บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.5K
2 นาที
12 พฤษภาคม 2563
7 เทรนด์เปลี่ยนโลกธุรกิจหลังโควิด-19


 
การระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายมหาศาล ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก และหลายๆ ฝ่ายยังคาดการณ์ว่า หลังจบโควิด-19 ทุกสิ่งทุกอย่างอาจไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงรูปแบบของการดำเนินธุรกิจจะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ และพฤติกรรมผู้บริโภค จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ถือเป็น “ตัวเร่ง” หลายสิ่งที่จะเกิดในอีก 10 ปีข้างหน้า ให้กลายเป็น New Normal เกิดขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้
 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com ขอนำเสนอ 7 เทรนด์ธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นหลังยุคโควิด-19 จากงานวิจัยหัวข้อ Socio-economic trends that will strengthen and shape the future world ดังนี้
 
1. ธุรกิจดึงฐานการผลิตกลับประเทศ


ภาพจาก bit.ly/3dGzBSd
 
จากเดิมภาคการผลิตต่างมองหาแหล่งผลิตที่มีค่าแรงถูก อย่างประเทศจีน แต่พอเกิดโรคระบาดขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบซัพพลายเชนจากแหล่งผลิตถูกตัดขาด เริ่มเห็นปัญหาความเปราะบางในระบบซัพพลายเชน โลกหลังโควิด-19 จึงมองว่าจะต้องย้ายฐานการผลิตกลับมาที่ประเทศตัวเองส่วนหนึ่ง เพราะวันนี้เทคโนโลยีอัตโนมัติช่วยให้การผลิตมีต้นทุนต่ำลง ทำให้ราคาสินค้าไม่แตกต่างกันมาก โดยไม่ต้องพึงพาฐานการผลิตที่มีต้นทุนแรงงานต่ำอีกต่อไป
 
นอกจากนี้ จะเห็นการต่อรองทางการค้ามากขึ้น เพราะแต่ละประเทศต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจหลังจบโควิด-19 ดังนั้น เศรษฐกิจที่พึงพาการส่งออกเป็นหลัก อย่างประเทศไทย อาจจะเกิดภาวะ “ชะลอตัว” จากการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงและผลจากการต่อรองทางการค้า
 
2. การลงทุนด้านเทคโนโลยีในภาคแรงงานมากขึ้น


ภาพจาก bit.ly/2YTpEfW
 
บริษัทต่างๆ จะหันมาลงทุนเทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ดังนั้น การใช้พื้นที่สำนักงาน จะเปลี่ยนรูปแบบจากพื้นที่การทำงานส่วนตัว เป็นพื้นที่ทำงานรวม (Common Spaces) เพราะคนสามารถทำงานที่ไหนก็ได้  เห็นได้จากช่วงโควิด-19 ได้เริ่มทำงานที่บ้าน Work from Home กันมาแล้ว ดังนั้น พื้นที่ออฟฟิศ จะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประชุมมากกว่าพื้นที่ทำงานตัวบุคคล ส่งผลต่อการเช่าพื้นที่สำนักงานลดลง และเช่าพื้นที่ระยะสั้น ดังนั้นราคา “ที่ดิน” ในตัวเมืองและรอบเมือง จะไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วเหมือนเดิม และมีความแตกต่างลดลงกับพื้นที่นอกเมือง เพราะการทำงานที่บ้าน ทำให้การเดินทางเข้าเมืองลดลง
 
นอกจากนี้ จะเห็นเทรนด์ Talent Pool คือการจ้างงานข้ามประเทศมากขึ้น จากเดิมที่คนเก่งจะทำงานให้กับบริษัทต่างชาติ แต่ด้วยเทคโนโลยีการทำงานจากที่ไหนก็ได้ คนเก่งๆ จะอยู่ในประเทศของตัวเอง และรับงานจากทั่วโลก แนวโน้มนี้คือคนเก่งจะมีงานทำมากขึ้น แต่คนที่ไม่มีทักษะ ก็จะถูกทิ้งห่างออกไป
 
3. ระบบการทำงานจะเปลี่ยนเป็นแบบจ็อบ


ภาพจาก bit.ly/2WqWXWd
 
เดิมรูปแบบการทำงานจะทำงานตามตำแหน่งที่รับผิดชอบ ตามเวลาทำงานออฟฟิศ แต่การทำงานแบบ Work from Home ในช่วงโควิด-19 จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าพนักงานจะทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่ การทำงานจึงเปลี่ยนรูปแบบเป็น  Task-based ทำงานเป็นจ็อบๆ เมื่อเป็นรูปแบบนี้ การทำงานจึงเลือกตามทักษะที่ถนัดไม่ใช่การทำงานตามตำแหน่ง ซึ่งสามารถทำงานข้ามแผนกได้ดี
 
ดังนั้นรูปแบบการจ้างงานหลังจากนี้จะมีความ “ยืดหยุ่น” มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องจ้างเป็นรายเดือน (Full Time)  แต่การปรับเป็น Task-based  หรือทำงานเป็นจ็อบ ทำให้ความมั่นคงด้านการเงินแบบทำงานเต็มเวลาอาจลดลง ขณะเดียวกันหากมีความสามารถก็สามารถรับงานได้หลายบริษัท
 
4. ตำแหน่งงานระดับกลางถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
 
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงานในปัจจุบัน มีแนวโน้มเป็นรูปแบบจ้างเป็นครั้งๆ หรือ Gig Economy มากขึ้น ตำแหน่งงานระดับกลาง จึงไม่มีความจำเป็นเหมือนในอดีต  เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ โดยงานประจำ (รูทีน) มีปริมาณลดลง แต่งานที่ไม่ใช่รูทีนเพิ่มขึ้น ดังนั้นตำแหน่งงานไม่มีทักษะและระดับกลางจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติมากขึ้น และมีโอกาสจะถูกเลิกจ้างได้ ส่วนกลุ่มที่มีทักษะสูงจะมีรายได้มากขึ้นและหางานใหม่ได้ง่ายกว่าทักษะระดับกลาง
 
5. สถาบันการศึกษาปรับตัวสู่ออนไลน์


ภาพจาก bit.ly/2zzKSon
 
ทั้งรูปแบบการจ้างการที่เปลี่ยนไปตามทักษะ การทำงานรูปแบบ Gig Economy ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาในอดีต ทั้งด้านการเรียนวิชาชีพไปสู่ทักษะตลาดแรงงานต้องการ รวมทั้งรูปแบบการเรียนออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในสถานการศึกษาเท่านั้น
 
6. ธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคม


ภาพจาก freepik
 
รูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป ที่จะเกิดช่องว่างรายได้ของคนในสังคมมากขึ้น ดังนั้นจะต้องมีรูปแบบการเก็บภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยจัดเก็บภาษีคนรายได้สูงมากขึ้น และธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เพื่อช่วยสร้างความเท่าเทียมของคนแต่ละกลุ่ม จากการสำรวจผู้บริโภค 77% เห็นว่าธุรกิจต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมไม่ใช่แค่หน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น
 
7. ปรับเปลี่ยนนโยบายดูแลสังคม


ภาพจาก bit.ly/2SYALAm
 
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนวิตกกับเรื่องงานและรายได้ คนกังวลเรื่องการไม่มีงานไม่มีรายได้มากกว่าเรื่องสุขภาพ  เพราะหากเสียชีวิตไปแล้วก็ไม่มีอะไรให้กังวล แต่หากยังมีชีวิตอยู่ ก็จำเป็นต้องใช้เงิน เมื่ออนาคตยังไม่แน่นอน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูแลสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น การเก็บเงินประกันสังคมมากขึ้นหรือไม่ เพื่อดูแลลูกจ้างหากเกิดปัญหา โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคมและฟรีแลนซ์ ที่ถือว่ามีปัญหามากที่สุดจากโควิด-19  
 
นโยบายรัฐบาลอาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเก็บเงินประกันสังคมต่างๆ ใหม่ เพื่อให้ทุกกลุ่มมีหลักประกันในการใช้ชีวิตเพื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นอีกในอนาคต เช่นเดียวกับธนาคารก็ต้องปรับวิธีการปล่อยเงินกู้ให้กลุ่มฟรีแลนซ์ เพื่อให้เข้าถึงเงินทุนในการประกอบอาชีพ และมีโอกาสรอดจากวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้น
 
จะเห็นได้ว่าวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากมายไปทั่วโลก ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คน การใช้ชีวิตอาจไม่เหมือนเดิม เราสามารถเรียนรู้จากไกด์ไลน์เปิดเมืองจากประเทศจีน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยเปิดเมืองสู่ภาวะปกติ จึงเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายและโอกาสที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้
 
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
712
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
528
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
446
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด