท. ฯลฯ ทุกคนต่างพยายามทำระบบเก็บเงินหรือวอลเล็ตของตัวเองขึ้นมาภายในแอปพลิเคชันหรือเซอร์วิสของตัวเอง


ภาพจาก bit.ly/39C9ycm
 
นั่นหมายถึงเมื่อมีคนมา top up หรือมาฝากเงินไว้ในวอลเล็ต เงิน หรือ Float เหล่านั้นจะไปกองอยู่ในระบบนิเวศหรือแอปพลิเคชันนั้น การจะเชื้อเชิญหรือทำให้คนมาซื้อสินค้าหรือบริการต่อเนื่องก็ทำได้ไม่ยาก ตอนนี้ทุกคนจึงต้องการทำวอลเล็ตหรือระบบชำระเงินให้เกิดขึ้นในระบบของตัวเองทั้งสิ้น
 
ยิ่งผมได้ไปงานนี้บอกได้เลยว่าอนาคตของสถาบันการเงินหรือธนาคารนั้นจะเหนื่อยมากขึ้น เพราะอย่างที่ทราบว่ารายได้ของธนาคารส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยกู้ จากดอกเบี้ย แต่ที่ผมไปเจอมามีบูธเกี่ยวกับการปล่อยกู้เงินมากมาย ทั้งที่เป็นสตาร์อัพและบรรดาบริษัทเทคโนโลยีที่กระโดดเข้ามาทำจำนวนมาก 
 
พวกนี้มาทำในเรื่อง Big Data การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ การตรวจสอบข้อมูลลูกค้า ทำ e-KYC ทำระบบ Open Banking เป็นแพลตฟอร์มให้กับธนาคารหรือบริษัทประกัน ฯลฯ แม้แต่บริษัทที่ทำเกมงูเขียวอย่าง Razer ก็กระโดดมาทำระบบชำระเงินของตัวเองชื่อ Razer Pay จะเห็นว่าเมื่อทุกคนกระโดดเข้ามา สิ่งที่ทุกคนมุ่งไปก็คือการปล่อยกู้นั่นเอง


ภาพจาก bit.ly/3dLIn20
 
ตัวอย่างการเปิดบริการส่วนหนึ่งทางด้านไฟแนนเชียล เช่น JD จับมือกับ Central ทำทำเกี่ยวกับเรื่องการเงิน หรือ Grab จับมือกับ KBank เราจะเริ่มเห็นการผสมผสานหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ฉะนั้น area หรือขอบเขตของอุตสาหกรรมแต่ละอุตสาหกรรมจะเริ่มต่ำลง หรือ  AIS ก็เริ่มปรับตัวเองจากเดิมเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมาเป็นแพลตฟอร์ม เพราะมี data ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ความจริงเขายังสามารถปล่อยกู้หรือขายประกันได้อีกด้วยซ้ำ 
 
ตอนนี้ไม่ต้องมองแล้วว่าใครคือคู่แข่งเพราะมีการกระโดดข้ามกันไปมา อย่างที่ผมไปคุยกับ Wongnai.com ที่มีฐานข้อมูลร้านอาหารมากมายก็สามารถทำปล่อยกู้ให้กับร้านอาหารได้ ตอนนี้เป็นยุคที่ใครทำดิจิทัลหรือธุรกิจอะไรก็ตาม นึกอะไรไม่ออกก็ทำปล่อยกู้ไว้ก่อน
 
ในยุคนี้ใครที่มี data จะมีความได้เปรียบมาก ในแง่ของธนาคารเองจะมีผู้เล่นเข้ามาแข่งขันมากขึ้นโดยเฉพาะในแหล่งรายได้หลัก แต่ธนาคารเองก็พยายามไปจับมือกับผู้เล่นที่กระโดดเข้ามาเพื่อยังทำให้ตัวเองเป็น source of fund เช่นเดียวกัน 
 
แต่ที่ผมมองว่าน่ากลัวอีกตัวหนึ่งก็คือ P2P Lending จากที่เมื่อก่อนแหล่งเงินต้องมาจากธนาคารเท่านั้น แต่เมื่อเปิด P2P Lending นั้น แหล่งเงินอาจไม่ใช่ต้องมาจากธนาคารอีกต่อไป แหล่งเงินอาจมาจากประชาชนทั่ว ๆ ไปที่รวมตัวกัน ซึ่งตอนนี้เริ่มมีบางแพลตฟอร์มเป็นตัวกลางให้คนนำเงินมาฝากไว้และใครที่ต้องการกู้ก็มากู้ผ่านแพลตฟอร์มนี้ และที่สำคัญตอนนี้ในเมืองไทยกฎหมายนี้ผ่านแล้ว


ภาพจาก bit.ly/3dNK1jF
 
บางทีธุรกิจที่คุณทำอยู่มานานมาก คุณอาจมีข้อมูลลูกค้าอยู่เยอะมาก ทำไมไม่ลองเขยิบไปทำอย่างอื่นดูบ้าง ใครที่มีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่ในมือสามารถเขยิบขึ้นไปทำอีกธุรกิจหนึ่งต่อได้ไม่ยากเลย และยิ่งเรามี data ที่เป็นดิจิทัลมากเพียงพอก็จะยิ่ง cross ได้ไม่ยาก เช่น ทำบริษัทบัญชีมีฐานข้อมูลของทุกบริษัทก็มาปล่อยกู้ได้ หรือ HR ทำด้าน payroll ก็ปล่อยกู้ให้พนักงานได้เพราะมีข้อมูลของพนักงาน หรือทำแฟรนไชส์ก็ทำได้ จริง ๆ ทำได้หมด 
 
การมีฐานข้อมูลของลูกค้าอยู่ในมืออาจใช้ต่อยอดในไอเดียอื่น ๆ จาก เช่น อาจปล่อยกู้ให้กับลูกน้องของตัวเอง โดยอาจไปจับมือกับธนาคารหรือแพลตฟอร์ม P2P Lending ก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลูกน้องหรือลูกค้าของเราก็ไม่ต้องไปกู้หนี้นอกระบบ  
 
นอกจากปล่อยกู้แล้วยังสามารถทำเรื่องของการขายประกัน ซึ่งเป็นบริการที่ไม่ต้องมี inventory และเดี๋ยวนี้ไม่ต้องส่งเงินจริง ๆ โอนเป็นตัวเลขได้เลย ฉะนั้นบริการเหล่านี้มีข้อดีคือ กำไรที่ดี และในยุคดิจิทัลนั้นควบคุมง่ายมากขึ้น ต้นทุนในการดำเนินการก็ลดลง ประสิทธิภาพของการให้บริการและโอกาสในการทำกำไรก็สูงขึ้น ความเสี่ยงก็ลดลงไปด้วย ลองคิดต่อกันดูนะครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
795
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
524
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
431
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด