บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
767
2 นาที
30 มิถุนายน 2566
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ส่วย
 

ส่วย กับ ภาษี เป็นการจ่ายเงินของประชาชนเหมือนกันแต่ผลที่ได้ไม่เหมือนกัน เพราะภาษีคือเงินที่เราเสียไปแล้วย้อนกลับมาพัฒนาประเทศ แต่ส่วยคือเงินที่เราต้องเสียให้กับผู้มีอำนาจอันเป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตัว และปัญหา “ส่วย”ก็คาราคาซังเกาะกินสังคมไทยมานาน เข้าตำรา “น้ำท่วมปาก” คนที่ต้องจ่าย “ส่วย” ก็ต้องกล้ำกลืนฝืนทน และคงจะดีมากถ้ามีใครสักคนที่จะกล้ารื้อระบบ “ส่วย” ในเมืองไทยให้หายไปได้สักที
 
1. “ส่วย” เป็นคำจากภาษาจีน
 
ภาพจาก https://citly.me/iB0tA

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า “ส่วย” เป็นคำมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “ส่วยโบ๊ว” ซึ่งแปลว่า "ภาษี" อันหมายเงินเงินที่เราเสียให้รัฐเพื่อนำมาพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตประชาชน แต่ในปัจจุบันคำว่า “ส่วย” กลายเป็นคนละเรื่องและกลายเป็นคำที่เราเข้าใจว่ามันคือ “สินบน” ที่เอาไว้จ่ายให้ผู้มีอำนาจเพื่อเลี่ยงข้อกฎหมายต่างๆ
 
2.สมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บ “ส่วยอากร”
 
ภาพจาก https://citly.me/H2Sgp

ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดเก็บ “ส่วยอากร” ตามกฎหมายแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
  • จังกอบ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้า
  • อากร การเก็บรายได้จากประชาชนที่ทำธุรกิจต่างๆ
  • ส่วย การจัดเก็บรายได้ทั้งเป็นเงินหรือสิ่งแทนเงินจากผู้อยู่ใต้การปกครอง
  • ฤชา ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากราษฏรที่มาติดต่อทำธุรกรรมกับราชการ
3.ส่วยแทนแรงงานเกณฑ์ 
 
เป็นการจัดเก็บประเภทหนึ่งในอดีตที่กำหนดให้ประชาชนจ่ายเป็นแรงในการทำงานแทนเงินเช่นการเข้าเวรทำงานในสถานที่ทำงานของรัฐตามกำหนดระยะหนึ่ง เช่น ปีละ 6 เดือน เป็นต้น ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลายกำหนดเพิ่มให้สามารถจ่ายเป็นเงินแทนการใช้แรง คิดอัตราคนละ 2 บาทต่อเดือน ถ้าไม่ต้องการเข้าเวรตลอดปี ต้องจ่ายให้แก่มูลนาย 12 บาท เป็นต้น
 
4.เส้นทางการเก็บ “ส่วย” ในอดีต
 
กรมการเมืองของแต่ละเมืองจะเป็นผู้รับผิดชอบแล้วส่งส่วยมายังกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม หรือกรมท่า แล้วแต่ว่าจะสังกัดกรมใด ซึ่งส่วยที่จัดเก็บได้ทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปยังพระคลังมหาสมบัติและคลังอื่นได้แก่ พระคลังสินค้า คลังในซ้ายและขวา คลังราชการ เพื่อนำเอารายได้ทั้งหมดนี้กลับมาใช้ในการพัฒนาประเทศ อันเป็นรูปแบบของการบริหารราชการในอดีต
 
5.ประเภทของ “ส่วย” ปัจจุบัน 
 
ภาพจาก https://citly.me/VsGWP

ในอดีต “ส่วย” คือการจัดเก็บที่มีประโยชน์ต่อประเทศ แต่ปัจจุบันกลายเป็นผลประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม ตามที่ปรากฏเป็นข่าวมีส่วยอยู่หลายรูปแบบเช่น ส่วยสติ๊กเกอร์รถบรรทุก , ส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่ , ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน เป็นต้น ซึ่งส่วยแต่ละแบบก็มีการจัดเก็บ วิธีการที่คล้ายกันคือต้องจ่ายเงินให้กับผู้มีอำนาจเพื่อแลกกับการคุ้มครอง การดูแล หรือการหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินคดีต่างๆ และที่หลายคนต้องจ่ายส่วยเพราะไม่อยากมีปัญหาหรือต้องจ่ายแพงกับการเสียค่าปรับในการดำเนินคดีต่างๆ
 
6.ส่วยรถบรรทุกมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน
 
จากข้อมูลข่าวที่ปรากฏส่วยรถบรรทุก คือ การเหมาจ่ายเงินให้ผู้มีอำนาจตั้งแต่ต้นทาง เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินตามด่านเมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจและพบว่ากระทำผิด ข้อมูลระบุว่ารถบรรทุกในไทยมีทั้งหมดประมาณ 5,500,000 คัน และมีรถที่ทำผิดกฎหมายมากถึง 20% ในอดีตมีการจ่ายแบบราคาเหมา เช่น ผู้ประกอบการ 1 รายมีรถบรรทุก 20 คัน จะจ่าย 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันรูปแบบการจ่ายส่วยรถบรรทุกผู้ประกอบการรถบรรทุกจะจ่ายเป็นคันราคาประมาณ 10,000-27,000 คันต่อเดือน ขึ้นอยู่ปริมาณการบรรทุกน้ำหนักของรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่าส่วยรวมกว่า 1,000 ล้านบาทต่อเดือน
 
7.ส่วนรถบรรทุกมีสติ๊กเกอร์หลายแบบ
 
ภาพจาก https://citly.me/WYHOX

รูปแบบสติ๊เกอร์ขึ้นอยู่กับพื้นที่บางแห่งเป็นสติกเกอร์พระอาทิตย์ยิ้ม หรือดอกทานตะวันยิ้ม นอกจากนี้ยังมีสติ๊กเกอร์รูปใบโพธิ์ , อีกแบบที่เจอ คือ สติกเกอร์ "ไจแอนท์" ข้อมูลยังระบุอีกว่าสติ๊กเกอร์รถบรรทุกในภาคอีสานจ่ายแพงสุดอาจถึง 25,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากมีพื้นที่ในการวิ่งกว้างขวางที่สุด
 
8.ส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่เรียกเก็บเดือนละ 100-1,000 บาท
 
อีกส่วยที่ปรากฏเป็นข่าวคือส่วยสติ๊กเกอร์ลอตเตอรี่เป็นลักษณะการเรียกเก็บเพื่อแลกกับการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยเกินราคาได้ โดยผู้ขายลอตเตอรี่เล่าว่าจะต้องจ่ายเป็นรายเดือนตั้งแต่ 100-1000 บาท ขึ้นอยู่กับพื้นที่หรือทำเลในแต่ละจังหวัดนั้น พอใครจ่ายเงินแล้ว ก็จะได้สติกเกอร์มาติดไว้ที่แผง รูปแบบสติ๊กเกอร์ก็แตกต่างกันไป บางพื้นที่ก็เป็นเหมือนอักษรจีน เป็นต้น เมื่อผู้มีอำนาจมาตรวจสอบเห็นสติกเกอร์ก็จะรู้กันว่าจ่ายส่วนเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถขายหวยเกินราคาได้โดยไม่ถูกจับ
 
9.ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน ต้องจ่ายกว่า 6,000 บาทต่อเดือน
 
ภาพจาก https://citly.me/QorhP

แรงงานก็มีเรื่องส่วยปรากฏเป็นข่าว เรียกว่า ส่วยสติ๊กเกอร์แรงงาน จากข้อมูลทราบว่าส่วนใหญ่เป็นสติ๊กเกอร์รูปสัตว์ที่พ่อค้า แม่ค้า หรือผู้ประกอบการในบางพื้นที่ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่าเดือนละ 4,500 – 6,000 บาท ซึ่งมีสติ๊กเกอร์หลายแบบเช่นรูปสิงโต , เป็ด , ไก่ , เสือโคร่ง , เสือดำ เป็นต้น

10.วิธีแก้ปัญหา “ส่วย” เบื้องต้น
 
ถ้าเป็นส่วยรถบรรทุกอาจต้องเริ่มจากผู้ประกอบการทำตามกฎหมายเคร่งครัดทั้งในเรื่องน้ำหนักเกิน จะได้ไม่ตกเป็นเป้าหมายในการจ่ายส่วย หรือการที่เจ้าหน้าที่ไม่ควรตั้งด่านตรวจสอบซ้ำซ้อนแก้ปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์จากรถบรรทุก ถ้าเป็นส่วยลอตเตอรี่ก็อาจแก้ไขปัญหาอันเกิดจากพ่อค้าคนกลางมารับแล้วไปจำหน่ายต่อทำให้คนขายต้องซื้อแพงขายแพง เป็นต้น
 
คนไทยตั้งใจทำอะไรเราไม่แพ้ชาติใดในโลก ปัญหาส่วยก็เหมือนกันถ้าตั้งใจและร่วมมือกันแก้ไขจริงจัง ระบบโครงสร้างเน่าๆ ที่ไปเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มก็จะค่อยๆหมดไป แต่เราทุกคนต้องร่วมมือและบูณณากันเรื่องนี้อย่างจริงจัง
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง
1,672
5 อันดับ โรงงาน OEM รับผลิตครีม ผลิตเครื่องสำอาง..
982
แก่น CJ More ทำธุรกิจกำไรให้กำไร
888
กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉ..
598
กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต..
560
เปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ..
550
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด