บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
2 นาที
28 เมษายน 2563
ตลาดสดยุค New Nomal การเปลี่ยนแปลงที่ต้องรู้!
 

คาดการณ์ว่าหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายสิ่งที่ทิ้งไว้คือ “ความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่” ที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่าเป็น New Nomal ซึ่งจะมีผลกระทบในทุกธุรกิจ รวมถึงไลฟ์สไตล์และความรู้สึกของคน เป็นการฝังรากลึกลงในความรู้สึกเพราะคนส่วนใหญ่ยังเข็ดขยาดและหวาดกลัวต่ออันตรายของเชื้อ COVID 19 แต่ไม่ว่าจะกลัวแค่ไหน อย่างไร ชีวิตก็ต้องเดินหน้า ระหว่างกลัวติด COVID 19 ตาย กับ อดตาย เชื่อว่าคนเรากลัวอย่างหลังมากกว่า โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ค้าในตลาดต่างๆ ที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบเต็มๆจากรายได้ที่ตกแบบฮวบฮาบอันเป็นผลจากรายได้ของคนส่วนใหญ่ลดลง และคนส่วนใหญ่ไม่อยากออกจากบ้านมาจับจ่ายใช้สอย
 
www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าตลาดสดนับจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก ตลาดไหนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือทำตามจะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการได้ เรียกว่าต่อจากนี้จะเป็นตลาดสดยุค New nomal ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง
 
นิยามคำว่าตลาดในความหมายตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 คือสถานที่ที่จัดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันนัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดในสถานที่ของเอกชน หรือในที่ หรือทางสาธารณะ และไม่ว่าจะมีโครงสร้างอาคาร หรือจะเป็นบริเวณที่ไม่มีอาคารก็ตาม และมีองค์ประกอบ ดังนี้
  1. เป็นการชุมนุมผู้ค้า ผู้ขายสินค้าร่วมกัน 
  2. สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าประเภทอาหารสด ได้แก่ ผักสด ผลไม้ สัตว์เป็น หรือเนื้อสัตว์ที่ชำแหละแล้วเป็นสำคัญ ส่วนจะมีสินค้าอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
ตัวเลขของตลาดสดในกรุงเทพและจำนวนแผงค้า


ภาพจาก bit.ly/2YbUOyN
 
ก่อนจะไปดูว่าตลาดสดยุค New Nomal ควรเป็นอย่างไร เราต้องรู้ก่อนว่าปัจจุบันมีจำนวนตลาดในกรุงเทพฯมากน้อยแค่ไหน และจากการใช้ฐานข้อมูลจาก 3 แหล่งข้อมูล คือ กองสุขาภิบาลอาหาร แหล่งทำเลขายของ และ Google map เพื่อรวบรวมแหล่งตลาดสดและตลาดนัดที่มีอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีตลาดสดทั้งหมด 1,120 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น ตลาดนัด 250 แห่ง และตลาดสด 140 แห่ง ที่สำคัญ คือ พบว่าตลาดที่อยู่ในการควบคุมกำกับของรัฐ (กองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย) จำนวน 350 แห่ง
 
ทั้งนี้หากโฟกัสเฉพาะในส่วนของกรุงเทพมหานครมีตลาดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 ตลาด ได้แก่ ตลาดประชานิเวศน์ 1 , ตลาดบางกะปิ , ตลาดหนองจอก , ตลาดราษฎร์บูรณะ , ตลาดรัชดาภิเษก , ตลาดอรุณอมรินทร์ , ตลาดสิงหา , ตลาดพระเครื่องวงเวียนเล็ก , ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) , ตลาดเทวราช , ตลาดนัดจตุจักร , ตลาดนัดจตุจักร (มีนบุรี) และตลาดบางแคภิรมย์ โดยมีแผงค้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 21,500 แผงค้า ในจำนวนนี้ตลาดนัดจตุจักรคือตลาดที่ใหญ่สุดมีแผงค้าทั้งหมด 10,334 แผง แบ่งออกเป็น 31 โครงการ โครงการ 1-30 มีแผงค้า 9,495 แผง ขายอาหารและเครื่องดื่ม หนังสือ ของสะสม สัตว์เลี้ยง เสื้อผ้ามือสอง โครงการ 31 เป็นแผงค้าต้นไม้ มีแผงค้า 839 แผง เป็นต้น
 
และหากโฟกัสแยกย่อยไปอีกจะพบว่าจำนวนตลาดที่ปรากฏไม่ใช่เพียงเท่านี้ ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่าในกรุงเทพมหานครมีตลาดรวมมากกว่า 74 แห่ง ตลาดน้ำมากกว่า 9 แห่ง หรือถ้ามองภาพรวมในตลาดทั่วประเทศข้อมูลจากกองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด กรมการค้าภายใน ระบุว่า  ภาคเหนือมี 88 แห่ง ภาคกลาง 110 แห่ง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 134 แห่ง ภาคใต้ 33 แห่ง รวม 365 แห่ง แต่ถ้าสำรวจละเอียดจริงๆ เชื่อว่าตัวเลขจะมากกว่านี้
 
ข้อควรปฏิบัติสำหรับตลาดสดยุค New Nomal
 
อย่างที่ทราบว่าสังคมไทยต่อจากนี้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด มากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการตลาด พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ก็ต้องร่วมกันเพื่อเปลี่ยนแปลง ดังนี้
 
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อของในตลาด


ภาพจาก bit.ly/3bK9KIr
  1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ไปตลาด
  2. ผ่านจุดคัดกรองที่ตลาดจัดไว้ทั้งผู้ค้าและผู้มาซื้อของ
  3. ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง (อย่างน้อย 20 วินาที)
  4. ลดหรือเลี่ยงการสัมผัสระหว่างซื้อ-ขาย
  5. เว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 เมตร ทั้งผู้ค้าและผู้มาซื้อของ
  6. เมื่อมีอาการไอจามมีน้ำมูก เหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์ทันที
  7. ไม่ควรใช้มือหยิบสินค้าแต่ควรมีอุปกรณ์สำหรับคีบจับสินค้า
  8. อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากกลับเข้าบ้าน
 
ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าของตลาด


ภาพจาก bit.ly/2W7JYaf
  1. กำหนดการเข้าออกตลาดทางเดียวและตั้งจุดคัดกรองผู้เข้าพื้นที่ตลาดทุกคน
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้าและผู้ซื้อสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าพื้นที่ตลาด
  3. จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือให้ผู้ค้าและผู้ที่มาซื้อของในตลาด
  4. กำหนดระยะห่างระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อประมาณ 1-2 เมตร
  5. จัดทำทำคำแนะนำหรือแบบประเมินตนเอง (Self-check) ในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ค้าได้มีการตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้น
  6. ทำความสะอาดบริเวณพื้น ทางเดิน แผงจำหน่ายสินค้าอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโดยคลอรีนเข้มข้น
  7. งดการให้บริการพื้นที่นั่งในแผงจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภค หรือบริเวณที่จำหน่ายอาหารพร้อมบริโภค
  8. เพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการเป็นแบบ E-Payment เพื่อลดการสัมผัสธนบัตร
  9. มีการจัดการขยะที่เหมาะสมเพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ภาพจาก bit.ly/2xfGJW7
 
คาดการณ์ต่อไปอีกว่าต่อให้สถานการณ์คลี่คลายก็จริงแต่เรายังต้องอยู่กับความหวาดระแวงและเฝ้าระวังต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งในระหว่างนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง ความน่าเป็นห่วงของสังคมไทยคือคนส่วนใหญ่จะตื่นเต้นตื่นตูมกันแค่ช่วงแรกๆ พอผ่านไปสักพักพฤติกรรมหลายอย่างอาจจะกลับมาเป็นแบบเดิม เท่ากับเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ หรือแพร่กระจายเชื้อได้ ถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังดังนั้นเจ้าของตลาด พ่อค้าแม่ค้า และคนมาใช้บริการต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมที่สูงมากขึ้นด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ข้อมูลจาก
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
711
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด