บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
3 นาที
10 สิงหาคม 2564
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Home Isolation
 

จากสถานการณ์COVID 19 ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง จนผลักให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงแตะหลักหมื่นมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมากนอนรอเตียงอยู่ด้านหน้า กระทรวงสาธารณสุข จึงต้องเร่งประสานการทำ “Home Isolation” ให้กับ “ผู้สีเขียว” คือ ผู้ป่วยอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
 
ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com มองว่าวิธีนี้คือการแก้ปัญหาในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ภาพรวมส่วนใหญ่ยังน่าวิตก แต่อย่างไรก็ตามมีวิธีแก้ไข บรรเทาบ้างก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย ลองมาดู 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! Home Isolation ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
 
1. สิ่งของจำเป็นเมื่อต้อง “Home Isolation” 

 
ภาพจาก https://citly.me/GeYFA

ของจำเป็นที่ควรมีได้แก่อุปกรณ์ทานอาหารส่วนตัว , หน้ากากอนามัยควรสวมตลอดเวลา , ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาลดไข้ เจลลดไข้ , สบู่ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ , ปรอทวัดไข้ , เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด , ยาฟ้าทะลายโจร โดยทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้จัดส่งให้พร้อมคำแนะนำการใช้งาน และจะมีการวีดีโอคอลหรือโทรติดต่อเพื่อติดตามอาการวันละ 2 ครั้ง หากต้องมีการส่งต่อโรงพยาบาลในขณะรอเตียงจะมีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อประคองอาการระหว่างรอ
 
2. ติดเชื้อ COVID 19 แบบไหนเข้าเกณฑ์ “Home Isolation”
 

เกณฑ์ผู้ป่วยที่ทำ Home Isolation ได้คือติดเชื้อแล้วไม่มีอาการจัดอยู่ในกลุ่มสีเขียว มีอายุน้อยกว่า 60 ปี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน 90 กิโลกรัม ไม่มีมีโรคประจำตัวเช่น โรคปอด โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน รวมถึงโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ และต้องยินยอมแยกกักตัวในที่พักของตัวเอง

3. ขั้นตอนสมัครระบบ “Home Isolation”

หลังจากที่ตรวจเชื้อด้วยวิธี Antigen test kit แล้วผลเป็นบวก ให้หาจุดบริการเพื่อเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR อีกครั้ง เพื่อนำผลการตรวจมาแสดง เพื่อยืนยันเป็น confirmed case จากนั้นให้ติดต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่เบอร์ 1330 กด 14 เพื่อทำการลงทะเบียน และเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่ และเมื่อผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบ Home Isolation แล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะส่งอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้มาให้ผู้ป่วย
 
4. วิธีแยกตัวผู้ป่วยที่ถูกต้องในการทำ Home Isolation
 
ถ้าบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยแยกอยู่ในห้องส่วนตัวคนเดียว ถ้าเป็นไปได้ควรเป็นห้องที่มีห้องน้ำในตัว แยกภาชนะของใช้ส่วนตัว ส่งข้าวให้เอาวางไว้หน้าห้อง แล้วไลน์บอก เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดประตูมาหยิบข้าวไปทานเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือการสัมผัสให้มากที่สุด หรือให้อาหารเป็นข้าวกล่อง หรือ ถ้าที่อยู่อาศัยเป็นคอนโด ห้องเช่า แฟลต ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะแยกออกเป็นห้องชัดเจน เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และบุคคลอื่นที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว
 
5. อาการที่ต้องพึงระวังของผู้ป่วยแบบ Home Isolation

 
ภาพจาก https://citly.me/vNY92

โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยแบบไม่แสดงอาการแต่มีสิ่งที่ต้องพึงระวังโดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายและค่าออกซิเจนในเลือดที่ต้องมีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติดีหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ประมาณ 97-100% ถ้าตัวเลขอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น คืออยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อ COVID 19 จะลงปอด
 
6. หากอาการแย่ลงต้องติดต่อโรงพยาบาลทันที
 
แม้จะมีปัญหาเรื่องเตียงในการรักษาแต่หากผู้ป่วยแบบ Home Isolation มีอาการแย่ลงก็จำเป็นต้องติดต่อโรงพยาบาลที่รักษาทันที โดยปกติทางรพ.จะมีรถไปรับเพื่อนำส่งเข้ารับการรักษาที่ รพ. หรือหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องเดินทางมา รพ.ด้วยตัวเอง แนะนำให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช้รถสาธารณะ และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีผู้ร่วมยานพาหนะไปด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เดินทางไปด้วย
 
7. สปสช.สนับสนุนงบประมาณให้โรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยด้วย Home Isolation
 

ภาพจาก https://citly.me/0mP1a

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุน ค่าบริการให้แก่โรงพยาบาลตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท ประกอบด้วย 2 ชิ้น คือ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และเครื่องวัดอุณหภูมิ และค่าดูแลผู้ป่วยร่วมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วัน
 
8. Home Isolation คือมาตรการเสริมในการรักษา

สปสช.กล่าวถึง Home Isolation ว่าม่ใช่มาตรการแรก แต่เป็นมาตรการเสริม กรณีที่ในพื้นที่ดังกล่าว จำนวนผู้ป่วยมากจนกระทั่ง โรงพยาบาลเต็ม ดังนั้น จะเกิดใน 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 ผู้ป่วยพบผลตรวจเป็นบวก และตัวเองมีความพร้อมจะอยู่บ้าน ที่บ้านเหมาะสม ซึ่งแพทย์เป็นคนพิจารณา เพื่อรอเตียงที่ว่าง ซึ่งเป็นการรอและมีมาตรการดูแลทันที เริ่มรักษาทันที จนกว่าเตียงว่างและขยับเข้ามาที่ โรงพยาบาล กรณีที่ 2 คือ ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลตามหลักการแพทย์ ต้องอยู่ 14 วัน แต่เมื่อผ่านไป 7 วัน อาการคนไข้ดีขึ้นไม่น่าห่วง กินยาเรียบร้อย ไวรัสลดลง อาจจะขอความร่วมมือให้ไปอยู่ที่บ้านแทน ที่จะอยู่ที่โรงพยาบาลและเอาเตียงที่ว่างรับคนอื่นเข้ามา
 
9. Home Isolation ในต่างประเทศ


ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเพราะในหลายประเทศทั่วโลกก็นำวิธี Home Isolation มาใช้ เช่นที่ออสเตรเลีย ซึ่งก็มีบางรัฐอย่างควีนส์แลนด์และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียที่ไม่อนุญาติให้ใช้วิธี Home Isolation หรืออย่างในอังกฤษผู้ป่วยสามารถติดต่อไปยังอาสาสมัครของสาธารณสุขอังกฤษเพื่อส่งของใช้ต่างๆ อาหาร ยาและใบสั่งยานอกจากนี้หากเป็นผู้มีรายได้ต่ำ

หากหน่วยงานสาธารณสุขสั่งให้ต้องทำการ Home Isolation ทางหน่วยงานจะจ่ายเงินเยียวยาให้คนละ 500 ปอนด์ หรือราว 22,426 บาท หรือในสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ Home Isolation ยังคงได้รับค่าจ้างจากนายจ้างเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือสูงสุด 80 ชั่วโมง และ สามารถลา ได้ 2 สัปดาห์ หรือสูงสุด 80 ชั่วโมงแต่จะยังได้รับค่าจ้างอยู่ 2 ใน 3 ของอัตราปกติ
 
10. ผู้ป่วยในระบบ Home Isolation ของกรุงเทพฯตอนนี้มีกว่า 100,000 ราย

ภาพรวมของตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องโดยรายงานจาก ศบค.เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 เปิดเผยตัวเลขของผู้ติดเชื้อ COVID 19 ในกรุงเทพฯ ที่เข้าสู่การรักษาตัวแบบ "Home Isolation" จำนวนกว่า 100,000 ราย ทั้งนี้รายงานในที่ประชุม ศบค.ได้พูดถึงการจับคู่ศูนย์บริการร่วมกันดูแลผู้ป่วยในเขต กทม. ซึ่งมีมากถึง 232 จุด โดยมีความคืบหน้าและทุกภาคส่วนทำงานหนัก เพื่อให้ระบบการดูแลประชาชนปลอดภัย รวดเร็วได้มากที่สุด
 
แม้ภาพรวมการแพร่ระบาดตอนนี้จะยังไม่คลี่คลายแถมตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันยังพุ่งสูงต่อเนื่อง กลายเป็นความหวั่นวิตกของประชาชนจำนวนมาก เมื่อรวมกับสถานการณ์ฉีดวัคซีนที่ยังไม่ชัดเจน แถมเข้าถึงได้ยาก ยิ่งเพิ่มความวิตกให้ประชาชนมากขึ้น การทำ Home Isolation ก็เป็นแค่วิธีเบื้องต้นที่เอามาแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า แต่สิ่งที่ควรทำในตอนนี้คือการกระจายวัคซีนให้ดีกว่าที่เป็นอยู่เพื่อจะช่วยลดปริมาณการติดเชื้อให้ลดลงได้มากขึ้น
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
793
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
710
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
641
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
522
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
441
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
421
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด