บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
4 นาที
30 กันยายน 2563
รวมภัยธรรมชาติสุดโหด ที่โลกไม่เคยเจอ! ปี 2020


ปี 2020 ก้าวเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้าย หลายคนบอกว่าปีนี้มีแต่เรื่องแรงๆ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ทั้งข่าวอาชญากรรมและมหันตภัยจากธรรมชาติ ซึ่งนักวิชาการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศในแต่ละปีอยู่ที่ 5.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15 ล้านล้านบาท และยังกล่าวอีกว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มเป็น 6 ล้านราย

ขณะที่ต้นทุนความเสียหายทั้งหมดจะพุ่งแตะ 4.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าปีนี้มีมหันตภัยจากธรรมชาติอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมสุดยอดภัยธรรมชาติที่บางอย่างอาจไม่ใช่การเกิดครั้งแรก ไม่ใช่เรื่องรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องสุดโหดที่เกิดขึ้นในปีนี้และเชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอแบบนี้แน่นอน
 
1.ไฟป่าออสเตรเลีย
 

ภาพจาก bit.ly/3cHh74w

เริ่มต้นกันที่ไฟป่าออสเตรเลียซึ่งได้ปะทุมาตั้งแต่ปลายปี 2019 ลุกลามยาวนานมาจนถึงช่วงมกราคมปี 2020 ครอบคลุมพื้นที่ 60,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของประเทศเบลเยียม ไฟป่าครั้งนี้คร่าชีวิตคนไปถึง 23 คน และสัตว์ป่าตายไปมากกว่า 480 ล้านตัว บ้านเรือนเสียหายไปมากกว่า 1,500 หลัง และสถานการณ์ก็ได้ค่อยๆ คลี่คลายไปเมื่อมีฝนตกหนักในหลายรัฐ ไฟป่าออสเตรเลียถูกจัดอันดับว่ารุนแรงมากที่สุดสุดครั้งหนึ่งของโลก

โดยถูกยกว่าสถานการณ์เลวร้ายกว่า ไฟป่าอินโดนีเซีย และ ไฟป่าอเมซอน ในบราซิล หลายเท่าตัว ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อนที่หลายประเทศไม่ได้สนใจที่จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหามากนัก
 
2.น้ำท่วมหนักในออสเตรเลีย หนักสุดในรอบ 100 ปี
 
ภาพจาก bit.ly/3jhvsaw

อยู่ที่ออสเตรเลียเหมือนเดิม ปัญหาไฟป่ายังไม่คลี่คลาย ซ้ำมาเกิดวิกฤติน้ำท่วม ในเมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ประชาชนกว่า 20,000 ครอบครัวต้องอพยพหนีกระแสน้ำ โดยระดับน้ำท่วมขังยังคงสูงกว่า 1 เมตรนับเป็นเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี มีจระเข้ สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์มีพิษออกมาเป็นจำนวนมาก จนถึงขั้นที่ทางการประกาศเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
 
3.ปัญหาฝุ่น PM 2.5
 
ภาพจาก bit.ly/2GmHvEZ

ช่วงต้นเดือนมกราคม ปัญหามลภาวะทางอากาศ PM 2.5 เป็นปัญหาต่อคนกรุงเทพและปริมณฑลอย่างหนัก แม้ว่าต้นเหตุของปัญหาจะเกิดน้ำฝีมือของมนุษย์ แต่ปัญหานี้ก็เป็นผลกระทบในวงกว้างเนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้สามารถผ่านเข้าสู่ระบบหายใจและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้ โดยช่วงวันที่ 7 มกราคม 2563

เว็บไซต์รายงานค่าฝุ่นจิ๋วรายชั่วโมงโดยกรมควบคุมมลพิษเผยข้อมูลค่าฝุ่นในหลายพื้นที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงซึ่งประเทศไทยตั้งไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หนักสุดพุ่งแตะ 121 มคก./ลบ.ม. จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดภาวะกักตุนหน้ากากอนามัยสำหรับป้องกัน PM 2.5 และใช้เวลาอยู่นานกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้
 
4.การแพร่ระบาดของ COVID-19
 
ภาพจาก bit.ly/2S8w0nf

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ยังไม่ทราบปัญต้นตอที่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด เรารู้และรับทราบข่าวนี้เมื่อช่วงต้นปี 2563 ซึ่งอันที่จริงข่าวนี้เริ่มต้นครั้งแรกคือช่วงปลายปี 2562 แต่ตอนนั้นทั่วโลกไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาคิดว่าสถานการณ์จะสามารถคลี่คลายไปได้เอง จนกระทั่งวันที่ 12 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศว่าพบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก

และจากนั้นมาสถานการณ์ก็ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ไม่ใช่แค่ในประเทศแต่เป็นปัญหาที่กระทบไปทั่วโลก ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและอีกมากมายตามมาจนถึงทุกวันนี้ โดยตัวเลขของผู้ติดเชื้อ COVID 19 ทั่วโลกนับถึงตอนนี้มากกว่า 33,546,651 คน รักษาหายแล้ว 24,876,169 และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมที่ 1,006,337 ราย (ข้อมูลนับถึงวันที่ 29 กันยายน 2563)
 
5.น้ำท่วมครั้งใหญ่ในอินโดนีเซียเสียชีวิตกว่า 60 คน
 
ภาพจาก bit.ly/2GbvP8d

เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในกรุงจาการ์ตาเมืองหลวงของอินโดนีเซีย เมื่อช่วงต้นปี 2563 สาเหตุเริ่มมาจากฝนที่ตกอย่างหนักก่อนช่วงปีใหม่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในกรุงจาการ์ตาและเมืองเลบัค ทางใต้สุดของเกาะชวา โดยโฆษกสำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นมากกว่า60 รายและยังมีผู้สูญหายอีกจำนวนมากด้วย
 
6.แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตุรกี
 
 
ภาพจาก bit.ly/3ijEbHM

ช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 มีรายงานเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 6.8 แม็กนิจูด ในเมืองซีฟริซ (Sivrice) จังหวัดเอลาซือ (Elazig) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศตุรกีเป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือนพังทลายเสียหายจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปไกลถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างซีเรีย เลบานอน และอิหร่าน สำนักงานด้านการจัดการเหตุด่วนและภัยพิบัติของตุรกี (AFAC) เปิดเผยว่า ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวมีอาฟเตอร์ช็อกตามมามากถึง 60 ครั้ง
 
7.ฝูงตั๊กแตนนับล้านบุกแอฟริกาตะวันออก
 
ภาพจาก bit.ly/349NvZY

ช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 เกิดเหตุการณ์ฝูงตั๊กแตนนับล้านบินผ่านแอฟริกาตะวันออก โดยตั๊กแตนเหล่านี้หิวกระหายอย่างหนักองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประมาณการว่า ตั๊กแตนหนึ่งฝูงในเคนยา กินพื้นที่ประมาณ 2,400 ตารางกิโลเมตร หรือพื้นที่เกือบขนาดของกรุงมอสโก ซึ่งหมายความว่าในพื้นที่นี้สามารถมีตั๊กแตนได้ถึง 200,000 ล้านตัว ทุกวันๆ วันแต่ละตัวกินอาหารเท่ากับน้ำหนักของตัวเองการโจมตีของตั๊กแตนในเอธิโอเปียและโซมาเลียครั้งนี้ รุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี และเลวร้ายที่สุดในเคนยาในรอบ 70 ปีตามรายงานของ FAO
 
8.พายุฝนหนักสุดในรอบ 100 ปีถล่มบราซิล
 
ภาพจาก bit.ly/3cGNyAj

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2020 เกิดพายุฝนตกหนักในทางใต้ของบราซิลที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มตามมาที่รัฐมีนัสเชไรส์โดยประชาชนร่วม 3,500 คนถูกสั่งอพยพและมีผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ราย ถือเป็นพายุฝนที่เกิดขึ้นตกหนักมากที่สุดเท่าที่เคยถูกวัดมาในรอบ 110 ปี สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติบราซิลชี้ แค่ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้นภายในเบโลโอรีซอนตี เมืองเอกประจำรัฐมีนัสเชไรส์ถูกวัดได้ 172 มิลลิเมตร หรือเกือบ 7 นิ้ว
 
9.ไข้ลาสซาระบาดที่ไนจีเรีย
 
ภาพจาก bit.ly/34cbdEF

สำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติไนจีเรีย (NCDC) เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสลาสซา กว่า 70 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันกว่า 472 ราย และพบการระบาดใน 23 รัฐจากทั้งหมด 36 รัฐของประเทศ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 14.8  โดยไวรัสลาสซาเป็นการแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำบาย ปัสสาวะ และอุจจาระของหนู ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคไข้มาลาเรีย ข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่าโรคไข้ลาสซามักระบาดที่ไนจีเรียช่วงฤดูแล้วเดือนมกราคม-เมษายน
 
10.ซูเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มญี่ปุ่น

ภาพจาก bit.ly/36mGsj8

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2563 มีรายงานพายุไต้ฝุ่นไห่เสินเข้าใกล้เกาะโอกินาวาและเกาะอามามิ-โอชิมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ มีการสั่งอพยพประชาชนกว่า 200,000 คนจากประมาณ 104,000 ครัวเรือนในโอกินาวา ,คาโงชิมะ ,คุมาโมโตะและนางาซากิ โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนี้มีความแรง 182.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนในเกาะคิวชูสูงถึง 600 มิลลิเมตรภายในเวลา 24 ชม.
 
11.ไต้ฝุ่น "ไมสัก" ถล่มเกาหลีใต้
 
ภาพจาก bit.ly/34aXePt

วันที่ 4 กันยายน 2563 พายุไต้ฝุ่น "ไมสัก" พัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งของเกาหลีใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 คน กระทบ 2.7 แสนหลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ และต้องยกเลิก 950 เที่ยวบิน ผลของพายุลูกนี้ทำให้เกิดฝนตกหนักและกระแสลมแรง จนต้นไม้ ป้ายโฆษณาและเสาไฟฟ้าหักโค่น ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าดับทั้งในเมืองปูซานและบนเกาะเชจู กระทบบ้านเรือน 270,000 หลัง
 
12.น้ำท่วมอย่างหนักใน 3 ประเทศแถบเอเชียใต้
 
รายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2020 ว่าเกิดน้ำท่วมดินถล่มใน 3 ชาติเอเชียใต้ เสียชีวิตกว่า 220 คน บาดเจ็บเกือบ 130 คน และสูญหายเกือบ 50 คน ซึ่งจากฝนที่ตกหนักทำให้ตึกถล่ม 3 หลัง ในมุมไบ มีประชาชนตกค้างในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า 1 ล้านคน โดยเนปาลมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดโดยยอดอย่างเป็นทางการของผู้เสียชีวิตในเนปาล 117 คน เป็นผลจากฝนที่ตกหนักในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาทำให้น้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านเข้าท่วมพื้นที่ ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 3,600,000 คน
 
13.น้ำท่วมในมณฑลเสฉวน หนักสุดในรอบ 70 ปี
 
ภาพจาก bit.ly/3igRdWv

ช่วงเดือนสิงหาคม 2020 สำนักข่าว CGTN ของจีนรายงานว่า ทางการท้องถิ่นมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศจีน ประกาศยกระดับเตือนภัยน้ำท่วมเป็นระดับสูงสุดหลังจากระดับน้ำในเเม่น้ำหลายสายหนุนสูง ไหลล้นทะลักท่วมพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมณฑลเสฉวน ที่ประกาศเตือนภัยน้ำท่วมในระดับสูงสุด นับว่ารุนแรงมากที่สุดในรอบ 70 ปี
 
14.น้ำท่วม จ.น่าน หนักสุดในรอบ 14 ปี
 
ภาพจาก bit.ly/2S8GhQa

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมน่านหนักสุดในรอบ 14 ปี น้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ประชาชนเดือดร้อนกว่า 3,000 ราย อันเป็นผลมาจากฝนที่ตกหนักและทำให้น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าท่วมพื้นที่ชาวบ้าน มีผู้ได้รับผลกระทบใน 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ของอำเภอเวียงสาโดยเฉพาะบ้านดอนแท่นหมู่ 2 และหมู่ 14 บ้านหนอง หมู่ 9 บ้านต้นหนุน หมู่ 5  บ้านปงสนุก หมู่ 1 และบ้านไหล่น่าน หมู่ 1  ซึ่งบางจุดท่วมสูงถึง 2 เมตร และมิดหลังคาบ้านชั้นเดียว โดยมีประชาชนเดือดร้อนมากกว่า 3,000 รายและมีผู้เสียชีวิต 1 รายด้วย
 
15.พายุฝนถล่มปากีสถานหนักสุดในรอบ 36 ปี
 
ภาพจาก bit.ly/34hOhnQ

ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาปากีสถานรายงานว่าฝนมรสุมที่ซัดกระหน่ำนครการาจี เมืองเอกแคว้นสินธ์ทางตอนใต้ของประเทศได้ทำลายสถิติปริมาณน้ำฝนเดือนสิงหาคมในรอบ 36 ปี และจากภาวะฝนถล่มหนักสุดครั้งนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมถนน และพื้นที่ลุ่มต่ำต่างๆ และยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากฝน เช่นไฟดูด ฟ้าผ่า และหลังคาถล่ม มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งด้วย
 
และนอกจากเหตุการณ์เหล่านี้ก็ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นมหันตภัยจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพายุที่ถล่มสหรัฐอเมริกา หรือเหตุการณ์น้ำท่วมในยุโรป และคาดว่ากว่าจะถึงช่วงสิ้นปีก็คงจะมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอีกไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเอาคืนของธรรมชาติอันเป็นผลกระทบจากน้ำมือของมนุษย์ที่ไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และนับวันมหันตภัยธรรมชาติเหล่านี้จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นด้วย
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document/index.php
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
 
รายงานจากธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ระบุว่าเศรษฐกิจโลกอาจสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจระหว่าง 5.8 - 8.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่าระหว่าง 6.4 - 9.7% ของ GDP โลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และยังระบุอีกว่าจะทำให้การค้าโลกมีมูลค่าลดลงถึง 1.7 – 2.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ การจ้า..
47months ago   8,375  11 นาที
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
438
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด