บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.5K
2 นาที
9 เมษายน 2563
กลุ่ม TCDG การทำงานของคนไทยเพื่อคนไทย
 

ภาพจาก covid19.ddc.moph.go.th/th

ที่ผ่านมาผมและคนกลุ่มหนึ่งที่ทำงานด้านดิจิทัล แต่ละคนต่างมีเจตนาและไอเดียที่ดี ที่สำคัญมีข้อมูลจำนวนมากอยู่ในโลกออนไลน์ ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมาทำงานด้านดิจิทัลเกี่ยวกับเรื่องไวรัส COVID19 ชื่อ Thailand COVID19 Digital Group (TCDG) พื้นที่ตรงนี้เราได้มีการแลกเปลี่ยนและนำข้อมูลมารวมกัน น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรดี ๆ ที่จะเกิดขึ้น 
 
ซึ่งตอนนี้ได้มีทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมด้วย โดยเราแบ่งออกเป็นหลายเรื่อง อาทิ แอปพลิเคชันในการติดตามกลุ่มเสี่ยง จุดจำหน่ายหน้ากากอนามัยและแอลกอออล์ การประสานงานของเจ้าหน้าที่รัฐกับคนในชุมชน ฯลฯ ได้มีการออกแบบเฟรมเวิร์คทางด้านดิจิทัลขนาดใหญ่ขึ้น อย่างการเก็บข้อมูลคนที่เดินทางเข้าประเทศตรงจุดตรวจคนเข้าเมือง 
 
ในส่วนภาครัฐ AOT เองได้มีแอปพลิเคชันที่ติดตามนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว และยังสามารถระบุตำแหน่งที่นั่งบนเครื่องบินหากบุคคลใดมีการติดเชื้อก็สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงสายการบิน ที่นั่ง บุคคลรอบตัว และมีใครอยู่ในลำนั้นบ้าง และเรายังได้รับความร่วมมือจาก NECTEC นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพของไทยมาช่วยทำระบบการวิเคราะห์ big data และอื่น ๆ อีกด้วย 
 
เมื่อพูดถึงแอปพลิเคชันแผนที่ที่ระบุตำแหน่งของคนติดเชื้อโควิด-19 อยากให้คนที่จัดทำแน่ใจว่าข้อมูลที่ใช้นั้นเป็นข้อมูบลแบบที่เป็นทางการจริง ๆ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากภาครัฐ เพราะการไประบุตำแหน่งที่ลึกจนเกินไปก็อาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ และอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องได้
 
เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำเอาระบบติดตามผู้ป่วยในลักษณะนี้มาใช้ (ยกเว้นจีนที่เขาใช้ไปแล้วเพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมาก) ตอนนี้ได้มีการพูดคุยกับโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของประเทศในการข้อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์คนกลุ่มเสี่ยง
 

ภาพจาก covid19.ddc.moph.go.th/th
 
หากได้รับความร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์จะทำให้ติดตามคนเหล่านั้นได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะคนกลุ่มเสี่ยงไม่จำเป็นต้องลงแอปพลิเคชันใด ๆ แค่รู้เบอร์โทรศัพท์เขาก็สามารถติดตามได้แล้ว แม้ว่าจะเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์แต่ก็ยังสามารถติดตามได้จากหมายเลขบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต จุดนี้เองทางกลุ่มได้ตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันให้เครื่องมือตัวนี้ออกมาโดยเร็วที่สุด 
 
การร่วมมือกันของคนไทยเรากันเอง ไม่ว่าจะเป็นใครหรือกลุ่มใดก็ตาม ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก บางครั้งเราจะรอแต่ทางภาครัฐอย่างเดียวคงไม่ทันการณ์แน่ ๆ ตอนนี้เหล่าคนที่มีความรู้ด้านดิจิทัลได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันมากขึ้น มีการรายงานข้อมูลตำแหน่งข้อมูลของคนที่ติดเชื้อโควิด-19  รายงานการเชื่อมโยงของคนที่ติดเชื้อจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง 
 
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าปัญหาของการทำแผนที่คือการระบุตำแหน่งผู้ป่วยนั้นมีความอ่อนไหวต่อพื้นที่มาก ข้อมูลที่ปักลงไปในพื้นที่มักเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วมีการทำความสะอาดหรือจัดการเรียบร้อยไปแล้ว ไม่ใช่เหตุการณ์แบบเรียลไทม์จริง ๆ การปักหมุดอยู่อย่างนั้นส่งผลต่อทั้งพื้นที่ตรงนั้น ธุรกิจ และคนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นอย่างแน่นอน จุดที่น่าสนใจในการแจ้งเตือนก็คือพื้นที่ที่มีการพบผู้ป่วยซ้ำ ถือเป็นพื้นที่ที่อันตราย ควรมีการแจ้งเตือนให้ทราบมากกว่า
 
ข้อมูลแบบเรียลไทม์คือสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ เพราะข้อมูลมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลที่แชร์กันบนโซเชียลมีเดียคือข่าวในอดีตที่เกิดไปแล้ว พื้นที่ตรงนั้นได้รับการจัดการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเราควรสนใจข้อมูลในปัจจุบันมากกว่าว่าพื้นที่ไหนบ้างที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19
 
ข้อมูลบางอย่างมีความละเอียดอ่อน รัฐเองมีความต้องการเปิดเผยข้อมูลกลางเพื่อให้นำไปใช้ได้อย่างเป็นระบบ จึงได้มีการร่วมมือกันในการหาวิธีเผยแพร่ข้อมูลให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด 
 
จึงเกิดเป็นแพลตฟอร์ม www.th-stat.com ช่องทางหลักในการนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในการรายงานข้อมูลผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง ผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงฯ https://covid19.ddc.moph.go.th นี่คือผลงานความร่วมมือของภาคประชาชนกับภาครัฐ ที่เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของผมและทีมงาน เราจะรอดด้วยกันครับ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด