บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเงิน บัญชี ภาษี การลงทุน    ความรู้ทั่วไปทางการเงิน
1.9K
3 นาที
8 มกราคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! วัคซีน COVID 19


 
กลายเป็นความหวังของคนทั้งโลกสำหรับ “วัคซีน COVID 19” ที่ตอนนี้เริ่มมีสัญญาณชัดเจนมากขึ้นและในบางประเทศก็ได้เริ่มฉีดให้กับประชาชนไปบ้างแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นวัคซีนตัวใหม่ และเพิ่งผ่านการทดสอบแม้จะเป็นความหวังของคนทั้งโลก แต่หลายคนก็ยังกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะมีหรือไม่มี รวมถึงเรื่องคุณภาพ ราคา แต่ไม่ว่าอย่างไร ตอนนี้วัคซีน COVID 19 ก็กลายเป็นสิ่งที่เราทุกคนเฝ้ารอคอย แน่นอนว่าในประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ยิ่งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ที่ดูจะรวดเร็วยิ่งกว่าเดิมยิ่งทำให้คนไทยเองก็อยากได้ วัคซีน COVID 19 เร็วขึ้น แต่กว่าจะถึงวันนั้น www.ThaiFranchiseCenter.com ได้รวบรวมเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ วัคซีน COVID 19 มาฝากเพื่อให้เรารู้จักและเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้น
 
1. วัคซีน COVID 19 ได้มาอย่างไร
 

วัคซีน COVID 19 มีชื่อเรียกว่าวัคซีนอาร์เอ็นเอ ซึ่งผลิตจากชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของผู้รับวัคซีนสร้างแอนติบอดีที่ใช้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ จากการฉีดวัคซีนจำนวน 2 โดส ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการทดลอง ในระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ ข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองกว่า 90% มีภูมิคุ้มกันจากโรคโควิด-19
 
2. ประเทศไทยเตรียมผลิตวัคซีนเอง 26 ล้านโดส
 
ประเทศไทยจะดำเนินการผลิตวัคซีนต้านไวรัส COVID 19 จำนวน 26 ล้านโดส และสั่งซื้อจากจีนอีก 2 ล้านโดส มาดูที่เตรียมผลิตเอง 26 ล้านโดสก่อน ซึ่งเป็นการทำสัญญาจองซื้อวัคซีนล่วงหน้า กับบริษัทแอสตราเซเนกา ซึ่งใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ขณะนี้อยู่ระหว่างการถ่ายทอดกระบวนการผลิตให้กับ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และคาดว่าจะเริ่มทยอยส่งมอบในเดือน พ.ค.2564 ในส่วนของ จีน เป็นการสั่งซื้อมาจาก บริษัทซิโนแวค จำนวน 2,000,000 โดส ช่วงที่จะได้รับวัคซีนแบ่งเป็นปลายเดือนกุมภาพันธ์ 200,000 โดส ปลายเดือนมีนาคม 800,000 โดสและปลายเดือนเมษยนอีก 1,000,000 โดส  
 
3. โคโรนาแวค วัคซีน COVID 19 จากจีน
 

โดยวัคซีนที่ประเทศไทยจะซื้อจากจีน มีชื่อว่า “โคโรนาแวค” โดยวัคซีนตัวนี้ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิกเฟสที่ 3 ในบราซิล ชิลี อินโดนีเซีย และตุรกี โดยเป็น “วัคซีนเชื้อตาย” หรือ Inactivated ทำงานโดยการเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต้านโควิด-19 โดยแอนติบอดีจะยึดติดกับโปรตีนบางส่วนของไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย ในการสร้าง โคโรนาแวค นักวิจัยจากบริษัทซิโนแวคเริ่มต้นด้วยการหาตัวอย่างของเชื้อ COVID 19 จากผู้ป่วยในจีน อังกฤษ อิตาลี สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ โดยเลือกใช้ตัวอย่างเชื้อจากประเทศจีนเป็นพื้นฐานของวัคซีน
 
4. ทั่วโลกมีวัคซีน COVID 19 ที่ได้รับอนุญาตแล้ว 9 ราย
 
ขณะนี้ ทั่วโลกมีวัคซีน COVID 19 ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) แล้วจากผู้ผลิต 9 ราย 4 ชนิดวัคซีน เช่น mRNA, Viral Vector, Inactivated และ Sub unit protein ในประเทศไทยจะยอมรับการขึ้นทะเบียนที่มีผลของเฟส 3 มีประสิทธิผลที่ชัดเจน โดยวัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียนและได้รับการยอมรับมีเพียง 3 ชนิด คือ ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer), โมเดอร์นา (Moderna) และแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่เหลือเป็นการขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉิน โดยใช้ผลการทดลองเฟส 2 เท่านั้น
 
5. จีนได้ทดลองฉีดวัคซีน COVID 19 ให้ประชาชนแล้ว
 

ทางการจีน อนุมัติใช้วัคซีน COVID 19 ที่ผลิตเอง โดยระบุว่ามี ประสิทธิภาพสูงถึง 79.34%  ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยบริษัท Beijing Biological Products Institute ร่วมกับบริษัท China National Biotec Group (CNBG) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของซิโนฟาร์ม ( Sinopharm) และได้เริ่มทดลองใช้วัคซีนกับประชาชน "กลุ่มหลัก" ไปแล้วมากกว่า 3 ล้านโดส นับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 
 
6. สิงคโปร์เริ่มฉีดวัคซีน COVID 19 ให้เจ้าหน้าที่การแพทย์
 
กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้เริ่มฉีดวัคซีน COVID 19 โดยเจ้าหน้าที่การแพทย์จากศูนย์โรคติดเชื้อแห่งชาติ (NCID) เป็นกลุ่มแรกในสิงคโปร์ที่ได้รับวัคซีนนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ที่ได้รับวัคซีนกว่า 30 คน ส่วนประชาชนทั่วไปคาดการณ์ว่าจะเริ่มฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปก่อนภายในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นก็จะเป็นชาวสิงคโปร์และผู้อยู่อาศัยระยะยาวที่ผ่านเกณฑ์การแพทย์จะได้รับวัคซีนในลำดับต่อไป
 
7. วัคซีน COVID 19 คิดค้นได้ภายในเวลา 1 ปี
 

วัคซีนป้องกันโรคโดยทั่วไปจะต้องใช้เวลานานถึง 10-15 ปี ขณะที่ระยะเวลาในผลิตวัคซีนที่สั้นที่สุดที่เคยผลิตได้ คือ วัคซีนสำหรับเชื้ออีโบลา (Ebola) ส่วนวัคซีนป้องกันโรคคางทูม ที่ว่าเร็วก็ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี อย่างไรก็ตาม ด้วยความจำเป็นเร่งด่วน บวกกับวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้วัคซีน COVID 19 เป็นรูปเป็นร่างได้ภายใน 1 ปี โดยมีหลายบริษัทที่เร่งผลิตในครั้งนี้และหลายประเทศได้มีการจองวัคซีนเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาฉีดให้กับประชาชนภายในประเทศ
 
8. ราคาของวัคซีน COVID 19
 
โดยเฉพาะตลาดในสหรัฐ ซึ่งช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลวอชิงตันได้ระดมทุนจำนวนมาก เพื่อทุ่มเงินกับการสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาวัคซีนให้กับผู้ผลิตหลายราย ดังนั้นราคาที่กำหนดโดยบริษัทจึงต้องต่ำกว่าราคาในตลาด ซึ่งหากวัคซีนราคาแพง มีประชาชนเข้าถึงวัคซีนน้อยเกินไป ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกันระดับชุมชน และประเทศได้ นั่นหมายถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็ยังมีอยู่ ซึ่งทางด้านสหภาพยุโรปทำข้อตกลงซื้อวัคซีน COVID 19 กับไฟเซอร์และไบโอเอ็นเทคอยู่ที่ 18.34 ดอลลาร์ต่อหนึ่งโดส เมื่อซื้อ 200 ล้านโดสจะต้องจ่ายประมาณ 3.7 พันล้านดอลลาร์ หากซื้อเพิ่ม 100 ล้านโดส ราคาอยู่ที่ 4.65 พันล้านดอลลาร์ภายใต้ข้อตกลงนี้

9. งบประมาณของแต่ละประเทศในการซื้อวัคซีน COVID 19
 

เริ่มจากสหรัฐอเมริกา ใช้เงิน 3 แสนล้านบาท จองวัคซีน COVID 19 จากทั้ง 3 บริษัทไปรวมกันกว่า 700 ล้านโดส (350 ล้านคน) เพียงพอสำหรับประชากร 328 ล้านคนทั่วประเทศ และยังเหลือวัคซีนสำรองไว้ได้อีกหลายสิบล้านโดส ทางด้านสหราชอาณาจักรจองวัคซีนจาก 3 บริษัทเช่นกัน เป็นจำนวน 145 ล้านโดส (72.5 ล้านคน) เพียงพอสำหรับประชากร 66.6 ล้านคน
 
หรือในประเทศแคนาดาใช้งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จองวัคซีนรวม 96 ล้านโดส (48 ล้านคน) จากผู้ผลิตวัคซีน 3 รายข้างต้น ขณะที่มีประชากรอยู่เพียง 35.6 ล้านคน จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะเหลือวัคซีนโควิด-19 แม้ฉีดให้ประชากรครบทั้งประเทศ หรือประเทศอย่างในเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็จองวัคซีนจากทั้ง 3 บริษัท โดยจองไว้ 290 ล้านโดส เพียงพอกับประชากร 126 ล้านคนทั่วประเทศแบบเหลือเฟือ ใช้งบประมาณไปราว 1.94 แสนล้านบาท
 
ส่วนในประเทศไทยงจองวัคซีน COVID 19 จากแอสตราเซเนกา 26 ล้านโดส สำหรับประชากร 13 ล้านคน หรือราว 18.5% ของประชากรทั้งประเทศ ใช้งบประมาณราว 6 พันล้านบาท
 
10. ความกังวลเรื่องผลข้างเคียงวัคซีน COVID 19
 
ในทางการแพทย์ไม่มีสิ่งใดที่ปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แม้แต่ยาที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำ เช่น ยาพาราเซตามอลก็มีความเสี่ยงต่อร่างกายเช่นกัน จนถึงขณะนี้ข้อมูลที่ได้จากการทดลองสร้างความมั่นใจได้ว่าวัคซีนมีความปลอดภัย โดยไม่พบข้อกังวลด้านความปลอดภัยในการทดลองกับอาสาสมัคร 43,500 คน มีเพียงรายงานว่าเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย หากวัคซีนเป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อร่างกายอาสาสมัครหลายคน ก็จะปรากฏผลออกมามากกว่านี้ อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่พบได้ยากหากผู้คนหลายล้านคนได้รับวัคซีนนี้
 
โดยภาพรวมแล้วขณะนี้มีวัคซีนประมาณ 12 ชนิด ที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาทางคลินิก และมี 9 รายกับ 4 วัคซีนที่คาดว่าจะเปิดตัวให้ออกมาใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งสิ่งที่น่ายินดีคือวัคซีนเหล่านี้ถูกคิดค้นในระยะเวลาอันสั้น และคาดว่าการวิจัยจะยังมีต่อไปเพื่อพัฒนาวัคซีนให้มีคุณภาพมากที่สุด ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับมรสุมจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 วัคซีนเหล่านี้จึงเป็นแสงสว่างที่คาดว่าจะช่วยคนทั้งโลกได้ ขอเพียงอย่างเดียวว่าสิ่งที่คาดหวังเหล่านี้จะมีคุณภาพและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ 
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด