บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.2K
3 นาที
9 มีนาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กัญชา-กัญชง
 

เป็นกระแสที่มาแรงสำหรับกัญชา (Marijuana) และ กัญชง (Hemp) หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศ ปลดล็อกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563

จากนั้นไม่นานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศอีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาขออนุญาตปลูกและผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมกัญชง เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ โดยผู้สนใจทุกกลุ่มสามารถขอปลูกกัญชงในพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อทำเชิงการค้าได้ ส่วนสินค้าเครื่องดื่มและอาหารอาหารเสริม เครื่องสำอาง ฯลฯ จะทยอยออกกฎหมายมารองรับภายใน 4 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงพฤษภาคม 2564
 
ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com เชื่อว่าขณะนี้ภาคธุรกิจได้มีการเตรียมแผนและคิดสูตรสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชง และรอจังหวะที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการซึ่งน่าจะสร้างมูลค่าและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ก่อนอื่นเราควรมาเสริมสร้างความรู้ให้เข้าใจตรงกันเกี่ยวกับกัญชา-กัญชง ที่เราเชื่อว่ามีหลายเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
 
1. ความแตกต่างของกัญชา-กัญชง
 

กัญชาและกัญชงเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากพืชในตระกูลเดียวกัน ความแตกต่างทางกายภาพมีน้อยมาก ต้องอาศัยการสังเกตคือ  กัญชาต้นเตี้ยและใบอ้วน ส่วนกัญชงต้นสูงและใบเรียว ในอดีตกัญชาถูกใช้เป็นยารักษาโรคและเพื่อการสันทนาการ ขณะที่กัญชงเป็นพืชที่นำเส้นใยมาใช้สำหรับการถักทอ โดยกัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol) พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ส่วนสาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา คือพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก

2. อิสราเอล ก้าวมากที่สุดในเรื่องการศึกษา “กัญชา” ทางการแพทย์
 
อิสราเอลเป็นประเทศที่ก้าวหน้าเรื่องการศึกษากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ผู้ป่วยมากกว่า 20,000 รายได้รับใบอนุญาตใช้กัญชาเพื่อการรักษาภาวะบางอย่าง เช่น ต้อหิน โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือลำไส้เล็กอุดตันบางส่วน การอักเสบ อาการเบื่ออาหาร และโรคหืด เป็นต้น
 
3. ราฟาเอล เมคูลัม ผู้นำแห่งการศึกษาสารออกฤทธิ์ในกัญชา
 

ราฟาเอล เมคูลัม นักเคมีอินทรีย์ชาวอิสราเอล เป็นผู้นำในการศึกษาสารออกฤทธิ์ในกัญชาในทศวรรษ 1960 จนนำไปสู่การค้นพบสิ่งที่โลกรู้จักดีในปัจจุบันคือ THC ที่เป็นสารออกฤทธิ์หลักในกัญชาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และยังเผยโครงสร้างทางเคมีของ CBD (Cannabidiol) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างในกัญชาซึ่งอาจนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพย์ได้หลายอย่างโดยไม่มีผลทางจิตประสาทต่อมนุษย์ งานของเมคูลัมถือว่าช่วยกระตุ้นให้เกิดการศึกษากัญชาทั่วโลก  
 
4. CBD และ THC เป็นสาระสำคัญในกัญชาที่มีประโยชน์ทางการแพทย์
 
ในกัญชาจะมีสารสำคัญที่เรียกว่า แคนนาบินอยด์ (cannabinoid) ซึ่งมีหลายชนิด แต่มีเพียง  2 ชนิดหลักที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ คือ CBD และ THC โดยในร่างกายเราจะมี CB1 และ CB2 อยู่แล้ว โดย CB1 จะพบมากที่ระบบประสาทส่วนกลาง ขณะที่ CB2 จะพบที่เนื้อเยื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีผลต่อ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การเรียนรู้ และพฤติกรรม สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ และลดความกังวลได้
 
5. กัญชาสามารถนำมารักษาโรคอะไรได้บ้าง?
 
แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ระบุเพียง 4 กลุ่มโรคหรือภาวะอาการเท่านั้น ที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่าสามารถใช้กัญชารักษาแล้วได้ผลจริงและมีผลิตภัณฑ์ออกมาในการรักษาโรคต่างๆเหล่านี้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ โรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักดื้อต่อยารักษา , ภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล , ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และ ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
 
6. คุณประโยชน์ของ “กัญชง”
 

กัญชงเป็นพืชที่ได้รับอนุญาตปลูกได้ง่ายกว่า โดยมีคุณประโยชน์หลายอย่างเช่น
  • ต้นกัญชง ให้ปริมาณเส้นใยในปริมาณมากกว่าต้นกัญชาถึง 20% เส้นใยมีคุณภาพสูงและแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า จึงเหมาะที่จะแปรรูปเป็นเชือก เยื่อกระดาษ และเสื้อผ้า
     
  • เมล็ดกัญชง มีโปรตีนสูงมากกว่าโปรตีนจากถั่วเหลือง จึงมีการวิจัยเพื่อแปรรูปเมล็ดกัญชงเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนถั่วเหลือง นอกจากนี้ น้ำมันในเมล็ดกัญชงยังมีกรดไขมัน Omega-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกันกับที่พบในน้ำมันปลา
 
7. รู้จัก “นมกัญชง (Hemp Milk)”
 
นมกัญชง เป็นน้ำนมที่ได้จากการนำเมล็ดกัญชง มาปั่นผสมกับน้ำเปล่า จนได้เป็นของเหลวเนื้อครีม เนียนละเอียด ลักษณะคล้ายนมวัวแต่มีรสชาติมันกว่า ที่เรียกว่า “นมกัญชง” หากเป็นนมกัญชงสำเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาดอาจมีการเติมกลิ่น รสชาติ สารให้ความหวาน รวมถึงเติมวิตามิน หรือแร่ธาตุบางชนิดลงไปด้วย นมจากพืชอย่างนมกัญชง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น แพ้นมวัว แพ้ถั่ว แพ้กลูเตน มีภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) ต้องการกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ นอกจากนี้ ยังเหมาะกับผู้ที่กินอาหารแบบวีแกน และมังสวิรัติด้วย
 
8. NoCo Hemp Expo งานแสดงสินค้า “กัญชง”
 
สหรัฐฯ มีการจัดแสดงสินค้ากัญชงโดยเฉพาะที่รัฐโคโลราโดเรียกว่างาน NoCo Hemp Expo โดยจัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นทุกปี ครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 5 ซึ่งจัดไปเมื่อต้นเดือน เม.ย. 2562 (หลังจากนั้นในปีต่อมาก็เจอสถานการณ์แพร่ระบาด COVID 19 จึงได้งดจัดไป) โดยงานแสดงสินค้า NoCo Hemp Expo มีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกัญชงแทบจะทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าแฟชั่น สบู่ สครับ อาหาร รวมถึงการนำกัญชงไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์
 
9. การขออนุญาต “ปลูกกัญชา”
 

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบุไว้ว่า ผู้ที่สามารถขออนุญาตปลูกกัญชาได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 
  1. หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ 
  2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์หรือแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน ตามเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด
  3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์
  4. เกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียน ตามกฎหมาย และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งหากเป็น บุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หากเป็นนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 ใน 3 ต้องมีสัญชาติไทยและมีสํานักงานในประเทศไทย
 
10. การขออนุญาต “ปลูกกัญชง”
 
การยื่นคำขออนุญาตปลูกกัญชง สามารถยื่น ณ สถานที่ปลูกตั้งอยู่ หากอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นที่ อย. หากอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ส่วนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงเพื่อปลูก หรือศึกษาวิจัยให้ยื่นคำขอที่ อย. โดยต้องเอกสารแสดงสิทธิ์การครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอ เช่น โฉนด, น.ส.3, สัญญาเช่า หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ ในกรณีใช้ที่ดินของหน่วยงานรัฐ เช่น ที่ราชพัสดุ หรือที่ดิน ส.ป.ก. ให้ใช้หนังสือแสดงการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของที่ดินนั้น ระยะเวลาพิจารณาอนุญาต  สำหรับกรณีปลูก สูงสุดไม่เกิน 135 วัน และสำหรับกรณีนำเข้า สูงสุดไม่เกิน 75 วัน
 
ในต่างประเทศเริ่มมีความชัดเจนเกี่ยวกับสินค้าที่มีส่วนผสมของสาร CBD มากขึ้น เช่นห้างดังอย่าง Barneys ได้เปิดตัวร้านหรูชื่อ The High End ที่ผลิตภัณฑ์ในร้านทุกอย่างทำจากกัญชา หรือร้านเบอร์เกอร์ชื่อดัง Carl’s Jr. ก็ได้ทดลองขายเบอร์เกอร์ที่มีส่วนผสมของกัญชา รวมถึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Coca-Cola ได้พูดคุยกับบริษัท Aurora Cannabis ในแคนาดา ในการผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม CBD และร้านกาแฟ Starbucks ก็อาจทำเมนูเครื่องดื่ม CBD มาขายในร้านเช่นเดียวกัน ขณะที่บริษัท Mondelez ผู้ผลิตคุกกี้ชื่อดัง Oreo และ Chips Ahoy ก็กำลังอยู่ในช่วงทำการศึกษาทดลอง เพื่อตัดสินใจว่าจะขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสาร CBD หรือไม่ เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่ตอนนี้เริ่มเห็นสินค้าเกี่ยวกับกัญชา-กัญชง ที่ทยอยเป็นข่าวออกมามากขึ้นเรื่อยๆ
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
ขอบคุณข้อมูล
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด