บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.8K
3 นาที
18 พฤศจิกายน 2563
#รีวิวหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุด ถึงใช้สมุดกราฟ


รีวิวหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุด ถึงใช้สมุดกราฟ หลายคนบอกว่าการจดคือวิธีการจำที่ดีที่สุด  การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ช่วยให้เราทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ดีหลายคนอาจไม่รู้ว่าคนที่ทำงานเก่งๆ เขาไม่ได้แค่จดในสมุด แต่ส่วนใหญ่เขาใช้สมุดกราฟ ที่ถือว่าเป็นขั้นกว่าของการจดแบบธรรมดาเพราะสมุดกราฟทำให้เรารู้สถิติ รวบรวมระบบความคิดได้ดีกว่า และเห็นภาพชัดเจนในสิ่งที่ผ่านไปแล้วได้ง่ายขึ้น แต่จะมีวิธีใช้สมุดกราฟแบบไหนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้บ้าง 

หน้า 216 หน้า
ราคา 220 บาท
 
ผู้เขียน: ทะคะฮะชิ มะซะฟุมิ
ผู้แปล: วีรวรรณ จารุโรจน์จินดา



ความสำเร็จครั้งใหญ่เริ่มต้นจากวิธีที่คุณใช้จดบันทึก เคล็ดลับที่ใช้กันในหมู่คนทำงานระดับหัวกะทิของญี่ปุ่น
  • จดจำข้อมูลได้อย่างแม่นยำ
  • คิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล
  • แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย
  • นำเสนองานได้อย่างน่าสนใจ
  • เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
บทนำ : สมุดกราฟ

ทำไมคนหัวดีถึงใช้สมุดกราฟ?

เพราะการใช้สมุดกราฟช่วยให้ สมองจัดระเบียบความคิดได้ดี สมุดกราฟช่วยให้เราจดโน้ตได้เป็นระเบียบกว่าสมุดไม่มีเส้น ในระหว่างที่จด ความคิดก็จะได้รับการจัดระเบียบตามไปด้วย
 
Q : สมุดโน้ตที่คุณใช้อยู่ตอนนี้เป็นแบบไหน?
  • สมุดโน้ตหลากสี
  • สมุดโน้ตมอมแมม
  • สมุดโน้ตอักขระ
  • สมุดโน้ตตุ้ยนุ้ย
  • สมุดโน้ตเล่มจิ๋ว
  • สมุดโน้ตตัดแปะ
  • สมุดโน้ตแออัด
สมุดกราฟแบบต่างๆ
  • สมุดกราฟเส้นเสริม | ม.เกียวโต นิยมใช้
  • สมุดกราฟมีจุด | ม.โตเกียว นิยมใช้
  • สมุดกราฟคอร์เนล
  • สมุดกราฟเส้นเสริมสีฟ้า
  • สมุดกราฟมาตรฐาน
Q : ทำไมถึงใช้สมุดกราฟ?
A : เพราะที่ปรึกษาของแมคคินซีย์ทุกคนใช้สมุดกราฟจดโน้ตกันน่ะสิ

Q : แล้วทำไมต้องเป็นสมุดกราฟ?
A : ….

Q : ทำไม “คนเก่ง” ถึงใช้สมุดกราฟ?
A : เพราะสมุดกราฟมีเส้นแนวตั้ง และแนวนวน ทำให้วาดแผนภูมิต่างๆได้ง่าย ทำให้จดบันทึกได้เป็นระเบียบ เข้าใจง่าย ทำให้การเรียนการทำงานมีประสิทธิภาพ
 
ผลลัพธ์ของการใช้สมุดกราฟ
  • ความจำดีขึ้น
  • คิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล
  • แก้ปัญหาได้ดีขึ้น
  • นำเสนอได้ดีขึ้น
  • มีแรงจูงใจมากขึ้น
  • เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น
กฎ 3 ข้อในการจดโน้ต
  • เปลี่ยนมาใช้สมุดกราฟ
  • ใส่หัวเรื่อง
  • แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษเป็น 3 ส่วน 
    • ข้อเท็จจริง
    • สิ่งที่วิเคราะห์ได้
    • แนวทางปฏิบัติ
สมุดโน้ตของคนเก่งเป็นสมุดโน้ตที่ อ่านง่าย เพราะเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ แถมยังมีการวาดแผนภูมิและกราฟประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วย
 
Guide 1 : ข้อแนะนำ การอ่าน สำหรับผู้อ่านแต่ละประเภท
  • คนทำงาน | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3 
  • คนที่กำลังเตรียมสอบ | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3 
  • คนที่ต้องนำเสนองาน | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3 
  • คนที่มีหน้าที่ให้ความรู้ | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | Guide 3 
Guide 2 : กฎ 3 ข้อ ของสมุดโน้ต
  • กฏข้อที่ 1 ใช้ “สมุดกราฟ”
  • กฏข้อที่ 2 ใส่ “หัวเรื่อง”
  • กฏข้อที่ 3 จดโน้ตโดย “แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน
7 คุณสมบัติที่ทำให้สมุดกราฟเอื้อต่อการ จดโน้ตอย่างสวยงาม
  1. เว้นพื้นที่ว่างได้อย่างสม่ำเสมอ
  2. จัดย่อหน้าได้อย่างสวยงาม
  3. เขียนตัวอักษรเท่าๆ กันได้
  4. วาดตาราง หรือ กราฟได้อย่างง่ายดาย
  5. วาดภาพประกอบด้วยมือได้
  6. จัดวางตำแหน่งแผนผังได้อย่างเหมาะสม ง่ายดาย และสวยงาม
  7. ใช้เป็นสตอรี่บอร์ดได้
 
บทที่ 1 : อยากเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนสมุดโน้ต


สมุดโน้ตมีอยู่ 2 ประเภท สมุดโน้ตที่เพิ่มความสามารถมีลักษณะดังนี้
  • ดูเป็นระเบียบ สะอาดตา
  • มีขนาดตั้งแต่ A4 ขึ้นไป
  • ใช้ปากกาไม่เกิน 3 สี
  • เขียน 1 เรื่องต่อ1 หน้า
  • เอาเนื้อหาบนกระดานมาเรียบเรียงใหม่
  • ไม่เขียนแบบลอกคำต่อคำ
  • มีการเว้นพื้นที่ว่าง
  • มีภาพประกอบ
  • เมื่อกลับมาอ่าน เข้าใจได้ทันที
สมุดโน้ตที่เพิ่มความสามารถมีลักษณะดังนี้
  • ดูเละเทะจนไม่อยากหยิบอ่าน
  • มีขนาดเล็กตั้งแต่ A6 ลงไป
  • ใช้ปากกามากกว่า 3 สี
  • จดหมดทุกเรื่อง ไม่จัดความสำคัญ
  • จดแบบลอกเนื้อหาบนกระดาษ
  • มีแต่ตัวหนังสือแน่น
  • ไม่ใส่แผนภูมิ รูปภาพ
  • เมื่อกลับมาอ่านแล้ว ไม่เข้าใจ
 
มีคนที่ใช้ สมุดโน้ตที่ฉุดรั้งความสามารถ มากถึง 99%
 
คนเก่งๆมักเคยมีประสบการณ์เหล่านี้
  • ได้รับการสอนวิธีใช้สมุดโน้ต
  • ได้รับการตรวจแก้สมุดโน้ตด้วยปากกาแดง
 
หน้าที่ ที่สำคัญของสมุดโน้ตคือ ช่วยทบทวนความทรงจำ การจดสมุดโน้ตด้วยวิธีที่ผิดจะส่งผลเสียระยะยาว
 
การใช้สมุดกราฟช่วยให้ทำสิ่งต่างๆต่อไปนี้ได้
  • จัดย่อหน้าแรกได้อย่างสวยงามเป็นระเบียบ
  • เขียนหัวข้อย่อยโดยเว้นจากย่อหน้าแรกเข้าไป 2-3 ตัวอักษร
  • เขียนเนื้อหาโดยเว้นจากหัวข้อย่อยเข้าไป 2-3 ตัวอักษร
  • เว้นบรรทัดเมื่อขึ้นหัวข้อใหม่
  • เว้นพื้นที่ว่างได้ง่ายและสามารถกำหนดพื้นที่สำหรับเรียบเรียงข้อมูลได้
  1. เว้นพื้นที่ว่างได้สวยงาม
  2. ย่อหน้าแต่ละบรรทัดเรียงกันเป็นระเบียบ
  3. เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัดได้เหมาะสม
  4. กำหนดขนาดของตัวอักษรได้
  5. อ่านง่าย
  6. วาดแผนภูมิ หรือตารางได้ง่าย
  7. วาดกราฟได้ถูกต้อง
  8. จัดวางแผนภูมิได้ถูกต้องแม่นยำ
 
บทที่ 2 : ความลับของ สมุดโน้ตแมคคินซีย์


ยิ่งมี กรอบ หรือ รูปแบบ ที่ดีเท่าไหร่ความคิดและการกระทำของเราก็จะยิ่งถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
สมุดโน้ตของนักเรียน มีหน้าที่ สั่งสม ความรู้และข้อมูล
สมุดโน้ตของคนทำงาน มีหน้าที่ คัดทิ้ง ข้อมูลที่ไม่จำเป็น
 
สมุดกราฟถือเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่ง บริษัทแมคคินซีย์ใช้สมุดกราฟที่มีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง
  • จดบันทึกเรื่องคุยกันในทีม
  • เรียบเรียงประเด็นที่ได้จากการประชุม
  • จดบันทึกเวลาที่คุยกับลูกค้า
  • เรียบเรียงประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่อยู่ในรายงาน
  • ร่างเอกสารที่จะใช้นำเสนอ
  • วิเคราะห์งาน
สมุดโน้ตของนักเรียน
  • พื้นที่จดเนื้อหา
  • พื้นที่จดประเด็นสำคัญ
  • พื้นที่เขียนสรุป
สมุดโน้ตคอร์เนล แบ่งพื้นที่ 3 ส่วน ได้แก่ 
  • พื้นที่สำหรับจดเนื้อหา
  • พื้นที่สำคัญหรับจดประเด็นสำคัญ
  • พื้นที่สำหรับเขียนสรุป
พอยต์ชีต
  • หัวเรื่อง
  • ประเด็นสำคัญ
  • แนวทางปฏิบัติ
ฟ้า ฝน ร่ม ของบริษัทแมคคินซีย์
ฟ้า = ข้อเท็จจริง 
ฝน = สิ่งที่วิเคราะห์ได้
ร่ม = แนวทางปฎิบัติ
 
สมุดโน้ตที่ดี ควรเป็น A4 ขึ้นไป
เพราะเป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
 
ใช้ปากกาไม่เจอ 3 สี
ใส่หัวเรื่อง และประเด็นสำคัญ
1 เรื่องต่อ 1 หน้า
ปากกาที่เขียนลื่นมือ
พัฒนาทักษะจดโน้ตแบบก้าวกระด้วย กฎ 10,000 แผ่น
เขียนให้มาก แก้ให้เยอะ
 
บทที่ 3 : สมุดโน้ตสำหรับการเรียน


หน้าที่หลัก 3 ข้อ ของสมุดโน้ต
  • สมุดโน้ตช่วยจำ การเรียน
  • สมุดช่วยคิด การทำงาน
  • สมุดโน้ตช่วยถ่ายทอด การนำเสนอ
 
สิ่งแรกที่ต้องทำคือ เลิกลอกตามทุกตัวอักษร เพราะเป็นการจดอย่างปราศจากความเข้าใจ ส่งผลให้สมองจดจำข้อมูลได้ลำบาก
 
เทคนิคจำใน 1 วิช่วยให้ จำได้ไม่ลืม ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีจำ แต่อยู่ที่ วิธีมอง
แค่เปลี่ยน วิธีมอง สมองส่วนที่ทำหน้าที่จดจำก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น
 
วิธีจดโน้ตที่ถูกต้อง 

กวาดสายตามองกระดาน > จำเนื้อหา > จดเนื้อหาที่จำได้ลงในสมุดโน้ตโดยไม่มองกระดาน
 
1 หน้าคู่ ต่อ 1 หัวเรื่อง
 
คนที่จัดการกับ พื้นที่ตรงกลาง ได้ดีย่อมจัดการกับการเรียนได้ดีด้วย
 
คำเชื่อม เป็นเครื่องมือ ในการถ่ายทอดสิ่งที่คิดวิเคราะห์ได้ ใช้คำเชื่อม คู่กับ ลูกศร 3 ชนิด
  1. ลูกศรแตกยอด
  2. ลูกศรสรุป
  3. ลูกศรเน้นย้ำ
พื้นที่สำหรับสรุป 

เป็นพื้นที่ ที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ นั้นคือ ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการสรุป
 
ทักษะการทำความเข้าใจ
เข้าใจ ทำได้ ถ่ายทอดได้
 
สรุปไม่เกิน 3 ประเด็น
ยิ่งสรุปประเด็นสำคัญ 3 ข้อจนเชี่ยวชาญ จะมีความคิดที่เฉียบคมขึ้น
 
บทที่ 4 : สมุดโน้ตสำหรับการทำงาน

สมุดโน้ตที่ใช้ตอนทำงานเป็นสมุดโน้ตที่ใช้ คัดทิ้ง ข้อมูลที่ใช้ไม่จำเป็น เพื่อหา คำตอบ หรือวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
  • การถาม ถือเป็นหลักพื้นฐานของธุรกิจ
  • การถามทบทวนใน 3 นาที เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
บทที่ 5 : สมุดโน้ตสำหรับนำเสนอ

การนำเสนอ คือ การถ่ายทอดข้อมูล ไอเดีย หรือ วิธีแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ
เวลาจดโน้ตอย่างเป็นคำๆ ต้องเขียนจนจบประโยค
การเขียนจนจบประโยชน์ จะช่วยเรียบเรียงภาพในหัว แล้วถ่ายทอดออกมาได้ง่าย
 
ถามว่า ทำไม 5 ครั้ง ให้ความสำคัญกับการลงมือทำด้วย
  • เลือก ประเด็นปัญหา ที่ควรนำมาคิดวิเคราะห์
  • แยกข้อเท็จจริง ออกจาก ความเห็น
  • ค้นหาต้นตอปัญหา โดยถามว่าทำไม 5 ครั้ง
  • เขียน แนวทางปฏิบัติ
  • เขียนข้อสรุป
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด