บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
1.4K
4 นาที
30 กันยายน 2565
15 ข้อ ถ้าตอบไม่ได้! อย่าเปิดร้านอาหาร
 

ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในปี 2565 มีแนวโน้มเติบโต 5.4% ด้วยมูลค่า 3.85 แสนล้านบาท ถ้าวิเคราะห์เจาะลึกลงไปพบว่า การเปิดร้านอาหารคือธุรกิจที่คนสนใจมากที่สุดเพราะอาหารคือหนึ่งในปัจจัยดำรงชีวิตที่สำคัญ แต่ใช่ว่าคิดเปิดร้านอาหารแล้วจะมีกำไรได้ทุกคน www.ThaiFranchiseCenter.com ต้องการให้วางแผนดีๆ คิดให้รอบคอบ รอบด้าน โดยเฉพาะในยุคที่ค่าครองชีพแพงแบบนี้ เราจึงควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อน ถ้าคิดจะมีธุรกิจร้านอาหาร
 
1.ชอบทำอาหารหรือเปล่า?
 

ต้องถามตัวเองก่อนว่าทำไมถึงอยากเปิดร้านอาหาร เพราะเราเป็นคนชอบกิน ชอบทานอาหาร หรือเพราะว่าเห็นคนอื่นทำแล้วขายดี อะไรก็ตามที่ทำเพราะใจรักมักทำได้ดีเสมอ เช่นคนที่รักการทำอาหารก็จะคิดและต่อยอดเมนูต่างๆ และมีความสุขความสนุกกับการได้ทำอาหาร แม้จะเจอปัญหาในการทำงานบ้างแต่ด้วยความชอบและใจรักที่อยากทำก็จะก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ ถือเป็นคำถามแรกที่สำคัญที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน
 
2.จะเลือกขายอาหารประเภทไหน?
 
ถ้าตัดสินใจเปิดร้านขายอาหารแน่นอนก็ต้องตอบได้เหมือนกันว่าเราจะขายอะไร เลือกกลุ่มลูกค้าแบบไหน เพราะอาหารมีหลายประเภทเช่นอาหารตามสั่ง , ร้านก๋วยเตี๋ยว , ร้านสเต็ก , ร้านข้าวมันไก่ , ร้านข้าวขาหมู เป็นต้น ซึ่งอาหารแต่ละประเภทก็มีฐานลูกค้าที่นิยมในเมนูนั้น ๆ ยังไม่นับรวมเรื่องสูตรเด็ดเคล็ดลับของการทำอาหารที่ต้องให้มีความพิเศษ มีเอกลักษณ์ของตัวเองเพื่อสร้างจุดขายได้มากขึ้น
 
3.คอนเซ็ปต์ของร้านคืออะไร?
 

ร้านอาหารที่มีคอนเซ็ปชัดเจนแต่แรก จะช่วยให้การวางแผนขั้นตอนอื่น ๆ ง่ายขึ้นมาก ตั้งแต่เรื่องจัดสรรงบลงทุน สไตล์การออกแบบร้าน การเลือกรูปแบบตกแต่งร้าน การเลือกแสง สี เสียง บรรยากาศภายใน ภายนอกร้าน โต๊ะเก้าอี้ ชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ ยูนิฟอร์มพนักงาน รูปแบบการให้บริการ การคัดเลือกพนักงาน การออกแบบเมนูอาหาร การตกแต่งจัดจานอาหาร การตั้งชื่อเมนูอาหาร การกำหนดราคาอาหาร ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญกับธุรกิจร้านอาหารอย่างมาก
 
4.จะตั้งชื่อร้านว่าอะไร?
 
ปัจจุบันธุรกิจต้องมีความโดดเด่นแม้แต่ร้านอาหารซึ่ง “ชื่อร้าน” คือสิ่งแรกที่ลูกค้ารับรู้เทคนิคการตั้งชื่อร้านอาหารมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเอาชื่อตัวเองมาตั้ง หรือตั้งชื่อตามทำเลที่อยู่หรือตั้งชื่อโดยอิงกับประเภทสินค้าที่เราขาย และพยายามหลีกเลี่ยงชื่อร้านที่เรียกได้ยาก ไม่คุ้นหู รวมไปถึงชื่อร้านที่คล้ายๆ กับคู่แข่ง รวมถึงต้องไม่ลืมว่าชื่อร้านต้องให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ในอนาคตได้ด้วย
 
5.จะเลือกเปิดร้านที่ไหน?
 

การเลือกทำเลนั้นไม่มีสูตรตายตัวว่าต้องเป็นทำเลแบบนั้นแบบนี้ถึงจะดีที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงคือกลุ่มลูกค้าหลักที่อยู่ในรัศมีโดยรอบของร้าน ที่จะเป็นฐานลูกค้าสำคัญที่สุดควรเน้นดึงกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ก่อนอันดับแรก เมื่อกลุ่มลูกค้าหลักรู้จักเรามากขึ้น ก็จะนำมาซึ่งกลุ่มลูกค้ารองที่อยู่นอกรัศมีของร้านส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มาเพราะกระแสความดัง มาเพราะคนบอกต่อ เป็นต้น
 
6.มีแผนธุรกิจที่ดีพอไหม?
 
การลงทุนเปิดร้านอาหารยิ่งเป็นร้านขนาดใหญ่ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการตลาด ความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการให้บริการ รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงิน การมีแผนธุรกิจที่ดีทำให้กำหนดทิศทางของร้านอาหารของเราได้ง่ายและมองเห็นภาพรวมของทิศทางการเติบโตในอนาคตได้อีกด้วย
 
7.มีแหล่งเงินทุนสำรองหรือเปล่า?
 

การลงทุนทำร้านอาหาร เราต้องวางแผนเงินลงทุนตั้งต้นช่วงก่อนเปิดร้าน เช่น เงินมัดจำค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ครัว ค่าวัตถุดิบในตอนต้น ค่าโฆษณาและต้องเผื่องบประมาณฉุกเฉินไว้อีก 10% เพราะมักมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือแผนเสมอ เช่น ค่าทำกราฟฟิก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้กระทั่งค่าขออนุญาตต่างๆนอกจากนี้ยังต้องมีแหล่งเงินทุนสำรองไว้สำหรับช่วงเปิดร้าน 3 เดือนแรก อย่างน้อยก็ต้องให้เพียงพอกับค่าเช่า เพราะบอกไม่ได้ว่าช่วงแรกที่เปิดร้านจะมีลูกค้ามากน้อยแค่ไหน การวางแผนเงินทุนสำรองจะช่วยให้ร้านผ่านช่วงเวลาในการเริ่มต้นนี้ได้
 
8.เข้าใจคำว่า “จุดคุ้มทุน” มากแค่ไหน?
 
จุดคุ้มทุนของร้านอาหารแต่ละแห่งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน รูปแบบการบริหารจัดการ ทำเลที่ตั้ง และปัจจัยอื่นอีกมาก คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องเข้าใจเรื่องนี้และมีระยะเวลาที่สามารถรอคอยได้ ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่องแผนธุรกิจที่ต้องวางเป้าหมายภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือว่า 1 ปี ร้านอาหารของเราควรอยู่ในจุดไหน บางร้านอาจใช้เวลาในการคืนทุนประมาณ 1-2 ปี หรือถ้าเป็นร้านขนาดเล็กเวลาก็อาจจะน้อยกว่าหรือถ้าขนาดร้านใหญ่มากก็ต้องใช้เวลาไปถึงจุดคุ้มทุนมากขึ้นเช่นกัน
 
9.รู้วิธีการตั้งราคาขายหรือไม่?
 

ร้านอาหารโดยทั่วไป ต้นทุนอาหารต่อจานอยู่ที่ 30-35% หรือมีกำไรขั้นต้นต่อจานหลังหักต้นทุนวัตถุดิบที่ประมาณ 65-70% สาเหตุที่ต้นทุนอาหารควรอยู่ที่ 30-35% เพราะว่า ค่าใช้จ่ายภายในการทำร้านอาหารไม่ได้มีแค่ต้นทุนอาหารซึ่งหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายต้นทุนอาหารเสร็จแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องหักออกก่อนเหลือเป็นกำไรสุทธิ เช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าบริหารจัดการ ค่าการตลาดต่างๆ

รวมถึงต้องตั้งราคาที่ให้ร้านมีกำไรได้ในระดับหนึ่ง และราคาดังกล่าวต้องไม่ทำให้ลูกค้าหนักใจในการจ่าย จะเรียกว่าเป็นราคาที่เหมาะสมมาก ส่วนใหญ่ในแต่ละร้านจะมีเมนูหลายอย่างและราคาอาหารที่หลากหลายก็เป็นเทคนิคในการตั้งราคาที่ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกรับประทานเมนูที่เหมาะสมกับตัวเองได้
 
10.เข้าใจการออกแบบแผนผังร้านอาหารดีแค่ไหน?
 
ก่อนคิดเปิดร้านอาหารเราต้องรู้จักวิธีจัดการพื้นที่ในครัว, การเลือกอุปกรณ์ครัวขั้นพื้นฐาน แบบไหนควรมี แบบไหนไม่ควรซื้อ ส่วนหน้าร้านก็ต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่สามารถรับลูกค้าได้มาก ทำยอดขายได้เยอะ ไม่ใช่เน้นแต่ความสวยงาม รวมถึงการจัดวางรูปแบบโต๊ะ ให้สามารถรับลูกค้าได้ครอบคลุมทุกความต้องการ และต้องไม่ลืมเรื่องประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่ในร้านให้พ่อครัวสามารถหยิบจับอุปกรณ์ทำอาหารได้คล่องตัว พนักงานสามารถเสิร์ฟอาหารได้รวดเร็ว เป็นต้น
 
11.เข้าใจขั้นตอนการขอใบอนุญาติ ?
 

ร้านอาหารก็เหมือนธุรกิจอื่น ๆ จะต้องมีการขออนุญาตดำเนินการเช่นกัน เริ่มด้วยการขอจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะมีชื่ออยู่ในระบบของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล และในกรณีต้องการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ต้องขออนุญาตจำหน่ายสุราด้วย อีกกฎหมายที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องทราบก็คือ กฎหมายด้านสาธารณสุข ที่เน้นเรื่องสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร รวมถึงกฎหมายแรงงานที่ต้องศึกษาอย่างละเอียดด้วย
 
12.จะหาซื้อวัตถุดิบได้จากที่ไหน?
 
วัตถุดิบคือพื้นฐานสำคัญของการทำร้านอาหาร ไม่ใช่แค่เน้น “ประหยัด” อย่างเดียวแต่ต้องมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ร้านอาหารหลายแห่งมีแหล่งวัตถุดิบของตัวเอง ที่สามารถออร์เดอร์วัตถุดิบได้ตามต้องการ ซึ่งการบริหารจัดการวัตถุดิบเป็นหัวใจหลักของร้านอาหารก็ว่าได้ เช่นดูว่า ของที่ซื้อมาสามารถใช้ประโยชน์ได้ 100% หรือ เกือบ 100% หรือไม่ วัตถุดิบที่เน้นราคาถูกแต่ใช้งานจริงแล้วต้องตัดแต่งส่วนเน่าเสียไปมากก็เรียกว่าอาจไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ควรมีแหล่งวัตถุดิบสำรองในกรณีฉุกเฉินเช่นต้องการใช้วัตถุดิบปริมาณมาก หรือแหล่งวัตถุดิบเดิมมีปัญหาในการจัดส่ง การมีแหล่งสำรองจะทำให้การเปิดร้านอาหารคล่องตัวมากขึ้น
 
13.ต้องการลงทุนเองหรือเลือกระบบแฟรนไชส์?
 

ภาพจาก กะเพราขุนช้าง

ปัจจุบันมีระบบแฟรนไชส์ให้เลือกลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจร้านอาหารให้สำเร็จได้รวดเร็วโดยมีแฟรนไชส์น่าสนใจเช่น กะเพราขุนช้าง , ธงไชยผัดไทย , รสเด็ดก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน , สุขใจใบกะเพรา , ฮิปสเตอร์ สเต็ก , เลอมง ราเมง , สเต็กลุงใหญ่ , ลำแต๊โคเรียนชิกเก้น , โชกุนสเต็ก , เกาเหลาเนื้อ ธัญรส , สเต็กเด็กแนว , ซานตงขาหมู ซุปเปอร์เล้ง

ข้อดีของการลงทุนแฟรนไชส์คือมีแพคเกจลงทุนให้เลือก มีทีมงานมืออาชีพให้คำปรึกษา มีการสอนเทคนิคเปิดร้าน การสนับสนุนวัตถุดิบอุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน สามารถต่อยอดสร้างรายได้ทันที ในกรณีที่ต้องการลงทุนเองมีข้อดีคือสามารถสร้างจุดเด่น เอกลักษณ์สินค้าได้ตามต้องการ และในอนาคตมีโอกาสต่อยอดพัฒนาให้เป็นระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ของตัวเองได้
 
14.จะหาพนักงานได้จากที่ไหน?
 
ขึ้นชื่อว่าร้านอาหารเจ้าของร้านไม่สามารถทำเองได้ทุกอย่าง จำเป็นมากที่ต้องมีลูกจ้าหรือพนักงาน ก็ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะหาลูกจ้างได้จากที่ไหนเพราะการหาพนักงานต้องคำนึงถึงคุณภาพและมีความเหมาะสมในแต่ละหน้าที่เช่นแคชเชียร์ , พนักงานเสิร์ฟ , คนล้างจาน , พ่อครัว เป็นต้น หากได้พนักงานที่เก่งมีความสามารถมีทัศนคติที่ดีก็ทำให้ธุรกิจพร้อมเติบโตได้รวดเร็ว
 
15.มีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินอย่างไรบ้าง?
 

ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงแม้เราจะมีแผนการตลาดอย่างดี สำรวจข้อมูลก่อนเปิดร้าน มั่นใจในสินค้าและบริการอย่างมาก แต่เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจย่อมต้องมีปัญหาตามมาเช่นการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ , กำลังการซื้อที่ลดลง , การตัดราคา , การถูกโจมตีจากคู่แข่ง รวมถึงปัญหาอื่น ๆ อีกมากสิ่งเหล่านี้ควรต้องมีแผนสำรองเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นการคิดและเตรียมแผนเผื่อไว้ล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
 
คำถามเหล่านี้ล้วนแต่สำคัญและจำเป็น คนอยากเปิดร้านกาแฟควรมีคำตอบของคำถามเหล่านี้อยู่ในใจ และไม่ใช่แค่นั้นการลงทุนเปิดร้านก็ควรมีวิสัยทัศน์มีมุมมองการตลาด มีแนวคิดในการต่อยอดที่ดี เพราะทุกการลงทุนมาคู่กับความเสี่ยง จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ก็อยู่ที่แผนดำเนินธุรกิจที่เราควรชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น
 
สำหรับผู้ที่ต้องการเปิดร้านค้าขาย , ร้านค้าขนาดเล็ก, SMEs, แฟรนไชส์" และสนใจเช่าพื้นที่ "หน้าโลตัส/ Lotus's" ทั่วประเทศ คลิก https://forms.gle/V4r1VYTWVU8zdEsWA 
 
หรือธุรกิจใดต้องการสร้างระบบภายในร้าน สามารถใช้บริการ FoodStory 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
 
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3xXOyfh , https://bit.ly/3xYRsjO , https://bit.ly/3UI8cFH , https://bit.ly/3CcDD3M 
 
ถ้าถามว่าตอนนี้มีเงินลงทุนแล้วอยากเปิดร้านอะไร? คำตอบส่วนใหญ่ต้องพูดถึง “ร้านชานมไข่มุก”  สอดคล้องกับข้อมูลที่ระบุว่าตลาดชานมไข่มุกในปี 2568 จะมีมูลค่าตลาดรวมราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3.43 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.3% ต่อปี ข้อมูลยังชี้ชัดลงไปอีกว่..
22months ago   2,194  9 นาที
กาแฟยังเป็นเครื่องดื่มที่ฮิตตลอดกาล สถิติชี้ชัดว่าคนไทยดื่มกาแฟเฉลี่ย 300 แก้ว/คน/ปี และตัวเลขนี้ยังเพิ่มสูงได้อีก ในปีที่ผ่านมาตลาดกาแฟมีมูลค่าสูงกว่า 60,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 17,000 ล้านบาท คือมูลค่าของธุรกิจร้านกาแฟในรูปแบบcoffee shop และร้านกาแฟในรูปแบบต่างๆ www.ThaiFranchiseCen..
22months ago   1,140  10 นาที
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวค..
2,689
รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!
1,319
เศรษฐกิจทรุดครึ่งปี! เลิกจ้างงานนับหมื่น บริษัทฯ..
520
รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” ห..
520
10 ไอเดียแคมเปญโปรโมชั่น ร้านอาหาร เพิ่มยอดขาย ฉ..
462
นักธุรกิจ vs นักธุรโกย ต่างกันอย่างไร
434
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด