บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.9K
3 นาที
5 มกราคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้ กาแฟดอยตุง


พูดถึงแบรนด์กาแฟในเมืองไทยน่าจะมีเอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์ที่แตกต่างกันไป ซึ่ง “กาแฟดอยตุง” เป็นอีกแบรนด์กาแฟที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯดำเนินกิจการมากว่า 30 ปี โดยมุ่งสร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชนดอยตุง ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริที่มีประโยชน์มหาศาลต่อคนไทย

ไม่ใช่แค่นั้น www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าสิ่งที่สุดยอดยิ่งกว่าคือต่อยอดและเติบโตของกาแฟดอยตุงที่ก้าวตามโลกยุคใหม่ได้อย่างไม่ตกเทรนด์ผสมผสานกับการเป็นโครงการสร้างอาชีพให้กับคนไทยไปพร้อมๆกันด้วย และนี่คือ 10 เรื่องจริงที่เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้เกี่ยวกับกาแฟดอยตุง
 
1.สถานที่ปลูกกาแฟดอยตุงอยู่บนเทือกเขานางนอน
 

ภาพจาก facebook.com/DoiTungClub

กาแฟดอยตุงปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุงบนเทือกเขานางนอน จังหวัดเชียงราย ระดับความสูง 800 – 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความพิเศษของกาแฟดอยตุงอยู่ที่ระดับความสูงของการเพาะปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์ที่มูลนิธิฯ วิจัยและพัฒนาเอง ตลอดจนการดูแลตั้งแต่ศึกษาพื้นที่เพาะปลูก ออกแบบแปลงให้เหมาะสม เก็บเกี่ยวเฉพาะผลที่สุกกำลังดีด้วยมือทีละเม็ด

เพื่อให้ได้ความหวานของกาแฟ และผ่านการแปรรูป หมัก สีเปลือก คั่ว ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญทั้งนั้น เพราะถ้าหมักระยะเวลาเร็วไปก็จะไม่ได้รสชาติที่ดี ถ้าเก็บไม่ดีสารแร่ธาตุก็จะค่อยๆ หายไป แม้แต่อุณหภูมิที่ขึ้นๆ ลงๆ ก็จะมีผลต่อต่อปริมาณกลูโคส ทำให้ความหวานของกาแฟเจือจางลง
 
2.เชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาเป็นที่ปรึกษาในการปลูกกาแฟ 
 
ทางมูลนิธิฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญอย่าง Mr. Jose Kawashima ผู้บริหารระดับสูงของ Sustainable Coffee Association of Japan และคอฟฟีฮันเตอร์ชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมากกว่า 40 ปี และนักวิทยาศาสตร์ด้านกาแฟที่ทำงานร่วมกัน Dr. Tomohiri Ichiwaki ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเพาะปลูกไปจนถึงการบรรจุมาให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการปลูกกาแฟให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
 
3.กาแฟเกรดSpeciailty
 

ภาพจาก facebook.com/DoiTungClub

ด้วยความใส่ใจที่มีมาก ทางโครงการฯจึงลดการใช้เครื่องจักรในบางขั้นตอนที่อาจทำให้เมล็ดกาแฟเสียหายเพื่อที่จะรักษาความชื้นในเมล็ดกาแฟให้ได้ 9-13% รวมถึงการคัดแยกเมล็ดให้ทุกเมล็ดมีขนาดห่างกันไม่เกิน 5% และที่สำคัญทุกเมล็ดถูกคั่วออกมาอย่างสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าวเทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งเป็นมาตรฐานของกาแฟเกรด Speciailty หรือกาแฟเกรดที่ดีที่สุด 
 
4.มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงก่อตั้งโดย “สมเด็จย่า”
 
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นโดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เพื่อแก้ปัญหาความ “เจ็บ จน ไม่รู้” อย่างบูรณาการและครบวงจร โดยคำว่า“แม่ฟ้าหลวง” เป็นพระสมัญญานามที่ชาวไทยภูเขาพร้อมใจกันเรียกขานสมเด็จย่า เพราะภาพที่พวกเขาเห็นจนชินตา คือ สมเด็จย่าเสด็จฯ ด้วยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมกับสิ่งของ อาหาร เครื่องมือ และบุคลากรทางการแพทย์มาเยี่ยมเยียนพวกเขา เสมือนเสด็จฯ จากฟ้ามาปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย
 
5.องค์การยูเนสโกบันทึกให้ “สมเด็จย่า” เป็นบุคคลสำคัญของโลก

ในปีพ.ศ.2543 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) บันทึกให้สมเด็จย่าเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในสาขาการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมชื่อ มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ. 2515 เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวเขา
 
6.ร้านคาเฟ่ ดอยตุง 
 
เป็นการสร้างมูลค่าให้กาแฟพันธุ์อาราบิก้า พืชเศรษฐกิจที่ปลูกทดแทนฝิ่น โครงการพัฒนาดอยตุงฯ คัดเลือกกาแฟพันธุ์อาราบิกาชั้นดี มาปลูกบนพื้นที่สูง 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และปลูกอยู่ใต้ป่า กาแฟดอยตุงจึงมีกลิ่นหอม คุณภาพสูง เก็บและคัดเมล็ดด้วยมือ และคั่ว บด อย่างพิถีพิถัน ทำให้กาแฟทุกแก้วในร้านคาเฟ่ ดอยตุง มีรสชาติดี
 
แมคคาเดเมีย เป็นพืชเศรษฐกิจปลูกทดแทนฝิ่นเช่นกัน โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จ้างชาวบ้านเก็บเมล็ด และนำผลมาอบปรุงรส จำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์หลากรส ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ได้มาตรฐานสากล มีจำหน่ายที่ร้าน คาเฟ่ดอยตุง ทุกสาขา 
 
7.กาแฟดอยตุงขึ้นทะเบียน GI
 

ภาพจาก facebook.com/DoiTungClub

ในปี 2549 โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ทำการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กาแฟดอยตุง - Geographical Indication หรือ GI เพื่อรักษาสิทธิและป้องกันการใช้ชื่อ “กาแฟดอยตุง” ไว้สำหรับกาแฟที่ปลูกจากแหล่งเดียวคือที่ดอยตุง บนความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปเท่านั้น
 
8.กาแฟดอยตุงให้สัญลักษณ์ UNODC
 
โดบฉลากสินค้าทั้งกาแฟและแมคคาเดเมีย สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC มอบสัญลักษณ์ UNODC บนสินค้าทุกชนิดที่ผลิตจากโครงการพัฒนาดอยตุงฯ  ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพลิกไร่ฝิ่นสู่ป่ากาแฟ และเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม และเป็นส่วนสำคัญของการสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนให้คนบนดอยสูงอีกด้วย 
 
9.ดอยตุงจับมือเป็นพันธมิตรกับเจแปน แอร์ไลน์

ดอยตุง จับมือเป็นพันธมิตรกับเจแปน แอร์ไลน์ เสิร์ฟกาแฟดอยตุงในทุกเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น เจาะกลุ่มคอร์ปอเรท แทนการขยายร้านกาแฟซึ่งใช้เงินทุนสูงกว่า เจแปน แอร์ไลน์ มีเที่ยวบินไปกลับ กรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น รวม 12 เที่ยวบิน มีผู้โดยสารราว 800,000 คนต่อปี คาดการณ์ปริมาณการเสิร์ฟอยู่ที่ 300,000 แก้วต่อปี (ปริมาณราว 3 ตัน) และหากได้รับการตอบรับดี อาจนำไปเสิร์ฟในเส้นทางบินอื่นด้วย

ปัจจุบันดอยตุงมีพื้นที่เพาะปลูกกาแฟกว่า 3,000 ไร่บนดอยตุง จังหวัดเชียงราย มีกำลังการผลิต 200 กว่าตันต่อปี และส่งออกไปจำหน่ายผ่านร้านกาแฟซึ่งเป็นพันธมิตรของดอยตุงที่ญี่ปุ่น เช่น มิ คาเฟโตะ และ คาลดี้ คอฟฟี่ ฟาร์ม 60 ตันต่อปี
 
10.ผลประกอบการของ “ดอยตุง”
 

ภาพจาก facebook.com/DoiTungClub

ธุรกิจของดอยตุงในปัจจุบันดอยตุงมี 5 กลุ่มหลักที่ได้แก่ หัตถกรรม, อาหารแปรรูป ,สินค้าเกษตร, คาเฟ่ดอยตุง และการท่องเที่ยว ในปี 2561 นี้ ดอยตุงมียอดขายรวมอยู่ที่ 543 ล้านบาท ส่วนในปี 2562 เริ่มขยายตลาดสินค้าในกลุ่มหัตถกรรมส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และงส่งสินค้าไปทวีปยุโรปผ่านเครือข่ายของอิเกียซึ่งเป็นพันธมิตรในการจัดจำหน่าย สร้างยอดขายรวม 600 ล้านบาท

ส่วนตลาดในประเทศกาแฟดอยตุงมียอดขายเกือบ 100 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตราว 8-10% ขณะที่ตลาดกาแฟโดยรวมมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ดอยตุงมองว่าโอกาสของธุรกิจยังไปได้อีกมาก แต่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เน้นขยายสาขาเหมือนเชนร้านกาแฟอื่นๆ เพราะใช้เงินลงทุนสูง
 
กาแฟดอยตุงมีจุดเด่นที่เราควรศึกษาคือการลงทุนที่เน้นเอาใจใส่คนในพื้นที่ ปลูกฝังให้คนในพื้นที่ได้รักและหวงแหนอาชีพ กลายเป็นสตอรี่ที่ทำให้แบรนด์ดูโดดเด่นมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่มีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ไม่เร่งการเติบโตตามคู่แข่งแต่เติบโตตามแบบฉบับของตัวเอง เป็นกรณีศึกษาของการทำธุรกิจที่เราควรดูเป็นแบบอย่างเอาไว้
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3aL288n , https://bit.ly/38EKKjO , https://bit.ly/2NY21MY 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
791
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด