บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
2 นาที
11 พฤษภาคม 2563
LTV ที่ต้องรู้ จะผ่อนอะไรนักหนา เมืองนอกเข้มกว่ามาก


ภาพจาก Freepik
 
มาตรการ LTV คืออะไร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า “มาตรการ LTV คือเกณฑ์ที่กำหนดวงเงินที่ผู้กู้จะกู้ซื้อบ้านได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือกำหนดว่าผู้กู้จะต้องวางเงินดาวน์ขั้นต่ำเท่าไรนั่นเอง
 
LTV นั้นย่อมาจากคำเต็มว่า loan-to-value ratio หมายถึง อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน ตัวอย่างเช่น หากบ้านราคา 2 ล้านบาท และกำหนดให้ LTV = 90% หมายความว่าเราจะกู้เงินเพื่อซื้อบ้านได้เพียง 1.8 ล้านบาท (90% x 2 ล้าน) และต้องวางเงินดาวน์อีก 2 แสนบาทสำหรับส่วนที่เหลืออีก 10% ของราคาบ้านนั่นเอง”
 
“สำหรับมาตรการ LTV หรือในชื่อที่เป็นทางการว่า “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย” มีหลักการสำคัญคือการกำหนด LTV (อีกนัยหนึ่งคือกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ ตามตัวอย่างข้างต้น) ของการกู้สินเชื่อใหม่และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ให้เข้มขึ้นเพื่อที่จะสะท้อนความเสี่ยงได้ดีขึ้นสำหรับการผ่อนบ้านพร้อมกัน 2 หลังขึ้นไป หรือบ้านมีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้นมาตรการ LTV จึงส่งผลเฉพาะกับคนที่ผ่อนบ้าน 2 หลังพร้อม ๆ กันหรือกู้ซื้อบ้านที่ราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น”
 
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ธปท. ได้ปรับเกณฑ์ LTV ใหม่โดย
 
1. การกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท  แม้ว่ายังคงเพดาน LTV ไว้ที่ 100% สำหรับสินเชื่อบ้าน หรือกู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน แต่สิ่งที่ ธปท.ต่อยอดให้ คือ ผู้กู้สามารถกู้ยืมเพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น การซื้อเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งบ้าน และการซ่อมแซมหรือต่อเติม
 
2. ให้ปรับลดการวางเงินดาวน์น้อยลงจาก 20% เป็น 10%  สำหรับการกู้ซื้อบ้านหลังแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องของการตกแต่งบ้านหรือต่อเติม และการซื้อเฟอร์นิเจอร์เช่นเดียวกับบ้านที่มีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท
 
3. ส่วนการดูแลผู้ที่จำเป็นต้องมีบ้าน 2 หลัง  ซึ่งมีวินัยในการผ่อนชำระหนี้สัญญาที่ 1 ให้เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น และยังคงส่งเสริมให้มีการออมก่อนกู้นั้น ธปท.ได้ผ่อนเกณฑ์ให้การกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 2 ที่มีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท โดยจะลดการวางเงินดาวน์จากเดิม 20 เหลือ 10% หากผ่อนชำระสัญญาที่ 1 มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี จากเดิมที่กำหนดให้ต้องผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี


ภาพจาก Freepik
 
อันที่จริงธนาคารแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องปรับโครงสร้าง LTV ก็ได้ เพราะเป็นการคัดกรองผู้ซื้อบ้านจริงๆ แต่คงเป็นเพราะต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินให้สามารถขายบ้านได้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว  อย่างไรก็ตามหากผ่อนผันมากไป ก็จะเสียหายไปหมด เพราะจะทำให้ทรัพย์สินกลายเป็นหนี้เสียได้ง่ายนั่นเอง 
 
ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเคยแสดงให้เห็นว่า LTV ในต่างประเทศเข้มข้นกว่าไทยมาก “ในหลาย ๆ ประเทศก็มีการใช้มาตรการ LTV เช่นกัน แต่ความเข้มและลักษณะการบังคับใช้อาจแตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศนั้น ๆ ที่ผ่านมา มาตรการ LTV ไม่ได้มีใช้แค่ในประเทศไทย แต่มีการใช้ในหลายประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น โดยประเทศส่วนใหญ่บังคับใช้เกณฑ์ LTV ในช่วง 60%-85% (หรือเท่ากับการวางเงินดาวน์ 15%-40%)

และมีลักษณะในการบังคับใช้ได้หลายแบบขึ้นกับบริบทของประเทศนั้น ๆ เช่น
  1. ตามจำนวนสัญญากู้ซื้อบ้าน
  2. ตามวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อลงทุน
  3. ตามพื้นที่ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับขึ้นเร็ว
  4. ตามมูลค่าหลักประกันหรือแหล่งรายได้ของผู้กู้
โดยในประเทศที่มีปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์หรือประเทศที่มีพื้นที่จำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร อาทิ ฮ่องกง สิงคโปร์ มักจะเห็นการกำหนดมาตรการ LTV ที่ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาบ้านสูงขึ้นเร็วเกินกว่ากำลังซื้อของคนส่วนใหญ่”

ภาพจาก Bank of Thailand
 
ที่มา : https://bit.ly/2W3J7bZ
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
715
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
532
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
433
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด