บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
4.4K
2 นาที
13 มกราคม 2557
สำรวจผู้บริโภคเพื่อนบ้าน เจาะตลาด SMEs เมียนมาร์-ลาว
 
การรู้จักพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศที่เราต้องการไปลงทุนเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ ไม่ว่าธุรกิจใด โดยเฉพาะประเทศใกล้เคียงที่นักธุรกิจไม่ต้องบุกตลาดไกล ๆ อย่าง สปป.ลาวและเมียนมาร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.ได้ร่วมกันจัดงานเสวนา "ส่องผู้บริโภคลาว เมียนมาร์ อยู่อย่างไร กินอย่างไร" ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในสาขาอาหารและเฟอร์นิเจอร์ของ สปป.ลาวและเมียนมาร์ จากศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสานอีกด้วย 
 
"แฟรนไชส์อาหาร" เมียนมาร์
 
นายธนันทธรรมม์ กัณหะวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Make IT Happen International หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่า ขณะนี้การลงทุนในเมียนมาร์มีความคึกคักมาก ที่สำคัญคือชาวเมียนมาร์มีทัศนคติที่ดีต่อนักลงทุนไทย เนื่องจากนักลงทุนไทยเป็นมิตร มีความเข้าใจในคนท้องถิ่น 
 
อีกประการหนึ่งคือคนไทยมีความเข้าใจว่าธุรกิจในเมียนมาร์ต้องอาศัยการรอคอย หรือเข้าใจว่ามีการดำเนินการช้า ถึงแม้ว่ารายได้ต่อหัวของประชากรในเมียนมาร์จะไม่สูงนัก แต่เริ่มมีกลุ่มธุรกิจที่เริ่มมองลู่ทางการนำแฟรนไชส์จำพวกอาหารและเครื่องดื่มเข้ามาลงทุนในเมียนมาร์แล้ว
 
นายธนันทธรรมม์กล่าวว่า มีนักธุรกิจชาวเมียนมาร์มาขอคำปรึกษาทางธุรกิจ และดูลู่ทางเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ยังไม่มีในเมียนมาร์ อาทิ ธุรกิจอาหารญี่ปุ่น เพื่อเจาะตลาดคนญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานระยะยาวในเมียนมาร์ 
 
คาดเทรนด์บ้าน "โมเดิร์น" มาแรง
 
จากการสำรวจพบว่ามีชาวเมียนมาร์กลุ่มที่กลับมาจากเรียนหรือทำงานต่างประเทศมีรสนิยมในการแต่งบ้านแบบโมเดิร์น การแต่งบ้านแบบนี้จึงน่าจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งนี้ ชาวเมียนมาร์ส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับความเป็นอยู่แบบเดิม ๆ 
 
นายธนันทธรรมม์กล่าวว่า "เทรนด์การแต่งบ้านและการอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมใหม่ ๆ ที่มีรูปแบบเหมือนในไทย เริ่มเข้ามามากขึ้น เป็นผลจากลูกหลานของคนรวยเมียนมาร์ที่เรียนอยู่ต่างประเทศ หรือบางคนทำงานเมืองนอกกำลังกลับเข้ามา คนเหล่านี้คิดว่าการกลับมาประเทศเป็นโอกาสใหม่ ๆของพวกเขา และยิ่งประเทศเปิดมากขึ้น ยิ่งมีแนวโน้มที่สินค้าในหมวดตกแต่งที่อยู่อาศัยจะมีโอกาสมากขึ้นอย่างแน่นอน" 
 
ด้านนายณรงค์กร จิตรถาวรกุล อุปนายกสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน ให้มุมมองว่า ผู้บริโภคในเมียนมาร์น่าสนใจมาก เพราะประเทศอยู่ช่วงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ทั้งธุรกิจสื่อสาร และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีลูกจ้างต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะเมืองเศรษฐกิจย่างกุ้ง 
 
"มีผู้บริโภคกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงาน กลุ่มที่อยู่อาศัยระยะยาวในเมียนมาร์ และกลุ่มชาวเมียนมาร์ที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนมาก คนเหล่านี้มีกำลังทรัพย์ มีความรู้ และมีไลฟ์สไตล์อีกแบบ ในอนาคต ขนาดครอบครัวของชาวเมียนมาร์จะเล็กลง อสังหาริมทรัพย์จำพวกคอนโดมิเนียม แฟลตจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ตลาดสินค้าจำพวกของแต่งบ้านและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะโตมากขึ้นเรื่อย ๆ" นายณรงค์กรกล่าว
 
อีกไม่นานนัก เมียนมาร์ถูกคาดหวังว่าจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนารวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาที่เปิดรับการลงทุน ตลอดจนประชากรเมียนมาร์ที่ไหลกลับประเทศ นายณรงค์กรให้ทรรศนะว่า "เมียนมาร์พัฒนาเร็วมาก เร็วกว่าสมัยเวียดนามเปิดประเทศ และต่างชาติกำลังเข้ามามาก ซึ่งสินค้าจำพวกของตกแต่งบ้านและสินค้าบริโภคจะต้องเจาะกลุ่มชาวต่างชาติและกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นหลัก"
 
ตลาดลาวเน้น "การค้า" เป็นหลัก
 
นางกรรณิการ์ ชินประสิทธิ์ชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารตราสินค้า บริษัทแบล็คแคนยอน เปิดเผยว่า การลงทุนในด้านธุรกิจอาหารในแบบโมเดิร์นเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากชาวลาวเสพสื่อจากประเทศไทยโดยตรง จึงมีความนิยมในการบริโภคไม่ต่างจากชาวไทย ด้วยเส้นพรมแดนที่ยาวระหว่างไทยกับลาว ตลอดจนการข้ามแดนที่สะดวกและง่ายขึ้น ทำให้ปัจจุบันนี้ชาวลาวนิยมเข้ามาซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ในอุดรธานี หรืออุบลราชธานีมากขึ้น 
 
นางกรรณิการ์กล่าวว่า ปัจจุบันนี้คนลาวนิยมเข้ามาเที่ยวในไทยลักษณะไปเช้าเย็นกลับ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับร้านค้าปลีกที่จะได้รับอานิสงส์ โดยควรจัดหาสินค้าที่ชาวลาวสนใจมาขายด้วย หรืออาจต่อยอดทางธุรกิจด้านอื่น ๆ ได้อีก หากเข้าใจผู้บริโภคเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม พบว่าคนรุ่นใหม่ชาวเมียนมาร์ก็นิยมเข้ามาดูงานแสดงสินค้าในไทย เพื่อหาสินค้ากลับไปขายที่ประเทศ
 
เจาะตลาดอาหาร "เวียงจันทน์"
 
นายณรงค์กรได้ให้มุมมองว่า การทำตลาดกับลาวไม่จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนเปิดโรงงานโดยตรง แต่ให้อาศัยการค้าชายแดน อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะบุกตลาด ควรเข้าไปใน สปป.ลาว ช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญ คือ สปป.ลาวเป็นประเทศที่มีประชากรไม่เยอะ และกระจุกตัวอยู่ 3 เมืองหลัก ได้แก่ปากเซ, เวียงจันทน์ และหลวงพระบาง ดังนั้นการเข้าไปตั้งโรงงาน อาจจะไม่คุ้มค่า
 
นอกจากนี้ นายณรงค์กรยังให้คำแนะนำว่า แนวโน้มการเจาะตลาดธุรกิจอาหาร ให้มองกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนหรือทำงานใน สปป.ลาวเป็นหลักและการลงทุนในธุรกิจสาขาอาหาร ควรเน้นที่เวียงจันทน์ เพราะมีฐานลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติ 
 
ทั้งนี้ นอกเหนือจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเมียนมาร์และ สปป.ลาวแล้ว ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสานได้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมครอบคลุมประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงและจีนตอนใต้อีกด้วย

ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ อยู่ใน www.ecberkku.com/asean

อ้างอิงจาก กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
799
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
713
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
642
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
529
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
447
เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธ..
432
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด