บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
2.3K
4 นาที
5 มีนาคม 2564
#รีวิวหนังสือ ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก (Disrupt Yourself) 


เราเคยเห็นความสำเร็จของคนจำนวนมาก แต่หากเรายังเดินก้าวตามคนเหล่านี้ ก็เท่ากับว่าเราไม่มีโอกาสที่จะเก่งกว่าได้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านฉีกกฎของคนเก่งไปสู่สิ่งที่เหนือกว่า โดยรวบรวมเคล็ดลับมากมายเพื่อผลักดันให้เราเก่งกว่าที่เคยเป็น และไม่ว่าเราจะสนใจเรื่องไหน หรือมีใจรักในสิ่งใด ขอแค่เรา “กล้าฉีก” ประตูแห่งความสำเร็จเปิดรอเราอยู่ทุกเวลา

ผู้เขียน Whitney Johnson
ผู้แปล อิทธิพล จึงวัฒนาวงศ์




 
ราคาหนังสือ : 215 บาท
จำนวนหน้า : 210
หมวด : จิตวิทยาพัฒนาตนเอง
 
คุณจะสำเร็จแซงหน้าคนที่ทำงานมานานกว่าคุณ 10 ปีได้อย่างไร? "วิทนี่ จอห์นสัน" เคยเป็นสาวออฟฟิศปลายแถวที่ไม่มีทั้งความรู้และเส้นสาย แต่เธอกลับก้าวมาเป็นนักวิเคราะห์หุ้นชื่อดังเหนือกว่ารุ่นใหญ่ในวอลสตรีท ทั้งหมดนี้มาจากเคล็ดลับที่เธอเรียนรู้มาจากศาสตราจารย์ของฮาร์วาร์ด หนังสือนี้รวบรวมเคล็ดลับทั้งหมดนั้นไว้ให้คุณ
 
รีวิวหนังสือ ในโลกที่มีแต่คนเก่ง อยากสำเร็จต้องกล้าฉีก (Disrupt Yourself) เผยเคล็ดลับจากคลาสเรียนที่โด่งดังของฮาร์วาร์ด เหมือนคุณได้นั่งอยู่แถวหน้าในคลาสที่ใครก็แย่งกันเข้าเรียน พร้อมตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจและบุคคลที่น่าสนใจ เช่น บริษัทที่ไร้การเติบโตมานานนับปี หันมาขายมือถือในราคาขาดทุน ทำให้พุ่งทะยานขึ้นมาเป็นที่ 1 ในวงการอย่างรวดเร็ว โค้ชเบสบอลที่พาทีมนอกสายตาล้มทีมยักษ์ใหญ่ในวงการ ด้วยเทคนิคกระตุ้นลูกทีมแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครใช้มาก่อน ผู้หญิงที่ไม่มีความรู้เรื่องแฟชั่น กลับปฏิวัติการขายเสื้อผ้าบนอินเทอร์เน็ต จนแบรนด์ดังต้องหันมาทำตาม ไม่ว่าคุณจะเป็นหน้าใหม่จากวงการไหนก็ตาม แค่อ่านเล่มนี้ คุณจะก้าวสู่ประตูบานถัดไปของชีวิต และคว้าความสำเร็จในแบบที่คุณต้องการ!
 
บทที่ 1 เลือกความเสี่ยงที่ใช่


 
ถ้าคุณรู้สึกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่ไม่ได้มีความสำคัญหรือมีคุณค่าแล้ว สมองของคุณจะขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้คำถามแรกที่คุณต้องถาม คือ เรากำลังพยายามทำอะไรอยู่หรือ พูดอีกอย่างคือ งานอะไรที่เราทำแล้วรู้สึกว่ามีคุณค่า
 
จงเลือกทำงานที่คุณรู้สึกว่ามีคุณค่าแนวคิด ทำงานที่มีคุณค่า(Jobs to Be Done)ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยแอนโทนี่ อูลวิก จากนั้นเคลย์ตัน คริสเตนเซ่นเป็นคนตั้งชื่อ และเผยแพร่แนวคิดนี้ให้ผู้คนทั่วไปรู้จัก ให้เราเลือกทำสิ่งที่ผู้คนต้องการและมองว่ามีคุณค่า

งานที่ผู้คนต้องการนั้น อาจเป็นได้ทั้ง
  • งานที่ให้คุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย (Functional)
  • งานที่ให้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก (Emotional)
กำหนดให้ได้ว่าคุณทำงานไปเพื่ออะไรต้องถามตัวเองว่า งาน ที่ลงแรงไปนั่นจะให้อะไรกับคุณบ้างทั้งด้านผลตอบแทน ทั้งด้านความรู้สึก
 
ธรรมชาติคัดเลือกผู้ที่ชอบความเสี่ยง
 
คนเรามี 2 ประเภท คือ 
  • คนที่ก้าวไปข้างหน้า ชอบแสวงหาโอกาส ชอบทำงานให้เร็ว ฝันให้ใหญ่ และคิดอย่างสร้างสรรค์ พวกเขา คือ ผู้ชอบความเสี่ยงโดยธรรมชาติ และพวกเขาจะให้ความสำคัญกับผลตอบแทนสูงสุด
  • คนที่รักษาสิ่งที่มีอยู่ มักจะให้ความสำคัญกับการอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ทำงานอย่างพิถีพิถัน กลัวความผิดพลาดที่ตามมาจากความไม่ระวัง และมองไปที่การรักษาสิ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ชอบความเสี่ยง
ให้มองหาความเสี่ยงที่ใช่
 
คุณควรแยกความเสี่ยงทางการแข่งขัน กับ ความเสี่ยงทางการตลาดให้ออกก่อนบริษัทที่หวังจะโตจากการขายสินค้าตัวใหม่ และ สร้างตลาดมารองรับสินค้านั้นขึ้นใหม่ ความเสี่ยงด้านการตลาด
 
บริษัทที่หวังจะโตด้วยสินค้าเดิม และขายให้ลูกค้าที่ใช้สินค้าอยู่ก่อนแล้วความเสี่ยงด้านการแข่งขัน
 
ถ้าคุณอยากเติบโตก้าวหน้า คุณก็ควรเลือกความเสี่ยงด้านการตลาด
 
หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ผิดเลือกก้าวไปยังพื้นที่ที่ยังไม่มีใครปักธงแสดงความเป็นเจ้าของ จึงมีคู่แข่งน้อยทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
 
แสวงหางานที่ยังไม่มีใครทำได้ถ้าคุณเชี่ยวชาญในทางใดทางหนึ่งที่ไม่มีใครอื่นทำได้ความสามารถพิเศษจะช่วยให้คุณเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่องถ้าต้องเพิ่มคุณค่าให้กับงานใดสักงาน นั่นแหละคือความเสี่ยงทางการตลาด
 
เมื่อคุณตัดสินใจจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ อย่างแรกคุณจะต้องคิดให้ตกก่อนว่าคุณอยากทำอะไร จากนั้นให้เลือกความเสี่ยงด้านการตลาดโดยลงเล่นในจุดที่ยังไม่มีใครเคยลงไปเล่น
 
การลองทำสิ่งใหม่ๆ นั้นเสี่ยงน้อยกว่า และสร้างความพึงพอใจได้มากกว่า
 
บทที่ 2 ใช้จุดแข็งที่เฉพาะตัว
 
จุดแข็งที่ว่านี้คือสิ่งที่คุณทำได้ดีขณะที่คนอื่นๆ ในวงการเดียวกันทำไม่ได้คู่จุดแข็งเข้ากับสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ หรือปัญหาที่ยังไม่มีใครมาแก้ ก่อให้เกิดแรงหนุนให้คุณเติบโตอย่างรวดเร็ว
 
ค้นหาสิ่งที่คุณทำได้ดีสิ
  1. ทักษะอะไรที่ช่วยให้คุณอยู่รอด
  2. ตอนไหนที่คุณรู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
  3. คุณรู้สึกหงุดหงิดกับการทำงานของคนอื่นหรือเปล่า
  4. อะไรทำให้คุณแตกต่างรวมถึงพฤติกรรมแปลกๆตั้งแต่เด็ก
  5. คุณเมินใส่คำชมแบบไหน
  6. ทักษะอะไรที่คุณต้องฝึกฝนอย่างหนัก 
ค้าหาจุดแข็งเฉพาะตัวของคุณ
เมื่อหาจุดแข็งของตัวเองเจอแล้ว คุณยังต้องทำให้มันโดดเด่นออกมา
หมายถึง คุณต้องทำสิ่งนั้นได้ดีกว่าคนอื่นในสายงานเดียวกัน
 
นำจุดแข็งของคุณมาทำในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ
นึกถึงงานที่คุณจะกลายเป็นผู้สมัครที่น่าจับตามอง
มองหาเส้นทางที่เข้ากับความมุ่งมั่นของคุณได้
หรือ มองดูปัญหาที่บริษัทต้องแก้ไขสิ แล้วถามตัวเองว่าฉันแก้ปัญหานั้นได้รึเปล่า
 
เตรียมตัวเจอกับการเริ่มต้นที่แสนยากลำบาก
คุณจะพบว่าการค้นหางานที่ยังไม่มีใครทำ และจับคู่มันได้อย่างเหมาะเจาะกับทักษะพิเศษของคุณ เป็นเรื่องที่ยากมาก
 
บทที่ 3 ยิ้มรับข้อจำกัด


 
ข้อจำกัด ขีดจำกัด ข้อห้าม การผูกมัด เพดาน กรอบ ขอบเขต และการควบคุม
เราผู้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกเสรี ต่างไม่ชอบคำเหล่านี้ แต่เมื่อเรากำลังมองหาความท้าทายใหม่ๆ ข้อจำกัดจะทำให้เราเห็นวิธีแก้ปัญหาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากความไร้ระเบียบ
 
ข้อจำกัดช่วยให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
การตั้งข้อจำกัดให้ตัวเองเป็นวิธีที่จะทำให้
เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุด
 
ข้อจำกัดช่วยเราแก้ปัญหาไปทีละอย่าง
ขณะที่พัฒนาตัวเองตามเส้นโค้งการเรียนรู้
ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกบีบด้วยข้อจำกัดต่างๆ
อาจเป็นสัญญาณว่า คุณกำลังต่อสู้กับข้อจำกัดตัวเอง
 
เมื่อเราค่อยๆแยกข้อจำกัดที่มีออกจากกัน เราจะ พลิกชีวิต ได้ง่ายขึ้น
 
ข้อจำกัดช่วยให้เราจดจ่อได้มากขึ้น
เช่นกฎหมายว่าด้วยเรื่องกิจกรรมที่ทำได้ในขณะขับรถ
ถ้าคุณขาดการจดจ่อกับการขับรถ คุณอาจกำลังพาตัวเองไปสู่หายนะ
คุณอาจใช้ข้อจำกัดมาช่วยแก้ปัญหาได้ดีถ้าคุณกำลังรู้สึกว่าชีวิตไร้จุดหมาย
 
การตั้งข้อจำกัด
คนเราทุกคนต้องการทรัพยากรบางอย่างเพื่อก้าวเดินต่อไป
การขาดทรัพยากรทำให้สมองต้องรับหน้าที่หนัก 
และการมีทรัพยากรมากเกินไปก็อาจจะลดความสามารถลง
 
เงิน
คนส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องเงิน แต่การขาดแคลนเงินทุนอาจเป็นเรื่องดี
เพราะการขาดเงินทุนทำให้เจ้าของธุรกิจต้องกระตือรือร้นหากำไร
 
ความรู้
คุณสามารถหาข้อได้เปรียบจากขาดประสบการณ์ของตัวเอง
เมื่อคุณลงมือทำอะไรสักอย่างเป็นครั้งแรก วิธีการในแบบของตัวเองนั้น
อาจก่อให้เกิดแนวทางที่สดใหม่ขึ้นมาก็เป็นได้
 
เวลา
ไม่มีเวลาจนต้องหาวิธีอื่น ทำให้ได้พบสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งกว่า
 
ข้อจำกัดที่มองไม่เห็น
เช่น อาการติดยา ความรู้สึกไม่ปลอดภัย อาการซึมเศร้า และการเจ็บป่วย
ข้อจำกัดแต่ละตัว ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ ภายในหรือภายนอก ก็สามารถเป็นพลังให้เราเคลื่อนที่ขึ้นไปบนเส้นโค้งการเรียนรู้ของเราได้
 
เปลี่ยนอุปสรรคให้กลายเป็นพลัง
ข้อจำกัดที่คุณไม่มองมันอย่างสร้างสรรค์และคิดแบบมีแผนการ
 ล้วล่ะก็ จะเป็นได้แค่ปัญหาอีกอย่างเท่านั้น
 
6 ขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนข้อจำกัดให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
  1. เปลี่ยนจากคนเคราะห์ร้ายไปสู่นักสู้ชีวิต และนำอุปสรรคมาเป็นพลัง แต่ถ้าเรามาถึงขั้น นักสู้ชีวิต เราจะรู้สึกว่าความทะเยอทะยานมีความสำคัญ มากเกินกว่าจะปล่อยให้ข้อจำกัดยับยั้งความต้องการของเรา และเราจะเริ่มมองหากลยุทธ์ที่เอาชนะอุปสรรคนั้น
  2. ปลดแอกจากแนวทางเดิม 
  3. ตั้งคำถามที่ช่วยสร้างแรงกระตุ้น
  4. นิยามคำว่า “ทำได้-ถ้า” เสียใหม่ แทนที่จะคิดว่า ฉันทำไม่ได้เพราะ ให้เริ่มต้นทุก/ประโยคด้วยคำว่า “ผมทำได้ ถ้า”
  5. ให้หาแหล่งทรัพยากรใหม่ที่เหลือเฟือ
  6. ปลุกความรู้สึกภายในของคุณ อย่าถามว่า ทำไมสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นกับฉัน แต่ควรถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะช่วยฉันได้อย่างไร
 
ข้อจำกัดทำให้เราพยายามผลักดันตัวเองตลอดเวลา
ยิ่งตั้งข้อจำกัดเข้าไปมากเท่าไหร่ คนคนนั้นก็ยิ่งเป็นอิสระจากตัวเองมากขึ้นเท่านั้น
 
บทที่ 4 เอาชนะความยึดมั่นถือมันในตัวเอง
 
ความยึดถือมั่น คือความเชื่อว่าบางอย่างเป็นของเราเมื่อเราพัฒนาตัวเองมาถึงช่วงที่อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเราจะมีความมั่นใจมากขึ้นและการยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง คือความเสี่ยงที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญ
 
ความยึดติดทางวัฒนธรรมเป็นม่านบังตาไม่ให้เรามองเห็นโลกภายนอก การมองเห็นโลกเพียงมุมมองเดียวทำให้เราเชื่อว่าเราเข้าใจทุกอย่างถูกต้อง การทำโดยไม่คิดก่อนเป็นเรื่องง่ายหากลองทำตามแบบที่บทแรกๆ ได้บอกไว้ เราจะเริ่มมองเห็นผลทั้งจากการเลือกความเสี่ยงที่ถูกต้อง การใช้จุดแข็งของเรา การยอมรับข้อจำกัด 
 
เรามักมองไม่เห็นอันตรายในตอนที่ทุกอย่างกำลังไปได้สวย
 
วิธีแก้ไข : ย้ายตัวเองไปสู่วัฒนธรรมใหม่
พวกเราอาจชอบพื้นที่ ที่หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมปัจจุบันของเราแต่ถ้าเราไม่อยากหยุดนิ่งกับที่บางครั้งเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเราซะใหม่
 
เลิกคิดถึงแต่ตัวเองคนเรามักยึดติดว่าตัวเราต้องมาก่อนเสมอถ้ายึดติดมากเกินไ จะทำให้หลงตัวเองทำให้ไม่สามารถ พลิกชีวิตตัวเอง ได้
 
วิธีแก้ไข : จงรู้สึกยินดี
ให้กำหนดว่าจะพูด ขอบคุณ แก่คนรอบข้างเพราะว่าการจะแสดงความรู้สึกขอบคุณได้นั้นคุณต้องยอมรับก่อนว่าคุณต้องพึ่งพาคนอื่นถ่อมตัวเพื่อนเรียนรู้ข้อด้อยของตัวเอง
 
เลิกยึดติดว่าตัวเองเก่งที่สุดคนเรามักไม่รู้ตัวว่ากำลังยึดติดว่าตัวเองเก่งความยึดติดนี้คือการดูแคลนความคิดของคนอื่นที่เรามองว่าอยู่ต่ำกว่าเรา
 
วิธีแก้ไข : ฝึกฟังเสียงความเห็นที่แตกต่าง
การรู้จักรับฟังความเห็นต่างไม่ได้เกิดขึ้นได้เองทักษะนี้ต้องอาศัยการฝึกฝน
 
พลิกชีวิตตัวเอง ก่อนจะไปพลิกชีวิตให้คนอื่นการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อเราเริ่มจากเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเองก่อน เพราะการสร้างวัตกรรมเริ่มต้นจากภายในนั่นเอง
 
บทที่ 5 ก้าวถอยหลังเพื่อเติบโต


 
บางครั้งต้องยอมถอยเพื่อให้ได้ไปต่อ 
 
ประโยชน์ของการก้าวถอยหลังการถอยหลังช่วยให้คุณกลับมาคิดทบทวนว่าคุณหวังจะเรียนรู้หรือค้นพบอะไรต่อไป ในแง่ธุรกิจก็เช่นกันเมื่อเริ่มงานใหม่ที่ทำเงินและให้ผลตอบแทนทางความรู้สึก การก้าวถอยหลัง จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมล่วงหน้าได้
 
เมื่อไหร่คุณควรจะถอยหลัง เมื่อไหร่ควรจะสู้ต่อบางครั้งเราอาจได้ประโยชน์จากการถอยหลังอย่างมีกลยุทธ์แต่การถอยหลังก็ไม่ได้ดีเสมอไป ถ้ากำลังทำงานอย่างทะเยอทะยานและมีโอกาสบรรลุเป้าหมาย ก็ไม่มีความจำเป็นต้องถอยหลัง
 
แต่ถ้าเดินมาถึงบันไดขั้นสุดท้าย มันก็ถึงเวลาที่จะมองหาบันไดใหม่แล้ว
 
เตรียมพร้อมถอยหลังสิ่งที่ยากและท้าทายที่สุด คือ การรวบรวมความกล้าเพื่อกระโดดไปสู่เส้นทางชีวิตเส้นใหม่ในตอนที่สบายใจ
 
กำหนดตัวชี้วัดให้ชีวิตเมื่อกำลังพลิกชีวิตตัวเอง ต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมมาวัดตัวคุณ ต้องทำมันด้วยตัวคุณเอง ลงมือทำ
 
บทที่ 6 ชื่นชมความล้มเหลว
 
ความผิดพลาดเป็นโอกาสเพียงหนึ่งเดียวที่เราจะได้เริ่มต้นใหม่อย่างฉลาดกว่าเดิม
 
ทำไมเราถึงเกลียดความล้มเหลวเมื่อคนเราอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด และรู้สึกว่ากำลังเสียเปรียบ สมองจะสร้างสารเคมีเพื่อปกป้องตัวเองจากการเป็นฝ่ายผิดที่ทำให้เสียหน้า สมองจะคิดตามหลักเหตุผลได้น้อยลง
 
เรียนรู้ที่จะล้มเหลวคนเราล้มเหลวได้ ถึงความล้มเหลวจะทำให้คุณเกิดข้อสงสัยในเส้นทางที่ตัวเองเลือกเดิน หรือสงสัยในความสามารถของตัวเองแต่ก็ต้องหาวิธีรับมือ และเปลี่ยนให้เป็นบันไดสู่ความสำเร็จ
 
จำไว้ว่าความผิดพลาดจะเกิดขึ้นแน่นอน
 
ให้นิยามคำว่าความสำเร็จเสียใหม่ผู้ชนะไม่จำเป็นต้องเป็นที่หนี่งเสมอไป
 
ยอมรับและแบ่งปันความเศร้า
คนที่ทุกข์ทรมานจากความสูญเสียต้องการใครสักคนมาช่วยรับฟังเพื่อให้พวกเขาก้าวผ่านและเรียนรู้จากความสูญเสียนั้น
 
โยนความอับอายทิ้งไปซะ
ถ้าคุณยอมให้ความล้มเหลวมาเป็นตัวตัดสินความสามารถของคุณความอับอายจะทำให้คุณไม่สามารถก้าวไปตามฝันของตัวเองได้
 
เรียนรู้จากความล้มเหลว
ให้ถามตัวเองว่า ค้นพบอะไรบ้างจากความล้มเหลวครั้งนี้ และคุณจะนำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปใช้ได้อย่างไร
 
บทที่ 7 จงเป็นนักสำรวจ


 
หนึ่งในคุณลักษณะพิเศษของ นัดพลิกชีวิต ก็คือ พวกเขาจะเล่นในจุดที่ไม่มีใครลงเล่น
 
จงวางแผนตามแบบนักสำรวจที่โด่งดังเริ่มต้นจากจุดที่ปลอดภัยไปสู่ดินแดนที่ไม่รู้จักวางแผนตามขั้นตอน 
 
จงวางแผนแบบนักสำรวจถ้าคุณวางแผนจะออกเดินทางเพื่อค้นพบอะไรสักอย่าง คุณจะเริ่มต้นด้วยความรู้ที่มีอยู่น้อยนิดและต้องเดาทางไปเรื่อย 
 
แผนนี้มี 4 ขั้นตอน
  1. เขียนงบกำไรขาดทุนแบบกลับด้าน
  2. คำนวณต้นทุน
  3. เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำไว้
  4. ให้เขียนแผนภูมิกำหนดเป้าหมาย
สำรวจเส้นทางอาชีพลองทำแผนที่อาชีพขึ้นมา ดูว่าต้องทำอะไรผ่านอะไรมาบ้างอาชีพนั้นตอบสนองความต้องการของคุณได้แค่ไหน ทั้งด้านเงินและด้านความรู้สึก
 
จงเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณทำถ้าคุณไม่กล้าเริ่มทำสิ่งใหม่ คุณจะเจอกับความเสี่ยง จากการหยุดนิ่งในขณะที่คนอื่นก้าวไปข้างหน้า
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
749
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
501
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
425
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
416
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด