บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
2.8K
2 นาที
11 กรกฎาคม 2566
ทำไมรสชาติไก่ทอดถึงต่างกัน? เจาะกลยุทธ์ไก่ทอด ‘KFC’ 
 

หลายคนเคยไปลองกิน KFC ของประเทศอื่นแล้วรู้สึกว่าทำไมรสชาติต่างกัน แถมเมนูยังมีไม่เหมือนกันอีก เพราะฉะนั้นวันนี้ Thaifranchisecenter จะพาทุกคนมาหาเหตุผลกันว่าทำไม KFC แต่ละประเทศถึงรสชาติต่างกัน
 
ประวัติไก่ทอด KFC
 

เมื่อพูดถึง KFC ทุกคนก็จะนึกถึงโลโก้ที่เป็นคุณตาผมขาว มีหนวดเครา ใส่แว่น สวมชุดทักซิโด้ คุณตาที่อยู่ใน โลโก้คนนั้นคือ ฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอร์ส (Harland David Sanders) หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม ‘ผู้พันแซนเดอร์ส’ เขาคือผู้ก่อตั้งแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังอย่าง ‘KFC’
 
ผู้พันแซนเดอร์สเริ่มกิจกรรมในปั้มแห่งหนึ่งใน นอร์ทคอร์บิน (North Corbin) รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา จนร้านอาหารของเขาโด่งดังขึ้น ผู้พันแซนเดอร์สจึงย้ายไปเปิดโรงแรมฝั่งตรงข้าม และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘ร้านไก่ทอดเคนทักกี ของฮาร์แลนด์ แซนเดอร์ส’ 
 
แม้ว่าจะประสบกับปัญหามากมายในช่วงทำธุรกิจ แต่ผู้พันแซนเดอร์ส ก็เอาชนะปัญหาและผ่านมันมาได้ จนในที่สุดแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็พัฒนาขึ้นจนมีถึง 400 สาขา ในสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา แต่แล้วผู้พันแซเดอร์ส ก็ตัดสินใจวางมือในวัย 74 ปี เนื่องจากอาการป่วยและอายุที่มากขึ้น
 
ภาพจาก https://citly.me/qH1Kc
 
เขาได้ทำการขายไก่ทอดเคนทักกีให้กับ 2 นักธุรกิจ จอห์น วาย. บราวน์ จูเนียร์ (John Y. Brown Jr.) และแจ็ก แมสซีย์ (Jack Massey) โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องรักษามาตรฐานคุณภาพไก่ทอดให้ดีอย่างที่เคยเป็น
 
นอกจากจะได้รับรายได้ปีละ 2.5 แสนดอลล่าร์สหรัฐฯ (ประมาณ 8.7 ล้านบาท) ผู้พันแซนเดอร์สยังได้เป็นสัญลักษณ์ของร้าน ในฐานะผู้ที่ก่อตั้งธุรกิจนี้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง จนเป็นที่รู้จักในทวีปอเมริกาเหนือขึ้นมา
 
หลังจากนั้นไก่ทอดเคนทักกี ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงทศวรรษ1980 ร้านไก่ทอดเคนทักกี ขยายกิจการไปได้ถึง 6,000 แห่ง ใน 48 ประเทศทั่วโลก 
 
หลังจากนั้นไก่ทอดเคนทักกี ก็เปลี่ยนเจ้าของกิจการเป็น เป๊ปซี่โค (PepsiCo) หลัง อาร์. เจ. เรย์โนลส์ (R.J. Reynolds) ที่ซื้อกิจการต่อจากบราวน์ตัดสินในขายให้กับบริษัทชื่อดัง เป๊ปซี่โคได้ทำการรีแบรนด์ และเปลี่ยนชื่อร้านจาก ไก่ทอดเคนทักกี เป็น KFC ซึ่งมาจากชื่อ Kentucky Fried Chicken ในปี1991
 
ทำไม KFC แต่ละประเทศรสชาติถึงไม่เหมือนกัน
 

KFC ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดใหม่ด้วยการผสานวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ แต่ยังคงเอกลักษณ์ของ KFC ไว้อยู่ โดยการเริ่มมาเปิดตลาดในเอเชีย
 
KFC เข้าไปขยายกิจการในจีนเป็นที่แรกในเอเชียตั้งแต่ปี 1987 หลังจากที่จีนเปิดประเทศได้เพียง 9 ปี เป็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสไตล์อเมริกันรายแรกที่เข้ามาเปิดในจีน โดย KFC เลือกใช้กลยุทธ์ signature dishes เพื่อครองใจคนท้องถิ่น เช่น ประเทศจีน จะมีการเพิ่มซุปไก่ร้อน ๆ ฟรีเพราะคนจีนนิยมทานของร้อน และมักจะมีน้ำซุประหว่างมื้ออาหาร มีการเพิ่มผักสดและซอสเป็ด เพื่อเอาใจลูกค้าจีน

ภาพจาก https://citly.me/XpP3F
 
ประเทศไทย signature dishes ของไทยคงหนีไม่พ้น ‘วิ๊งค์แซ่บ’ ที่เป็นเมนูยอดฮิตตลอดกาลของ KFC และยังมีข้าวหน้าต่าง ๆ เช่น ข้าวยำไก่แซ่บ ข้าวหน้าไก่กรอบเขียวหวาน และโดนัทกุ้งที่มีเฉพาะในไทยเท่านั้น 
 
 
ประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมักจะสนใจในวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารมากกว่า เพราะคนญี่ปุ่นนิยมทานเนื้อไก่ดำ มากกว่าเนื้อไก่ขาว KFC ในญี่ปุ่นจึงเน้นไปที่ไก่ทอดสูตรดั้งเดิม เพราะจะสามารถลิ้มรสของวัตตถุดิบได้ดี 
 
นอกจากนี้ยังมีเมนูที่ไม่มีเนื้อสัตว์ด้วย เช่น อินเดียมีเมนูเบอร์เกอร์มังสวิรัติ เนื่องจากพฤติกรรมของคนอินเดียที่มีการกินมังสวิรัติถึง 40% 
 
การปรับตัวของ KFC ให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ยังรวมภาษา วัฒนธรรม และบริบทของท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น KFC ในญี่ปุ่น จะมีการจัดอีเวนต์พิเศษในช่วงคริสต์มาส ชื่อว่า ‘Kentucky for Christmas’ หรือการขายเซ็ตเมนูพิเศษชื่อ ‘ชุดถังปาร์ตี้’ ซึ่งประกอบไปด้วยสลัด เค้ก ไก่ทอด หรือเมนูอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี 
 
ภาพจาก https://citly.me/sjLvS
 
ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกหาก KFC จะประสบความสำเร็จ และสามารถขยายกิจการได้มากมายในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลยุทธ์การปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นซึ่งเป็นเป็นกลยุทธ์อันแข็งแกร่งที่ช่วยให้KFCกลายเป็นที่นิยมและครองใจหลายประเทศในเอเชียได้

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document/index.php

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
792
แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย
709
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Desti..
640
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
521
เศรษฐกิจไม่ฟื้น! ไตรมาส 2 ไม่แพ้ไตรมาสแรก 14 ธุร..
432
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! อ.สมเกียรติ อ่อนวิมล
420
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด