บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.1K
2 นาที
27 เมษายน 2563
กลยุทธ์ปรับตัวธุรกิจค้าปลีก ช่วงโควิด-19


 
เวลานี้นับเป็นช่วงวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีก เนื่องจากผู้บริโภคจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และอาจต้องปลีกตัวอยู่ตามลำพังเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ห้างร้านบางแห่งจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราวเพื่อให้พนักงานและลูกค้าให้ปลอดภัย
 
ขณะที่รัฐบาลออกมาตรการเคอร์ฟิวกำหนดเวลาเปิด-ปิดร้าน โดยไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้เลยว่าสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ อีกทั้งผลจากการปิดตัวของธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง ส่งผลให้กำลังซื้อหายไปจากระบบเป็นจำนวนกว่า 70,000 ล้านบาท วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com จะแนะนำแนวทางการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีกไทย


ภาพจาก bit.ly/2yPma3i
 
แน่นอนว่า ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทยที่ผ่านพ้นวิกฤต “โควิด-19” ไปได้ ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ธุรกิจค้าปลีกเหล่านั้น จะไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะจำนวนคนที่เข้าไปใช้บริการในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า รวมถึงร้านค้าปลีกอื่นๆ จะลดน้อยลง เราจะไม่เห็นคนยืนต่อแถวซื้อสินค้า หรืออาหารในห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป เพราะคนจะใช้บริการบริการผ่านออนไลน์มากขึ้น
 
ดังนั้น โมเดลการค้าปลีกแบบดั้งเดิม จะค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนก่อนการระบาดของไวรัส “โควิด-19” จะทำให้เกิดช่องทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้การเชื่อมต่อผู้ผลิตไปยังผู้บริโภครายย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการค้าผ่านระบบ E-Commerce ซึ่งผู้บริโภคสามารถชำระค่าสินค้าผ่านระบบ E-Payment ได้อย่างสะดวก
 
นอกจากนี้ ผู้ผลิตและผู้ค้ายังสามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้ารายย่อยได้รวดเร็วและตรงเวลา ผ่านการใช้บริการของบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ เทรนด์เหล่านี้จะก่อให้เกิดการเติบโตของจำนวนร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านมากขึ้น ด้านในตัวธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเองก็จะมีการแข่งขันสูง พิจารณาจากจำนวนสาขาของร้านโมเดิร์นเทรดประเภทต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ 


ภาพจาก shopee.co.th/miniso_thailand
 
สำหรับแนวทางธุรกิจค้าปลีกของไทย ควรต้องปรับตัว ตามเทรนด์ค้าปลีกโลกที่จะเกิดขึ้น ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นั่นก็คือ 
  1. แบรนด์สินค้าจะเข้าหาผู้บริโภคโดยตรง 
  2. การค้าขายไร้ขอบเขต หนุนค้าปลีกดั้งเดิมปรับตัว 
  3. แบรนด์สินค้าที่ไม่มียี่ห้อจะเริ่มทะยานขึ้น 
  4. เทคโนโลยีวิดีโอและเสียง จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ 
  5. การแข่งขันส่งมอบที่รวดเร็ว จะช่วยเร่งตลาดอีคอมเมิร์ซโต 
  6. “การบริการของธุรกิจค้าปลีก” ในตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีเพิ่มขึ้น ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ 
  7. ธุรกิจค้าปลีกจะเพิ่มช่องทางเข้าถึงลูกค้า ด้วยการสมัครสมาชิก และสร้างความภักดี เพื่อการเติบโต 
  8. การเพิ่มขึ้นของรูปแบบการค้าปลีกอีคอมเมิร์ซ (ขายคืนสินค้ามือสองมากขึ้น) 
  9. ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล จะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น

ภาพจาก bit.ly/2W0UKiH
 
แม้การระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก เพราะผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการเดินห้าง หรือซื้อของตามร้าน อีกทั้งยังต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ตามมาตรการป้องกันแพร่ระขาของไวรัส ทำหุรกิจค้าปลีกไม่สามารถขายสินค้าได้ แต่อย่าลืมว่าในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แบรนด์สินค้าต้องเข้าหาผู้บริโภคโดยตรง ด้วยระบบอีคอมเมิร์ซ และชำระเงินแบบดิจิทัล
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,811
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,441
โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก
743
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
662
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
580
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
516
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด