บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
3.0K
1 นาที
28 มกราคม 2557
โสมขาวดัน ช่วยผลักนำเข้าสินค้าไทย

เกาหลีใต้ยินดีส่งเสริมการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้าระหว่างกันที่ ๓๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี ๒๕๖๐ ตามที่ผู้นำของทั้งสองประเทศเคยหารือกันไว้เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕

ภายหลังการพบหารือกันระหว่างเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล และนาย KIM Young-Mok รองประธานสมาคมผู้นำเข้าเกาหลีใต้ (Korea Importers Association-KOIMA) พบว่า เกาหลีใต้สนใจจะให้ความร่วมมือนำเข้าสินค้าจากไทยให้มากกว่าเดิม เพื่อให้การค้าระหว่างกันได้สมดุลมากขึ้น หลังจากที่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้สามารถขับเคลื่อนโดยภาคการส่งออก จึงจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำผลิตและส่งออกเช่นกัน

นายคิม เห็นว่าควรมีการขยายการค้าระหว่างกันด้วยการเพิ่มทั้งมูลค่าการนำเข้าและส่งออก โดยแนะนำให้ไทยส่งเสริมการส่งออกสินค้ายุทธศาสตร์รายการใหญ่ (big items) ที่มีมูลค่าสูง โดยต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเข้าในเกาหลีใต้ด้วย อย่างไรก็ดี เคยมีการจับคู่ธุรกิจผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในลักษณะ B2B business matching เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าเกาหลีใต้ได้พบกับผู้ส่งออกไทย และเจรจาซื้อขายกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จ และจะดำเนินการในลักษณะนี้ต่อไป

เกาหลีใต้มีบริษัทยานยนต์ชั้นนำ ได้แก่ Hyundai และ KIA ซึ่งทาง KOIMA เองจะพยายามเจรจาให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าประเภทยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบจากไทยเพิ่มเติม เนื่องจากถือเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพเป็นที่ยอมรับทั่วไป

นอกจากนี้ KOIMA จะจัดงาน Import Goods Fair (IGF) 2013 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าทั่วไปไม่จำกัดประเภท ช่วงระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกว่า ๑๒,๐๐๐ คน ซึ่งถือว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ดีในการประชาสัมพันธ์สินค้าของไทยให้เป็นที่รู้จักมากกว่าด้านท่องเที่ยวและอาหาร โดยทางสถานทูตไทยฯ กำลังเร่งผลักดันการเผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ลู่ทางและโอกาสการทำธุรกิจในประเทศไทยให้นักธุรกิจเกาหลีใต้ได้ทราบมากขึ้นด้วย

เกาหลีใต้ยินดีจะแบ่งปันประสบการณ์ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ขาดดุลการค้ากับตน เพื่อช่วยให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น โดยไม่ได้มองว่าประเทศเหล่านี้จะขึ้นมาเป็นคู่แข่ง เนื่องจากเป็นการส่งออกสินค้าคนละประเภทกันกับของเกาหลีใต้

ทั้งนี้ เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนมีรายได้มากขึ้น ก็จะสามารถนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้ได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ศูนย์อาเซียน-เกาหลี ได้รับทำการศึกษาสาเหตุที่ผู้ประกอบการจากทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลี (AKFTA) ได้อย่างเต็มที่ ทั้งที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ แล้ว

ทั้งฝ่ายไทยและเกาหลีใต้ ต่างแสดงความต้องการต้องการร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับที่กระชับแน่นขึ้น โดยเกาหลีใต้จะพยายามช่วยรวบรวมฐานข้อมูลผู้นำเข้าเกาหลีใต้ให้เป็นระบบมากขึ้นกว่าปัจจุบันเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่สนใจ ถือเป็นโอกาสที่ดีแก่ผู้ส่งออกของไทยที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งไทยและเกาหลีใต้

อ้างอิงจาก กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด