บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    การขาย
1.5K
2 นาที
7 มีนาคม 2565
รวม 12 เทคนิค “ตั้งราคาสินค้า” เห็นปุ๊บ ซื้อทันที!
 

ในยุคที่ของแพงพ่อค้าแม่ค้าก็อยากตั้งราคาสินค้าที่ลูกค้าเห็นแล้วต้องอยากซื้อทันที แต่ในความเป็นจริงการตั้งราคาก็ต้องสมเหตุสมผลกับค่าการตลาดนั้นๆ ส่วนใหญ่การตั้งราคาก็จะผนวกรวมเอาค่าการผลิต ค่าขนส่ง ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ถัวเฉลี่ยกับปริมาณสินค้า แต่ www.ThaiFranchiseCenter.com คิดว่าคงจะมีวิธีที่ดีกว่าหากพ่อค้าแม่ค้ามีหลักในการตั้งราคาที่ถูกต้องเพื่อความสบายใจของเราเองและลูกค้า ดีไม่ดีอาจเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วย
 
รวมเทคนิคการตั้งราคาสินค้า! ใครๆก็อยากซื้อ
1.ตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9
 

เป็นเทคนิคการตลาดที่รู้จักกันดี เรียกว่าการตั้งราคาแบบ charming price หรือการลดราคาหลักสุดท้ายลงมาหนึ่งหน่วยเพื่อให้ราคาลงท้ายด้วยเลข 9 โดยตัวเลขที่ลงท้ายด้วย “9” ในทางจิตวิทยามีผลต่อความรู้สึกของลูกค้า ทำให้รู้สึกว่าถูกกว่า คุ้มค่ากว่า และเป็นราคาที่เหมาะสม เช่นสินค้าราคา 200 กับ 199 ต่างกันแค่ 1 บาทแต่ความรู้สึกต่างกันชัดเจน
 
2.ตั้งราคาแบบขายพ่วง
 
หรือจะเรียกว่าการตั้งราคาแบบเหมาก็ได้ เหมาะกับสินค้าที่อยู่ในกลุ่มของใช้หรืออาหารบางประเภท เป็นการส่งเสริมการขายที่กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อมากกว่า 1 ชิ้น แม้ว่าลูกค้าจะต้องการใช้แค่ชิ้นเดียวในตอนแรก แต่เพราะถ้าซื้อเหมาก็จะกลายเป็นยิ่งมากชิ้นยิ่งถูก ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสามารถซื้อได้ในราคาต่อชิ้นที่ถูกกว่า
 
3.ตั้งราคาโดยเน้นสีแดง
 

เพราะความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มองว่า “สีแดง” คือสินค้าราคาถูก และจำฝังใจแบบนั้น กลยุทธ์นี้เราจะเห็นตามห้างสรรพสินค้านิยมนำมาใช้มากกับป้ายราคาที่อาจจะเป็นสีแดง หรือตัวอักษรสีขาวแต่อยู่บนพื้นแดง เป็นต้น ในทางจิตวิทยาสีที่เด่นชัดดึงดูดให้คนสนใจได้มากขึ้น
 
4.ตั้งราคาโดยย่อยเป็นรายวัน
 
เป็นการตั้งราคาที่ใช้ได้ดีกับสินค้าที่มีราคาแพง หรือเป็นสินค้าที่คนจำเป็นต้องใช้ เช่น ตู้เย็น , โทรศัพท์ , โทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งราคารวมอาจสูง แต่หากเราตั้งราคาขายทอนลงมาเฉลี่ยต่อวัน เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 15,000 บาท แต่หากพูดราคาเต็มคนอาจมองว่าแพง แต่ถ้าลองเฉลี่ยว่าโทรศัพท์ 1 เครื่องใช้ได้นานแค่ไหน เฉลี่ยต่อวันอาจเท่ากับว่าเราจ่ายแค่ไม่กี่บาท
 
5.ตั้งราคาโดยไม่ใช่จำนวนเต็ม
 

จำนวนเต็มเช่น 200 ,500 , 1,000 ซึ่งการตั้งราคาแบบนี้ลูกค้าจะคำนวณได้ง่าย ตัดสินใจได้เร็วและรู้สึกว่าแพงเกินไป แต่หากลองใช้เทคนิคตั้งราคา 189 , 490 หรือ 950 บาท จะทำให้ลูกค้ารุ้สึกว่าสินค้านี้ถูกตั้งและคำนวณตามความจริง ไม่ได้ใส่กำไรเอาไว้มาก ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า
 
6.ตั้งราคาโดยเริ่มจากสินค้าราคาแพงก่อน
 
เป็นเทคนิคที่เราจะเห็นในร้านอาหารที่ส่วนใหญ่จะเอาเมนูราคาแพงไว้หน้าแรกๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนจะเปิดไปหน้าท้ายๆ ที่ราคาถูกกว่า ซึ่งเราสามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในการจัดเรียงสินค้าที่อยากจะขายเน้นจากแพงไปถูกเพื่อดึงดูดลูกค้าได้
 
7.ตั้งราคาโดยวางตำแหน่งไว้ด้านซ้าย
 

ตามทฤษฏีภาพกราฟจำนวนที่น้อยกว่าจะอยู่ด้านซ้าย ส่วนจำนวนที่มากกว่าก็จะไล่ไปทางด้านขวาเรื่อยๆ นำมาสู่การตั้งราคาสินค้าที่ควรให้มองเห็นในตำแหน่งทางซ้าย จะให้ความรู้สึกว่าสินค้านั้นอาจไม่แพงจนเกินไป
 
8.ตั้งราคาโดยเทียบกับราคาเดิม
 
การมีตัวเปรียบเทียบอาจช่วยให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น เช่น 150 (จากปกติ 200) ซึ่งการมีราคามาเปรียบเทียบจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าที่ได้ซื้อ และรู้สึกว่าประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย แต่โดยส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้กระตุ้นความรู้สึกลูกค้าในตอนที่จัดโปรโมชั่นเป็นหลัก
 
9.ตั้งราคาแบบเทศกาลพิเศษ
 

เป็นการให้ราคาสินค้าพิเศษในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าตามเทศกาลนั้นๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ช่วงเวลาเปิดเทอม ซึ่งข้อดีของประเทศไทยคือเรามีเทศกาลพิเศษเยอะมาก เรียกว่ามีแทบจะทุกเดือน การนำเทคนิคนี้มาใช้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการเองด้วย
 
10.ตั้งราคาแบบล่อใจ 
 
เป็นการตั้งราคาสินค้าบางอย่างที่ผู้บริโภคต้องการ ให้มีราคาต่ำมากหรืออาจจะต่ำกว่าต้นทุน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้าในร้านของเราเพิ่มมากขึ้น
 
11.ตั้งราคาราคาแยกตามกลุ่มลูกค้า 
 

เป็นการกำหนดราคาต่างกันตามกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันโดยพิจารณาจากกำลังซื้อของลูกค้า หรือให้ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนี้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น โรงภาพยนตร์ที่แสดงบัตรนักศึกษาได้ราคาพิเศษ ในวันธรรมดา เป็นต้น
 
12.ตั้งราคาเป็นเซต
 
เป็นการนำเอาสินค้าแบบเดียวกันหรือต่างชนิดกันมากกว่า 1 ชิ้น มารวมขายเป็นเซต โดยตั้งราคารวมให้ต่ำกว่าราคาปกติของสินค้าแต่ละชิ้นที่นำมารวมกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก เช่น เซตอาหารจานด่วน , เซตของว่าง หรือแม้แต่กลยุทธ์กล่องสุ่มก็คือการตั้งราคาเป็นเซตในอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลยุทธ์ในการตั้งราคาสินค้าเช่น การตั้งราคาตามฤดูกาล เป็นการกำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลงกว่าปกติในช่วงเวลาที่มีความต้องการของลูกค้าน้อย หรือกำหนดราคาให้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีลูกค้ามาก

หรือการตั้งราคาแบบหลอกล่อจะใช้ได้ผลเมื่อลูกค้ามีความลังเลในการตัดสินใจระหว่าง 2 ตัวเลือก สิ่งที่ทำคือการสร้างตัวเลือกที่ 3 ขึ้นมา ซึ่งตัวเลือกที่ 3 นี้จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าและทำหน้าที่ลวงให้หันไปตัดสินใจซื้อตัวเลือกที่เราอยากจะขายมากกว่า เช่น สินค้าราคาที่อยากขายคือ 1,000 บาท แต่ลูกค้าอาจรู้สึกแพงไป เราก็นำสินค้าราคา 900 บาทมาเทียบให้ดูว่าจ่ายเงินเพิ่มอีกแค่ 100 บาทแต่สิ่งที่ได้จะคุ้มค่ากว่าเป็นต้น
 
ติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
722
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
691
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
629
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
498
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
421
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
413
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด